พระเขี้ยวแก้วองค์จริง แค่ได้เห็นก็เป็นบุญตาแล้ว กราบสาธุ

สวัสดีจ้าวันนี้ เรื่องเล่าชาวสยาม จะพาทุกคนมาศึกษาเรื่องเล่า ตำนาน อภินิหารพระเกจิ ความลี้ลับ ไสยศาสตร์ เพราะในประเทศไทยของเรานั้น ต่างก็มีจุดเด่นทางความเชื่อและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาแหล่งรวมประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก เราจึงนำมาให้อ่านเพื่อศึกษากัน ติดตามรับชมกันได้เลย

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาในสมัยโบราณที่ได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับ พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นที่นับถือของชาวพุทธ ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ

ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า “เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์” ปีหนึ่งทางวัดหลิงกวงจะเปิดให้เข้าสักการะพระเขี้ยวแก้ว ในเจดีย์ได้ปีล่ะ 2 วัน ที่เหลือจากนั้น ก็ได้แต่เดินเวียน รอบเจดีย์เอาเป็นพุทธบูชาคราวที่อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 4 ก็ชมไม่ถนัดตา มาวันนี้ได้เห็นภาพชัดๆ เป็นบุญตา เสียที ว่ารูปลักษณะสัณฐานของพระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะเคยมีคนบอกว่า พระเขี้ยวแก้วองค์จริงจะสอดอยู่ในกลักงาช้างสำหรับเขี้ยวแก้วนั้นจะมีทั้งหมด 4 องค์ ตามลักขณสูตรได้กล่าวไว้ล้วนแต่ขาวงามบริสุทธิ์

องค์ที่ 1 พระเขี้ยวบนขวา ท้าวสหัสนัยน์ อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ไว้ที่พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
องค์ที่ 2 พระเขี้ยวต่ำขวา ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา
องค์ที่ 3 พระเขี้ยวต่ำซ้าย หายสาบสูญไปกับสายน้ำ
องค์ที่ 4 พระเขี้ยวบนซ้าย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

สำหรับพระเขี้ยวแก้วที่ประเทศจีน เขาจะนิยมเรียกว่า “พระทันตธาตุฟาเหียน” เพราะพระภิกษุฟาเหียนเป็นผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่อาณาจักรอูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน หลังจากนั้นก็ย้ายมาอยู่ที่แคว้นโคตัน ในคริสต์ศตวรรษ ที่ 5 พระภิกษุฟาเหียนอัญเชิญเอามาจากเมืองโคตันประดิษฐานไว้ที่นานกิง เมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัยราชวงศ์ซุ่ย พระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายไปประดิษฐานอยู่ ที่เมืองฉางอัน ต่อมาจีนก็รบกันเอง ช่วงนี้มีถึง 5 ราชวงศ์ ในแผ่นดินเดียว ก็ย้ายไปย้ายมาจนสุดท้ายก็ได้ไปประดิษฐานอยู่ในเจดีย์เจาเซียนบนภูเขาเมือง ปักกิ่งในสมัยราชวงศ์เหลียว หลังจากนั้นก็เงียบหายไป นานถึง 830 ปี

จนถึงปี พ.ศ. 2443 ยุคสมัยราชวงศ์ชิง เจดีย์เจาเซียนถูกปืนใหญ่ของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตกทำลาย
พระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำความสะอาดจึงได้พบพระเขี้ยวแก้วอีกครั้ง หนึ่ง ซึ่งบรรจุอยู่ในหีบศิลาภายใน
ห้องใต้ดินขององค์เจดีย์อีกครั้ง ภายในหีบศิลาพบตลับไม้กฤษณาอีกชั้นหนึ่ง บนตลับนั้นระบุว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่นี้ในปี พ.ศ. 1506 โดยพระภิกษุชื่อซ่านฮุย ในยุคราชวงศ์ซ่ง ด้านข้างและด้านในกล่องนั้น เป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย แล้วในตลับนั้นก็พบพระเขี้ยวแก้ว อยู่ด้านบนในปี พ.ศ.2498 ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญออกมาให้ประชาชนสักการชั่วคราวที่ วัดกวงจี่รอเวลาสร้างสร้างเจดีย์ที่วัดหลิงกวงเสร็จ จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2507 จึงมีพิธีบรรจุพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้ว ในพระมหาเจดีย์ไว้เป็นการถาวร

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ขอบคุณที่มา Supong Chandashoto

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า