ศิษย์หลวงพ่ออี๋ สืบสายวิชาวัดประดู่ทรงธรรม

สวัสดีจ้าวันนี้ เรื่องเล่าชาวสยาม จะพาทุกคนมาศึกษาเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ตำนาน อภินิหารพระเกจิ ความลี้ลับ ไสยศาสตร์ เพราะในประเทศไทยของเรานั้น ต่างก็มีจุดเด่นทางความเชื่อและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาแหล่งรวมประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก เราจึงนำมาให้อ่านเพื่อศึกษากัน ติดตามรับชมกันได้เลย

หากหล่าวถึง หลวงปู่กี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสและยังเป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ต.คูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จากหลักฐานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เช่น วิหาร เจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ พระครูกิตตินนทคุณ หรือ“หลวงพ่อกี๋”พระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและเก่งกล้าทางด้านคาถาอาคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผีเข้าหรือถูกคุณไสยต่าง ๆ โดยหลวงพ่อกี๋ ท่านเป็นศิษย์ของ

  1. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
  2. หลวงปู่แดง วัดตะเคียน
  3. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
  4. เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา
  5. ก๋งจาบ แห่งสำนักวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา

สำหรับศิษย์เอกทายาทพุทธาคมที่เหลืออยู่เพียงรูปเดียวและมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่กี๋ คือ พระครูสุวรรณโชติวุฒิ หรือ “หลวงพ่อตี๋” เจ้าอาวาสวัดหูช้างรูปปัจจุบัน อายุ 76 ปี โดยท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากหลวงปู่กี๋มาหมดสิ้น ว่ากันว่า การเขียนยันต์ของหลวงพ่อตี๋นั้น หลวงพ่อกี๋ท่านเป็นคนจับมือหลวงพ่อตี๋เขียนกันเลยทีเดียว อาจกล่าวได้ว่า หลวงพ่อตี๋เป็นพระเกจิอาจารย์ที่สืบสายพุทธาคมหลายอาจารย์มาแล้วอย่างเข้มขลัง โดยเฉพาะวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม ที่ถือว่าเป็นตักศิลาของผู้ปรารถนาเรียนรู้วิชาอาคมต่าง ๆ

หลวงปู่กี๋ วัดหูช้าง

เมื่อหลวงพ่อกี๋อายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ โยมบิดา-มารดาก็จัดการอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดหูช้าง เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหูช้าง หลังจาก 2 พรรษาผ่านไปก็ได้ออกธุดงควัตรไปตามป่าเขาต่างๆ เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญภาวนา โดยท่านมีความมุ่งมั่นฝึกสมาธิเจริญภาวนาด้วยจิตที่ยึดมั่น และไม่ตั้งอยู่ในความประมาท จนจิตรวมเข้าสู่ฐานของสมาธิ ทำให้เกิดความสุขและความอิ่มเอิบ

ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน : ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร

หลวงพ่อกี๋เป็นพระเกจิที่สืบทอดวิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเรียนวิชามาจาก “ก๋งจาบ” ฆราวาสขมังเวทย์ สำหรับศิษย์ร่วมสำนักที่มีความสนิทสนมกัน และมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมี 2 ท่านคือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช และ หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ราชบุรี โดยเฉพาะหลวงพ่อเทียมจะมีความสนิทสนมกันมาก มักจะไปมาหาสู่กันเสมอในตอนที่ท่านมีชีวิต สำหรับปลัดขิกของท่านเป็นปลัดขิกยอดนิยม 1 ใน 4 คณาจารย์ “เหลือ-อี๋-กี๋-ฟัก” หมายถึง หลวงพ่อเหลือ วัดสาชะโงก,หลวงพ่อี๋ วัดสัตหีบ,หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง และหลวงพ่อฟัก วัดนิคมปะชาสรรค์

ปลัดขิกหรือ “พ่อเจ้าประคุณ” ของหลวงพ่อกี๋นั้นโด่ดเด่นทางเมตตามหานิยมและค้าขายเป็นอย่างมากรวมไปจนถึงเรื่องแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ปลอดภัย พกไว้ข้างกายเวลาพักแรมที่ไหนให้อาราธนาและระลึกถึงท่าน จะเป็นที่รักใคร่เอ็นดูแก่ผู้ที่พบเห็นและเป็นที่รักแก่ท่านเจ้าที่เจ้าทาง เนื่องด้วยท่านลง “นะระกะรัง” คือหัวใจเจ้าที่ไว้ด้วย สำหรับคาถาที่ไว้อาราธนาหรือท่องกำกับปลัดขิกของท่านนั้นมีดังนี้ “มะอะอุ นะระการัง จะภะกะสะ จิตตังปุริโส จิตตังภะคินิเม เอหิ จิเจรุนิ เอหิ มนูญยัง จิตติจิตตัง ปิยังมะมะ นะมะพะทะ” ซึ่งก็คืออักขระเลขยันต์ที่ท่านได้ลงไว้ที่ตัวปลัดขิกนั่นเอง

หลวงปู่กี๋ วัดหูช้าง

ในกระบวนการสร้างวัตถุมงคลของท่านที่สร้างไว้แต่ละชนิด ส่วนมากนั้นท่านจะแจกฟรี จะมีเพียงวัตถุมงคลชนิดเดียวที่ต้องทำบุญนั้นก็คือ “ปลัดขิก” เคยมีลูกศิษย์ใกล้ชิดถามหลวงพ่อว่า “เหตุใดหลวงพ่อถึงไม่แจกปลัดขิกเหมือนวัตถุมงคลชนิดอื่นๆ” ท่านได้เมตตาตอบกับลูกศิษย์ว่า “ของของฉันดี ไม่ได้สร้างกันง่ายๆนะ บูชาไปแล้ว ก็เก็บไว้ให้ดีล่ะ”

“ปลัดขิกของข้าสร้างโบสถ์ได้” คือคำพูดที่ท่านมักพูดให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านรวมไปจนถึงญาติโยมที่มาทำบุญที่วัดฟังเสมอ โดยมีเรื่องเล่าที่หลวงพ่อกี๋ได้พูดติดตลกให้หลวงพ่อองค์หนึ่งซึ่งเคยไปกราบฟังว่า “ถ้าอาตมาไม่กลัวชาวบ้านญาติโยมเค้าด่า ก็ว่าจะปั้นรูปพ่อเจ้าประคุณ(หมายถึงปลัดขิกของท่าน) ไว้ที่หน้าบันโบสถ์ แล้วท่านก็หัวเราะชอบใจ” นั้นก็ถือว่าเป็นเครื่องการันตีว่า ปลัดขิกของท่านนั้นสร้างโบถ์ได้จริง ๆ

หลวงพ่อกี๋ ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2522 สิริอายุได้ 78 ปี ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านยังเป็นที่กล่าวขานกันสืบ เช่นเดียวกับพระเครื่องทุกอย่างที่ยังคงเข้มขลังด้วยพุทธคุณและเป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสม”สายแคล้วคลาด” ทั้งหลาย

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาของตำนาน หลวงปู่กี๋ วัดหูช้าง บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า