กรมหลวงชุมพรฯ ท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอย่างมาก ในเวลานั้น บ้านเรือนราษฎรในกรุงเทพฯ ยังสร้างด้วยไม้ไผ่ขัดแตะมุงจาก เป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดอัคคีภัยขึ้นบ่อยครั้ง แต่กรุงเทพฯ ทั้งฝั่งพระนครและธนบุรี ก็ไม่มีหน่วยดับเพลิงอื่นใด นอกจากที่กรมทหารเรือแห่งเดียว เนื่องจากย่านชุมชนในยุคนั้นมักอยู่ใกล้แม่น้ำลําคลองต่างๆการสัญจรทางน้ำจึงสะดวกรวดเร็วกว่า เส้นทางอื่น
กรมทหารเรือจึงรับผิดชอบในการดับเพลิงทั่วพระนคร โดยมีเรือสูบน้ำและเรือกลไฟเล็กที่อยู่ในสังกัดของกรมเรือกลคอยทําหน้าที่ดับเพลิง ยามเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ใด เรือกลไฟเล็กก็จะลากจูงเรือสูบน้ำไปฉีดน้ำดับเพลิง สมทบด้วยกองเรือกล ทําหน้าที่เป็นฝ่ายช่วยรื้อและตัดต้นไฟ การดับเพลิงในระยะแรก ๆ นั้น ยังไม่มีแบบแผน
แต่อย่างใดพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ได้ทรงเริมเข้าควบคุมทหารทําการดับเพลิงที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯด้วยพระองค์เอง
ตั้งแต่ระยะแรกๆของการทรงเข้ารับราชการโดยเหตุการณ์แรกที่มีหลักฐานบันทึกไว้ คือเหตุเพลิงไหม้ที่ตําบลบ่อนหัวเม็ด ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งคือราว ๖ เดือนหลังทรงเริ่มรับราชการ ดังที่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้มีลายพระหัตถ์กราบบังทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
”…พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์ ได้คุมพลทหารเข้าดับเพลิงทางด้านวัดบพิธพิมุข ได้ทรงปีนหลังคาและทําการรื้อเพื่อจะตัดต้นไฟด้วยพระองค์เอง จนประชวนพระวาโย ถึงสองพัก ต้องแก้ไขกันอยู่ข้านาน การที่พระองค์อาภากรได้ทําการโดยแข็งแรงเช่นนี้ ควรจะได้รับพระราชทานบำเหน็จ เพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่ทหาร พลทหารสืบไป…”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบความตอนหนึ่งว่า
“ซึ่งชายอาภากรนั้นทำการดับเพลิงโดยแขงแรงดังนี้ เป็นที่น่ายินดีและได้เห็นความอุสาห์แลความกล้าหาญ ขอให้เธอชมตามความดีที่ได้ทํานั้น
แต่การที่จะให้รางวัลเฉพาะส่วนด้บเพลิง ยังหามีไม่ ซึ่งได้ให้รางวัลมาแต่ก่อน ก็เปนเครื่องราชอิศริยาภรณ์ แต่ชายอาภากรจะรับเครื่องอิศริยาภรณ์ชั้นต่ำ ๆ ก็ไม่สมบรรดาศักดิ์ ควรนับไว้บวกกับความชอบความดีซึ่งจะมีในภายหน้า อันสมควร จะได้รับเครื่องราชอิศริยาภรณ์อย่างสูง …”
การที่ทรงลงมือจัดการกิจการดับเพลิงด้วยพระองค์เอง น่าจะด้วยทรงเห็นว่าทหารเหล่านั้นยังขาดผู้นําในการคิด ตัดสินใจจึงได้ทรงลงมือปฏิบัติเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง และขวัญกําลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งทรงพัฒนาและจัดวางแบบแผนการทํางาน ของกองดับเพลิงให้ชัดเจนเป็นระบบมากขึ้น โดยหากเกิดเพลิงไหม้ที่ใด กองดับเพลิงทหารเรือจะเป่าแตรเป็นสัญญาณเรียกทหารเข้าแถว โดยแบ่งออกเป็น ๒ กอง กองหนึ่งทําหน้าที่ในการดับเพลิง ส่วนอีกกองหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระวังเหตุ มีนายทหารคอยดูแล หลังจากดับเพลิงเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป่าแตรเรียกทหารให้มาเข้าแถว ตรวจนับจํานวนคน
หากผู้ใดไม่ได้ไปทําการดับเพลิง รุ่งขึ้นจะมีการสอบสวนลงโทษ และเมื่อกองดับเพลิงกลับถึงที่ตั้งแล้ว จะมีการตรวจค้นดูว่ามีผู้ใดหยิบฉวยนำทรัพย์สินสิ่งของจากที่เกิดเหตุมาบ้างหรือไม่เพื่อเป็นการรักษาชื่อเสียงของทหารเรือ ไม่ให้ถูกตำหนิได้ กองดับเพลิงที่ทรงปรับปรุงขึ้น ประกอบด้วยกองต่าง ๆ ขึ้นรับผิดชอบงานในแต่ละส่วน ได้แก่ กองถัง กองขวาน กองผ้าใบกันแสงเพลิง กองรื้อและตัดเชื้อเพลิง กองช่วย กองพยาบาล และต่อมาภายหลังก็ได้เพิ่มกองสายสูบขึ้นอีกกองหนึ่ง โดยทรงจัดให้มีการฝึกซ้อมให้เกิดความชํานาญ
พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร (บุญมี พันธุมนาวิน) ได้เรียบเรียงเรื่องราว เกี่ยวกับประวัติโรงเรียนนายเรือ โดยเล่าถึงความเป็นไปภายหลังพระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ทรงดํารงตําแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ และทรง แก้ไขปรับปรุงการฝึกหัดศึกษาในโรงเรียนนายเรือ มีความตอนหนึ่งว่า
“…เพื่อจะให้นักเรียนมีความกล้าหาญ ได้ทรงตั้งกองดับเพลิงขึ้น ประกอบด้วยหมวดสูบน้ำดับเพลิง (เป็นหน้าที่ของนักเรียนนายช่างกล)หมวดผ้าใบบังกันความร้อน หมวดถังสังกะสีตักน้ำสาดเพลิง หมวดขวาน สําหรับรื้อถอน หมวดพยาบาล และหมวดช่วยเหลือทั่ว ๆ ไปไม่ว่าที่ใดและเวลาใดในเขตพระนครและธนบุรี กองดับเพลิงจะต้องไปทําการดับทั่งสิ้น มีพระองค์ท่านบัญชาการ
การดับเพลิงนี้ เป็นที่ชอบใจและวางใจของราษฏรมาก เพราะนักเรียนนายเรือตัวเล็กๆ คล่องแคล่วว่องไวมีมารายาทและวัฒนธรรมดี จึงไม่เป็นที่รังเกียจในการช่วยเหลือผู้คนและช่วยขนย้ายเข้าของ
เพื่อความพร้อมเพรียงและว่องไว พระองค์ทรงให้เป่าแตรเหตุสําคัญบ่อย ๆ นักเรียนจะต้องรีบขึ้นไปแต่งตัวด้วยเครื่องสนามโดยเร็ว แล้วเข้าแถวตามตอน คอยคําสั่งต่อไป การนี้ดูออกจะเกรียวกราวและศึกคักมาก ถ้าใครล้าหลังหรือช้ามาก เป็นหวังได้รับหางเชือก
ม.จ. หญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดา ทรงนิพนธ์ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า…
…”เสด็จพ่อทรงสนพระทัยมาก ทรงเล่าให้ฟัง เวลามีเพลิงไหม้ที่ไหนให้แจ้งมาที่วังก่อนที่อื่น หลับหรือตื่นไม่ต้องคำนึงถึง จะลุกขึ้นแต่งพระองค์ทันที เครื่องแต่งพระองค์พร้อมท็อปบูทฯลฯ จะตั้งอยู่ที่ปลายพระแท่นในเวลาไม่ถึงอึดใจก็จะลงเรือเร็วและไปถึงที่เพลิงไหม้เสด็จขึ้นบงการดับเพลิงเอง
ครั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ไฟไหม้ฝั่งธน เกิดเคราะห์ร้ายทรงพลาดตกกําแพงลงมา ถึงต้องหามเข้าโรงพยาบาลประชวรอยู่เกือบหนึ่งเดือนเต็ม หม่อมกิมมารดาข้าพเจ้าต้องไปลอยเรือจอดหน้าพระราชวังเดิมกรมทหารเรือ ทําเครื่องเสวย เพราะเสด็จพ่อไม่เสวยหมูเลยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เสวยแล้วประชวรทุกที…”
ในเอกสารราชการปรากฏหลักฐานกล่าวถึงเหตุเพลิงไหม้ครังใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่ตําบลราชวงศ์ เมื่อวันที่ ๔ และ ๕ เมษายน ซึ่งกองดับเพลิงทหารเรือได้เข้าระงับเหตุอย่างเข้มแข็ง เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสรรเสริญการปฏิบัติงานครั้งนี้ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสรรเสริญความอุส่าห์ของกรมทหารเรือในการดับเพลิง ที่ตำบล ราชวงษ์ เมื่อวันที่๔/๕ เมษายน ศก ๑๒๕ ให้กรมแลกองประกาศให้นายทหาร พลทหาร แล พลนักเรียน ทราบทั่วกัน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ คนรักเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรฯ
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล