หมั่นท่องไว้ทุกวันตอนเช้า “พุทธคุณสูง” พระคาถาหลวงปู่มั่น ตำนานพระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นพญานกยูงทอง

หากเอ่ยถึง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายวัดป่า ในบรรดาพระสายกรรมฐานส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง คือพระคาถาโมรปริตรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “พระคาถาพญายูงทอง” สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานี้ “นะโม วิมมุตตานัง นะโม วิมุตติยา” เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดกโดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น “พญานกยูงทอง” ความเดิมมีอยู่ว่า

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีพญายูงทองตัวหนึ่งที่มีชีวิตแคล้วคลาดจากการถูกเข่นฆ่ามาได้โดยตลอด แม้พระราชาหรือนายพรานที่มีความชำนาญก็ยังจับไม่ได้ พญายูงทองได้ท่องพระคาถานี้มาโดยตลอด แม้จะถูกดักด้วยแร้ว กลไกของแร้วก็ไม่ลั่น จนกระทั่งมีนายพรานที่มีปัญญาหลักแหลม จึงหาอุบายเอานกยูงตัวเมียที่ฝึกไว้จนเชื่องและปฏิบัติตามคำสั่ง ได้เข้าไปล่อและส่งเสียงร้องก่อนที่พญายูงทองจะท่องพระคาถา พญายูงทองก็เกิดความกระสันด้วยกิเลส ลืมร่ายมนต์และเข้ามาหานางนกยูง เลยถูกบ่วงแร้วรัดตัวและถูกจับไว้ได้ในที่สุด

บทสวดตอนเช้า

  • โมระปะริตตัง อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง
  • นะมัสสามิ หะริสสะ วัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะ เรมุ ทิวะสัง
  • เยพราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เตจะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง
  • นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา โมระปะริตตัง

โดยคาถานี้เป็นคาถาที่ปรากฏอยู่บนหลังเหรียญเกือบทุกรุ่นของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร โดยหัวใจของคาถาบทนี้คือ “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา” อันมีความหมายว่า “ความนอบน้อมของข้าฯจงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม”

อธมฺมํ ปฏิปนฺนสฺส โย ธมฺมมนุสาสติ ตสฺส เจ วจนํ กยิรา น โส คจฺเฉยฺย ทุคฺคตึ : ผู้ใดสอนธรรมแก่คนปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ

ยันต์นกยูงทอง

นอกจากจะพบคาถานี้บนหลังเหรียญแทบทุกรุ่นของท่านพระอาจารย์ฝั้นแล้ว ยังพบคาถาบทนี้ในตะกรุดอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากไปหาอาจารย์ฝั้นให้ท่านทำตะกรุดให้ โดยจัดหาแผ่นโละทองเหลือง-ทองแดง-ตะกั่วไปพร้อม ท่านก็มีเมตตาจารให้ทุกคน โดยท่านจะจารคาถาเป็นภาษาขอม ลาว อ่านว่า นะโม วิมมุตตานัง นะโม วิมุตติยา โดยส่วนใหญ่บางครั้งอาจมีหัวใจคาถาอื่นเพิ่มเติมบ้างเช่น นะโมพุทธายะ และ นะมะพะทะ ผนวกเข้าไว้ก็ได้ ตะกรุดของพระอาจารย์ฝั้นบางคนก็เอาไปปิดเสาเรือน บางคนก็พกพาไว้ติดตัว โดยมีความเชื่อว่า สามารถกันไฟ กันฟ้าผ่า รวมทั้งแคล้วคลาด นอกจากนี้แล้วยังพบว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ยังใช้คาถาบทนี้ด้วย ดังปรากฏในหนังสือสวดมนต์ของวัด ทั้งนี้สันนิษฐานว่าคงสืบเนื่องมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด ยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนสายพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลงในปีพ.ศ. 2492

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ พลังจิต

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า