พระอุปัชฌาย์เพียร หรือ หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก ท่านเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์อินทร์ พระธุดงค์ชาวเขมร เดิมอยู่เมืองศรีโสภณ อพยพเข้ามาอยู่ประเทศไทยเมื่อครั้งไทยเราเสียแผ่นดินในการปกครองให้แก่ ฝรั่งเศส พระสงฆ์ที่เดินทางเข้ามาในครั้งนั้น หลายท่านเป็นผู้ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นที่ศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไปเป็นอย่างสูง เช่น หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม แปดริ้ว, หลวงพ่อบุคโล วัดบ้านแซร์ออ จ.สระแก้ว ส่วน พระอาจารย์อินทร์ ได้มาสร้าง วัดหนองติมอยู่ในเขต อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
พระสหมิกธรรมของท่านที่มีในระหว่างที่ได้ศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับพระอาจารย์อินทร์อยู่นั้นมีหลวงพ่อเอ้ ประโคนชัย หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง หลวงพ่อมั่น วัดตาจง อ.ประคำ อาจารย์ทอง วัดแข้หมาก อ.ประโคนชัย หลวงพ่อเป็น วัดยายคำ โดยนอกจากสำเร็จอภิญญาแล้ว ท่านยังมีพุทธคมทางด้านคงกระพัน วิชาการย่นระยะทาง และวิชาต่างๆเช่นเดียวกับ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง
หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก ท่านนี้ก็ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มาร่วมปลุกเสก เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร และแหวนยันต์มงคล เป็นหนึ่งในเก้าองค์สำคัญที่นั่งปรกปลุกเสกในพระอุโบสถ ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรกกฎในพิธีดังกล่าว กล่าวคือ
ในพิธีพุทธาภิเษก พระภิกษุ ที่มีพุทธาคม และพลังจิตสูง ๙ รูปจะนั่งปรกอยู่ในพระอุโบสถ ปิดลั่นประตู หน้าต่างเป็นมหาอุตม์ ข้างนอกจะมีพระภิกษุที่มีพุทธาคมและพลังจิตสูงนั่งล้อมรอบพระอุโบสถอีกชั้น หนึ่งจำนวนหลายรูป เป็นที่น่าอัศจรรย์เมื่อ หลวงพ่อเพียร ท่านนั่งปรกปลุกเสกเสร็จท่านก็ออกจากอุโบสถ์ได้ ทั้งที่ประตูโบสถ์ได้ลั่นกุญแจปิดอยู่ พระภิกษุด้านนอกได้ถามหลวงพ่อท่านออกมาได้อย่างไร หลวงพ่อท่านได้แต่ หัวเราะ ฮึ ฮึ แล้วตอบว่า “ก็ฉันเสกให้เสร็จแล้วจ๊ะ”
หลวงพ่อเพียร ท่านก็ได้รับอาราธนานิมนต์จาก (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) ให้ท่านมาร่วมปลุกเสก เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล โดยอาราธนานิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศในด้านวิชาอาคมขลัง หลวงพ่อเพียรท่านได้รับนิมนต์มาร่วมปลุกเสกในครั้งนี้ร่วมกับพระคณาจารย์ รุ่นเก่าองค์อื่น ๆ อาทิเช่น
- หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
- หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
- หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
- หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
- หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
- หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
- หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู
- หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
ในเขตภาคอีสานนี้ได้รับอาราธนานิมนต์มาเพียง ๒ องค์เท่านั้น คือ หลวงพ่อเสี่ยง วัดเสมาใหญ่ จ.นครราชสีมา หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก จ.บุรีรัมย์หลวงพ่อเพียรท่านมี สหธรรมิก อยู่ ๒ องค์ คือหลวงพ่อเทิ่ง วัดตาเป๊กอ.เฉลิมพระเกียรติ อ.นางรองเก่าและ หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ทั้งสององค์นี้ท่านรักใคร่สนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ”
“หลวงพ่อเพียรเมื่อตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องวิทยาคม คาถาอาคมขลัง ท่านจะทำให้เฉพาะผู้ที่ไปขอจากท่านเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ หรือปลุกเสกสิ่งของที่เป็นวัตถุมงคลอื่น
ชาวบ้าน ญาติโยมในสมัยนั้น มักนำนกยูง บ้างก็นำลิง ชะมด หมูป่า มาถวายท่าน ท่านก็เลี้ยงเอาไว้ท่านปล่อยเลย แต่สัตว์เหล่านี้ก็ไม่หนีไปไหน สำหรับหมูป่านั้น ท่านเอาเหล็กจารลงเล็บให้มัน ชะมดท่านเอาผ้าเหลืองขวั้นเป็นเชือกผูกคอให้มัน ทั้งหมูป่าและชะมดชอบออกไปลักของชาวบ้านกินเรื่อย ๆ บ้างครั้งก็กินไก่บ้าง กินเป็ดบ้าง ชาวบ้านเขาก็ยิงเอาแต่ยิงไม่ออก
ในตอนสงครามอินโดจีนที่ไทยรบกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เรื่อยมาจนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้คนก็ต่างหลั่งไหลมารขอของดีจากท่านเอาไว้ป้องกันตัว รวมทั้งทหารที่จะไปรบด้วย ต่างก็แห่กันมาให้ท่านรดน้ำมนต์ บ้างก็มาให้ท่านลงเหล็กจารตามตัวแล้วทาตัวด้วยน้ำมันงา เพื่อให้คงกระพันชาตรี
มีเรื่องเล่าว่า สมัยนั้นหลวงพ่อเพียรท่านได้ทำตะกรุดหนัง จำนวน ๙ ดอก เป็นตะกรุดหนังลงจารมือม้วนทบรอบ เป็นเอกลักษณ์ของท่าน ตะกรุดหนัง หลวงพ่อเพียร เป็นตะกรุดที่คนต่างแสวงหา และ คือที่สุดของตะกรุดหนัง เพราะสร้างในจำนวนน้อยมาก พุทธคุณเด่นด้าน คงกระพันชาตรีเป็นเลิศ
หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก ท่านถึงแก่มรณะภาพลงเมื่อ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สิริอายุรวม ๗๕ ปี ๕๕ พรรษา
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล