หากกล่าวถึง หลวงพ่อเฒ่าปั้น วัดคังคาว ซึ่งเรื่องราวถูกถ่ายทอดมาจากพระอาจารย์จิ๊ วัดคังคาว ว่าคนเก่าๆเล่าสืบทอดกันมาว่าท่านเป็นชาวบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี เกิดในสมัยอยุธยา เคยเป็นทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังสงครามได้บวชเรียนที่จ.อยุธยาแล้วเดินรุกขมูลไปเรื่อยๆกับสหธรรมิก อีกหนึ่งรูปชื่อหลวงพ่อแป้นรูปร่างขาวสูง ส่วนตัวหลวงพ่อปั้นนั้นรูปร่างล่ำแบบมะขามข้อเดียวผิวคล้ำ โดยร่วมกันบูรณะวัดวาอารามไปทั่ว และเมื่อตอนที่ท่านมาถึงบริเวนแม่น้ำน้อยที่สร้างวัด ก็ได้อธิษฐานด้วยการโยนผ้าอาบไปกระทั่งผ้าอาบปลิวตามลมมาตกในบริเวนดังกล่าว ซึ่งเป็นวัดร้างมาก่อน
หลวงพ่อเฒ่าปั้นจึงเริ่มรวบรวมศรัทธาก่อสร้างวัดคังคาวขึ้น ส่วนหลวงพ่อแป้นก็ล่องเรือต่อไปทางทิศเหนือแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลยตอนที่พ่อเฒ่าปั้นท่านล่องเรือมา ท่านมีลิงตัวผู้มาด้วยหนึ่งตัวชื่อ เจ้าหอย ต่อมาคงได้แพร่พันธุ์กับลิงป่าแถววัดจนกลายเป็นฝูงลิงของหลวงพ่อเฒ่าที่ไม่ มีใครกล้าทำอันตรายจวบจนกระทั่งปัจจุบัน หลวงพ่อสวัสดิ์อดีตเจ้าอาวาสท่านก็รักลิงเหล่านี้มาก และเมื่อไม่นานมานี้เจ้าลิงก็ทำแสบแอบขโมยใบลานเทศน์ที่มีลายมือชื่อหลวงพ่อ เฒ่าปั้นไปเล่นฉีกขาดหลุดหายไป ทำให้ขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปอีกชิ้น
นอกจากพ่อเฒ่าปั้นจะเลี้ยงลิงแล้วท่านยังมีช้างอีกสามเชือกช้าง ๓ เชือกนี้ ชื่อ บุตร ทรัพย์ และ กระสอบ เป็นช้างแสนรู้ มีความกตัญญูสูง นอกจากจะช่วยชักลากไม้และเป็นพาหนะในการเดินทางให้หลวงพ่อเฒ่าแล้ว ทั้งสามยังได้ช่วยกันไปหาฟืนนำมาให้หลวงพ่อเฒ่าและพระในวัดใช้ โดยมิต้องสั่งหรือบังคับแต่อย่างใด โดยภายหลังได้มอบให้ลูกศิษย์เอกคือหลวงพ่อสงฆ์ วัดสว่างอารมณ์ ไปหนึ่งเชือกคือ พังกระสอบ หลวงพ่อสงฆ์นี้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่เมฆ วัดท่าอิฐ หลวงปู่เมฆ วัดท่าอิฐนี้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่เชิญ ท่านพระอาจารย์จิ๊ยืนยันว่า แต่ก่อนท่านเคยเห็นที่วัดมีตำราคาถาอาคมของหลวงพ่อเฒ่าที่คัดโดยหลวงพ่อสงฆ์ แล้วเขียนระบุไว้เลยว่าหลวงพ่อสงฆ์ท่านเป็นคนคัดแต่ปัจจุบันหายไปบ้างลาง เลือนไปบ้าง
ประวัติหลวงพ่อเฒ่า ท่านเก่ามาก เก่าจนเกินกว่าจะสืบค้น รูปถ่ายท่านก็ถ่ายมาจากรูปปั้นที่ปั้นจากคำบอกเล่าของคนที่อาวุโสที่สุดในย่านวัดที่ก็ยังไม่เคยเห็นหน้าท่านในยุคหลวงพ่อสอนเป็นเจ้าอาวาส ท่านน่าจะมีชีวิตอยู่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินท์ หรือปลายกรุงศรีอยุทธยา เคยมีคนกล่าวถึงหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าได้มาเรียนและต่อวิชาจากหลวงพ่อเฒ่าและมีการคาดคะเนกันต่างๆนาๆซึ่งขัดแย้งในบางกรณี จนผมมีโอกาสได้สืบค้นประวัติในสายหลวงปู่ศุขจากตำราที่บันทึกโดย พระอาจารย์ บุญยัง ศิษย์เอกหลวงปู่ศุขคู่กับสมุห์กลับ กล่าวไว้ว่า หลวงปู่ศุขได้ต่อวิชาสร้างตะกรุดใต้น้ำ และวิชาบางอย่าง จากหลวงพ่อเฒ่า ซึ่งคำว่าเฒ่าในภาษาคนชัยนาทและละแวกใกล้เคียงจะหมายถึงพระแก่ พระที่อาวุโสมากๆ
ในความหมายที่ อ.ยัง บันทึกนั้นหมายถึงหลวงพ่อเฒ่า วัดจำรัง ท่านนี้คือหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่าวัดคงสวัสดิ์ ซึ่งหาได้เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเฒ่า(ปั้น)ไม่ และชื่อปั้นนั้นหมายถึงนามท่าน หรือ รูปปั้นอาจเป็นได้ มีคนเคยตั้งข้อสังเกตุว่าหลังจากที่ค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านหายไปไหน อาจมรณะภาพในสงคราม หรือ ไปจำวัดที่ไหนหลังสงครามสงบ เป็นไปได้หรือไม่ถ้าท่านจะเป็นหลวงพ่อเฒ่า เป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น ผมขอรับผิดชอบข้อมูลแต่ผู้เดียวครับ
ในสายวิชาหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาวถือเป็นตักศิลาในลุ่มแม่น้ำน้อย มีตำราคัมภีร์ที่พระเกจิในย่านนี้เรียนต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย เป็นเอกหนึ่งเดียว เอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำกับสายอื่นคือ หัวใจพระกรณีย์ อะปะจะคะ แค่อักขระ ๔ ตัว สำเร็จสามารถกระทำสิ่งใดได้ต่างๆนานา ทั้งผ้ายันต์ ปลุกเสก ลงวัตถุมงคล สารพัด วัตถุมงคลในรูปหลวงพ่อเฒ่าสร้างครั้งแรกสมัยหลวงพ่อสอน ต่อมาก็สมัยหลวงพ่อสวัสดิ์ หลวงตาวิเชียร จนสมภารรูปปัจจุบัน การออกวัตถุมงคลของวัดคังคาวแทบทุกครั้งจะต้องนิมนต์เกจิที่สืบสายวิชามาร่วมนั่งปรกด้วยทั้งนั้น เช่น หลวงพ่อกวย หลวงพ่อเจ้ย และหลายท่านในลุ่มน้ำน้อย มีทั้งเหรียญ พระสมเด็จ พระดิน ชิน ผง ผ้ายันต์ มีดหมอ และวัตถุมงคลที่เก่าแก่ที่สุดก็คือพระโคนสมอขนาดเล็กมีทั้งชินและดินเผา บรรจุอยู่ในกรุของวัดคังคาว สันณิษฐานว่าหลวงพ่อเฒ่าท่านสร้างและบรรจุกรุไว้ถือเอาวัตถุมงคลชุดนี้เป็นพระที่ทันหลวงพ่อเฒ่า
ส่วนมากประวัติที่เราท่านทราบกันจะสืบค้นจากหลวงตาเชียร ท่านนี้จัดเป็นพระอาคมกล้าของวัดคังคาวเลยศรัทธาหลวงพ่อเฒ่ากันมาตั้งแต่สมัยปู่ของท่านพระเครื่องที่เป็นรูปเคารพหลวงพ่อเฒ่าส่วนมากหลวงตาเชียรจะเป็นผู้สร้าง และเสก ส่วนหลวงพ่อสวัสดิ์ท่านเป็นเจ้าอาวาสมีบทบาทเรื่องพิธีกรรมและประสานงานครับ สร้างแต่ละครั้งถือเป็นการชุมนุมเกจิในเขตลุ่มน้ำน้อยที่เก่งกล้าสามารถทุกครั้งครับ.
ขอบคุณที่มา marnburapha.com
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล