รูปของกู ไม่ต้องเสกไม่ต้องทำ ก็สำเร็จ

สวัสดีจ้าวันนี้ เรื่องเล่าชาวสยาม จะพาทุกคนมาศึกษาเรื่องเล่า ตำนาน อภินิหารพระเกจิ ความลี้ลับ ไสยศาสตร์ เพราะในประเทศไทยของเรานั้น ต่างก็มีจุดเด่นทางความเชื่อและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาแหล่งรวมประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก เราจึงนำมาให้อ่านเพื่อศึกษากัน ติดตามรับชมกันได้เลย

หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน ท่านมีนามเดิมว่า เมฆ สิทธิราชา เกิดเมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2449 ซึ่งตรงกับในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นแพเป็นชาวกรุงเทพ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี เป็นบุตรของนายเพิ่มและนางบุญ สิทธิราชา เมื่ออายุครบ 15 ปี ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2464 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทัศนารุณสุนทริการามหรือวัดตะพาน ซึ่งอยู่ถนนราชปรารถ ดินแดง แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยมีหลวงพ่อนิตย์เจ้าอาวาสในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชชาย์และได้อุปสมบทต่อเป็นพระภิกษุ ที่วัดตะพาน เรื่อยมา

หลวงปู่ได้ศึกษาสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน ตลอดจนพุทธาคม ต่าง ๆ รวมไปถึงการศึกษาตำรายาแผนโบราณ จากหลวงพ่อนิตย์ วัดตะพาน และ ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับตำรายาต่างๆ จากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา ซึ่งหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้เชิญ หลวงปู่เมฆ ไปร่วมปลุกเสก วัตถุมงคล บ่อยครั้ง ล่วงเลยมา กระทั่ง อายุ 25 ปี ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2474 ซึ่งอุปสมบท ครบ 10 พรรษา ท่านจึงได้สึกออกมา และ มีครอบครัว แต่ท่านก็ยังไม่ได้ละทิ้งวิชาต่างๆที่ได้ร่ำเรียนมา ได้ศึกษาเพิ่มเติมทั้งทางด้านพุทธาคมต่างๆ และ ศึกษาเกี่ยวกับยาแผนโบราณเพิ่มเติม โดยออกเดินทางไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งในและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งท่านได้สนใจในวิชาการทำสีผึ้งและวิชาการทำปลัดขิกเป็นพิเศษ ซึ่งโดยในการทำวัตถุมงคลของท่านแต่ละครั้ง จะอาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเป็นครูบาอาจารย์ด้วยทุกครั้ง ได้แก่ พ่อท่านขลิก และ หลวงพ่อเหลือ แห่งวัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อลี วัดอโศการาม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า สมเด็จโต วัดระฆัง หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อนิตย์ วัดตะพาน สมเด็จในกรมหลวงชุมพร จึงสำเร็จ

หลวงปู่เมฆ ท่านคอยรักษาช่วยเหลือชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณไสย หรือ การรักษาโรคต่างๆจากตำรายาแผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมาแถวบริเวณซอยรางน้ำแขวงถนนพญาไทยเขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร (อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในนามหมอเมฆจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปถึง ฝั่งพระโขนง

เมื่อหลวงปู่เมฆอายุได้ 62 ปี ซึ่งตรงกับพ.ศ.2512 หลวงปู่เมฆได้ทำการอุปสมบท เป็นพระภิกษุ อีกครั้ง ที่วัด นังคัลจันตรีหรือวัดคลอง 7 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีพระครูพิทักษ์ธัญสาร(หลวงพ่อตุ๋ย)วัดนังคัลจันตรี เป็นพรุะอุปัชฌาย์ หลวงพ่อชิด วัดแจ้งลำหิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (คู่สวด)พระครูสุวรรณพัฒนกิจ (หลวงพ่อทอง สัจจวโร) วัดลำกะดาน เป็น พระอนุสาวนาจารย์(คู่สวด) โดยมี ขุนพุ่ม ค้ำประกันในการบวชให้ แล้วมาจำพรรษาที่วัดลำกะดาน โดยได้รับฉายาว่า สัจจาสโภ

มีเรื่องเล่าอยู่ว่าครั้งหนึ่งในงานประจำปีนมัสการหลวงปู่เมฆ คุณเรณู ฮิรายาม่า สาวไทยชาว เมืองพิจิตร แต่งงานกับหนุ่มคริสเตียนชาวญี่ปุ่น พักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มาบนขอลูกกับหลวงปู่เมฆ งานปีนี้คุณเรณู ได้กลับมาอีกครั้งกับทายาทที่อยู่ในครรภ์ พร้อมด้วยโชคดีสองชั้น เมื่อตอนตั้งท้องใหม่ๆปรากฏว่าเป็นท้องนอกมดลูก ซึ่งเด็กในท้องไม่มี โ อ ก า ส ร อ ด คุณเรณูได้ฝนปลัดขิกไม้เขย ต า e ที่ท่านอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์สร้าง มอบให้ไปกินกับน้ำ ผลคือเด็กได้เคลื่อนกลับเข้าไปอยู่ในมดลูก สร้างความแปลกใจให้กับคณะแพทย์ชาวญี่ปุ่น ทุกวันนี้สามีชาวญี่ปุ่นของคุณเรณู ห้อยเหรียญหลวงปู่เมฆอย่างเต็มภาคภูมิลืมไม้กางเขนไปเลย

ท่านอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์บอกว่าเป็นเพราะบารมี ของหลวงปู่เมฆ เพราะท่านจะทำอะไรก็ขอบารมีของหลวงปู่ทุกครั้ง หลวงปู่สั่งไว้ว่า “ถ้าจะนึกถึงกูให้จุดธูป ๕ ดอก
ถ้าจะบนให้จุดธูป ๙ ดอก แค่มึงนึกถึงกู เรียก “ปู่” ก็จะสำเร็จ รูปของกู ของๆกูไม่ต้องเสกไม่ต้องทำก็สำเร็จแล้ว”

หลวงปู่เมฆ สัจจาสโภ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2534 เวลา 06.45 น.รวมศิริอายุ ได้ 85 ปี ปัจจุบันสังขารหลวงปู่เมฆบรรขุอยู่ในโลงแก้ว ที่วัดลำกะดาน จนถึงปัจจุบันในอดีต หลวงปู่เมฆ วัดลำกะดาน ได้สร้างปลัดขิก โดยสร้างจากไม้เขย ต า e ซึ่งมีสรรพคุณ ในตัว คือ รักษาพิษงู อาการอื่น ๆ เช่น อาการปวดท้องประจำเดือน รักษาพิษแมลงกัดต่อย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาโดยผสมผสานระหว่างพืชสมุนไพร กับ เครื่องรางของขลัง ของหลวงปู่เมฆ ทำให้พกพาไปไหนได้สะดวก ซึ่งจะทำให้รักษาได้ทันท่วงที เพราะมีปลัดขิกหลวงปู่เมฆ ติดตัวไปตลอดเวลา

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาของตำนานหลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า