ผู้สืบสานวิชาตระกรุดมหาโสฬสมงคลวัดสะพานสูง

สวัสดีจ้าวันนี้ เรื่องเล่าชาวสยาม จะพาทุกคนมาศึกษาเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ตำนาน อภินิหารพระเกจิ ความลี้ลับ ไสยศาสตร์ เพราะในประเทศไทยของเรานั้น ต่างก็มีจุดเด่นทางความเชื่อและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาแหล่งรวมประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก วันนี้เราขอมานำเสนอเรื่องเล่าหลวงพ่อทองสุข อินทสาโร มาให้อ่านเพื่อศึกษากัน ติดตามรับชมกันได้เลย

หากกล่าวถึง หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ)ท่านเกิดเมื่อ ๑๑ มีนาคม ๒๔๔๖ อุปสมบทปี ๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร

หลวงพ่อทองสุขเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สืบสายวิชาการสร้างพระปิดตาเนื้อผง และตระกรุดมหาโสฬสต่อจากหลวงปู่เอี่ยม และพระครูโสภณศาสนกิจ (กลิ่น) วัดสะพานสูง นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อทองสุขยังมีความสามารถในการปรุงยาแผนโบราณที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้สารพัดชนิด

น้ำมนต์ของท่านเป็นที่นิยมนำไปอาบกินเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล และขจัดเสนียดจัญไร หลวงพ่อทองสุขได้สร้างพระปิดตามากมายหลายรุ่น พระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นมีทั้งเนื้อผงเกสร ผงชุบรัก ผงคลุกรัก และเนื้อโลหะ การสร้างพระปิดตาแต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมทำบุญกับท่านในโอกาสต่างๆ รวมถึงลูกศิษย์ลูกหา ที่เดินทางมากราบนมัสการท่าน มวลสารที่ใช้ในการสร้าง ประกอบด้วยผงวิเศษ ๕ ประการ ได้แก่ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณและผงตรีนิสิงเห แล้วยังมี ผงอิติปิโส ผงไตรสรณคม

สำหรับผงยันต์มหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อทองสุข นั้น มีธรรมเนียมปฏิบัติในการทำผงของวัดสะพานสูง ที่จะต้องทำภายในอุโบสถ เมื่อเสร็จแล้วจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนำไปสร้างพระปิดตา หรือผสมรักพอกตะกรุด อีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ เมื่อมีกิจจะต้องสร้างวัตถุมงคลอีก ก็จะทำผงขึ้นใหม่ให้มากกว่าครั้งก่อน จากนั้นก็นำผงใหม่มาผสมกับผงเก่าที่เก็บไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว แบ่งเก็บไว้ครึ่งหนึ่งเสมอ ผงวิเศษตามตำรับของวัดสะพานสูง จึงมีไม่ขาดสาย มีความเข้มขลังเสมอกันเทียบเท่าเสมือนหนึ่งเป็นผงโสฬสมงคลที่หลวงปู่เอี่ยม ผู้เป็นต้นตำรับได้สร้างไว้เอง นอกจากจะใช้ดีทาแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีแล้ว ด้านหน้าที่การงานก็เหมือนมีคนคอยเกื้อหนุนค้ำจุน ประสบความเจริญก้าวหน้าอย่างเด่นชัด

ปฏิมํเสตมตฺตนา : จงพิจารณาตนด้วยตนเอง

พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข

หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถาสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น จนเมื่อปี ๒๔๘๒ ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปี ๒๔๙๗ หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ปี ๒๔๙๑ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๘ จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ท่านได้ล่ะสังขารลงอย่างสงบเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕ สิริอายุได้ ๗๙ ปี

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เล่าต่อกันมาของตำนานหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติบุคคลคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านผู้มีพระคุณ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า