“ยันต์ทระหด” ลายพระหัตถ์ของกรมหลวงชุมพร พระคาถาในตำราหลวงปู่ศุข

สวัสดีจ้าวันนี้ เรื่องเล่าชาวสยาม จะพาทุกคนมาศึกษาเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ตำนาน อภินิหารพระเกจิ ความลี้ลับ ไสยศาสตร์ เพราะในประเทศไทยของเรานั้น ต่างก็มีจุดเด่นทางความเชื่อและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาแหล่งรวมประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก วันนี้เราขอมานำเสนอเรื่องเล่าของยันต์ทระหด มาให้อ่านเพื่อศึกษากัน ติดตามรับชมกันได้เลย

หากกล่าวถึง กรมหลวงชุมพรฯ ม.ร.ว.อภิเดชได้เคยบอกไว้ว่าท่านมีประวัติการศึกษาไสยศาสตร์และโหราศาสตร์มากมาย พระองค์สนพระทัยและศึกษาวิชาคาถาอาคมไสยศาสตร์ ทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก (ธนบุรี) นอกจากนี้แล้วหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี ยังได้เขียนประวัติหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัวว่า สมเด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เคยไปหาหลวงปู่ยิ้มถึง ๒ ครั้ง

หม่อมครรชิตพล อาภากร

ในขณะที่ หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญยัง วัดหนองน้อย ลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข ได้เล่าไว้ว่า หลวงปู่ศุขท่านสำเร็จวิชาในพุทธคุณ ๔ คัมภีร์ ด้วยกัน

  • ๑. คัมภีร์พุทธคุณในวิชา “อิ”
    ๒. คัมภีร์พุทธคุณในวิชา “ติ”
    ๓. คัมภีร์พุทธคุณในวิชา “ปิ”
    ๔. คัมภีร์พุทธคุณในวิชา “โส”

สมเด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านสำเร็จวิชา คัมภีร์พุทธคุณในวิชา “อิ” และวิชา “ติ” ๒ วิชาอย่างชัดเจนครบถ้วน

ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ : คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา

ลายพระหัตถ์

“ยันต์ทระหด” เป็นลายพระหัตถ์ของเสด็จเตี่ย ที่เขียนพระคาถาประทานให้โอรส (ท่านน่วม) หม่อมครรชิตพล อาภากร โดยคาถาบทนี้ เป็นคาถาที่ปรากฏอยู่ในตำราของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เราเคยได้ยินชื่อ ” ยันต์ทระหด ของเสด็จเตี่ย” มานานหลายต่อหลายครั้งหลายหน

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาของตำนานยันต์ทระหด บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า