พุทธคุณยันต์เสือมหาอำนาจ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ถึงขนาดทางการขอร้องท่านให้เลิกสัก

หากเอ่ยถึง ยันต์เสือ นั้นคือลายสักเสือ สำนักที่สักเสือแล้วโด่งดังมากที่สุด คือ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ แต่ทั้งสามสำนักนี้ สำนักหลวงพ่อเปิ่นจะมีคนมาสักมากที่สุด และในศิษย์ที่เป็นผู้ชาย เกือบร้อยเปอร์เซนต์ล้วนสักเสือตัวนี้ ลายยันต์เสือหลวงพ่อเปิ่น ในยุคแรกๆที่หลวงพ่อเปิ่นสักให้ลูกศิษย์ มีคนมาสักมาก ย่อมมีคนดีและไม่ดีปะปนกัน คนที่ไม่ค่อยดีก็ไปก่อเรื่องก่อราว สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ตำรวจ เพราะศิษย์ยุคแรกจะมีใจยึดมั่นท่านมาก ก่อเรื่องไม่ว่างเว้น ทำให้นายตำรวจท่านหนึ่ง ไปห้ามหลวงพ่อไม่ให้สักยันต์ ถ้าไม่เลิกจะเอาเรื่องท่าน ท่านจึงบอกว่า“มึงไปถามคนแถวนี้ ถ้าเขาให้กูสึกกูจะสึก” ตำรวจนายนั้นก็ไม่กล้าไปถาม เพราะรู้อยู่แล้วว่าคนแถววัด เคารพรักหลวงพ่ออย่างกับพ่อทุกคน

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

หลวงพ่อเปิ่นท่านสนใจในเรื่องของไสยเวทย์มาตั้งแต่เด็ก อาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระซึ่งในสมัยนั้นมีพระคุณเจ้าที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบางพระมีความเก่งกาจมีความเชี่ยวชาญในสายวิชาคาถาอาคมอยู่หลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพราะอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ

เเรกเริ่มเดิมทีนายเปิ่นเริ่มศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก ได้รับการถ่ายทอดวิชาสมุนไพรรักษาโรค คาถาอาคมต่างๆ โดยเฉพาะวิชาสักยันต์อันโด่งดัง จากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระซึ่งท่านท่านรักและเมตตาศิษย์อย่างนายเปิ่นเป็นพิเศษ วิชาการต่าง ๆ ท่านจึงถ่ายทอดให้โดยไม่ปิดบัง

นายเปิ่นเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อุปสมบท วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมี เจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตฺธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ได้นามว่า “พระฐิตคุโณ”

หลังเสร็จจากงานฌาปนกิจของหลวงพ่อหิ่มแล้ว ก็ตั้งใจจะแสวงสัจจะธรรมต่อไปอีก หลวงพ่อเปิ่นได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน)อาศรมบางมด ซึ่งได้อบรมแนะนำสั่งสอนพระกัมมัฎฐาน ศึกษาปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลา ๑ ปีเศษ หลวงพ่อเปิ่นก็กราบลาเพื่อออกธุดงค์วัตรต่อไปทางภาคเหนือของประเทศไทย แล้วธุดงค์ลงใต้ พบอาจารย์ที่ไหน ก็จะเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาธรรมจากท่าน

ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา เอตํ ตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ : ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดังเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

ย้อนกลับขึ้นมาที่สุราษฎร์ธานี ได้กราบนมัสการ หลวงพ่อพุทธทาส แห่งสวนโมกข์ และ หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย หลังจากนั้นข่าวคราวของหลวงพ่อเปิ่นเงียบหายไปอย่างสนิทกระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง ใกล้กับวัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาพระเวทย์ ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ คือองค์พระธุดงค์องค์นั้น

“เสือ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจราชศักดิ์สำแดงฤทธิ์ทำให้เป็นที่ครั่นคร้ามเกรงกลัว นับถือแก่ปวงชน และสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใดเกิดปีขาล หรือปีเสือ โหราจารย์ท่านมักจะทำนายทายทักตามตำราพรหมชาติว่า “ผู้นั้นมักกล้าแข็ง เวลาจะไปหาผู้ใด มักไม่เกรงใจ ผู้อื่นเสียอีกกลับต้องกลัวเกรง ผู้คนมักสรรเสริญเยินยอว่าดีต่อหน้าเสมอ”

ตามคติความเชื่อของคนเล่นของเชื่อว่า “เสือ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจราชศักดิ์ สำแดงฤทธิ์ ทำให้เป็นที่คร้ามเกรง นับถือแก่ปวงชนทั้งหลาย ผู้ที่พกหรือใช้เครื่องรางประเภทเสือ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือแกะ ตะกรุดหนังเสือ ผ้ายันต์รูปเสือ รวมทั้งการสักยันต์ลายเสือ จะมีพุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด รวมทั้งมหาอุด

ถ้าหากนำติดตัวไปหนทางใกล้ไกล หรือเดินทางเข้าป่าดงพงพี เผชิญฝูงสัตว์ร้ายและภูตผี จะมิกล้าทำอันตรายใดๆ เป็นคงกระพันมหาอุดและแคล้วคลาดเป็นที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีคติความเชื่ออย่างหนึ่ง เรื่องการบริกรรมคา เชื่อกันว่ามีคาถาอยู่ ๒ บท ที่คนมักใช้บริกรรม เพื่อบังเกิดมีสง่าราศรี มีตบะเดชะ เป็นที่ครั่นคร้ามของคนทั้งปวงให้เกรงกลัว เช่น ไปพบผู้ใหญ่ เจ้านาย รวมทั้งหรือเผชิญศัตรู

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

บทแรก คือ คาถาพญาเสือโคร่ง ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ และตามด้วย “พยัคโฆ พยัคฆา สัญ ญา ลัพ พะ ติ อิ ติ หิ หัม หึม”

บทที่สอง คือ คาถาพญาเสือมหาอำนาจ ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ “ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือ พญาพยัคโฆ สัตถาอาหะ พยัคโฆ จะ วิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม”

บทที่สาม คือ ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงหลวงพ่อเปิ่น แล้วว่าดังนี้ “กุรุสุกุ รุสุกุกุ สุกุกุรุ กุกุรุสุ”

อุปเท่ห์การใช้คาถาอาคมขลัง สิทธิการิยะท่านว่า สาธุชนใดบูชาเขี้ยวเสือ ตะกรุดหนังเสือ ผ้ายันต์เสือ ติดตัว ห่อใส่ผ้าเช็ดหน้า รวมทั้งใส่ไว้ในรถยนต์ ย่อมเป็นที่ครั่นคร้ามเกรงอำนาจดีนัก ถ้าหากนำติดตัวไปหนทางใกล้ไกล หรือเดินทางเข้าพงพี เผชิญฝูงสัตว์ร้าย และภูตผีจะมิกล้าทำอันตรายใดๆ เป็นคงกระพันมหาอุด รวมทั้งแคล้วคลาดเป็นที่สุด

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า