จังหวัด นครศรีธรรมราช หากขับรถผ่านไปทางสิชลก่อนข้ามสะพาน กลาย ทางด้านซ้ายมือจะมีรูปปั้น ทวดกลาย หรือโต๊ะกลาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของพี่น้องแถบนี้ มีลักษณะเป็นรูปปั้นชาย นั่งขัดสมาส มือทั้งสองข้างวางไว้บนเข่า ห่มสไบเฉียงและโพกหัวด้วยผ้าสีขาว ตั้งวางอยู่ในศาลาเชิงสะพานฝั่งตำบลสระแก้ว คนในพื้นที่ความเชื่อกันว่าท่านมีฤทธิ์ดั่งเทวดาอารักษ์
ความศรัทธาในการบนบาน บอกกล่าว เห็นได้จากเสียงบีบแตรรถ ไก่ชน เสียงปะทัด และการทรงเจ้าเข้าทรงในทุกๆปี รวมไปถึงความเชื่อที่ว่า “คนสองฝั่งคลองไม่กล้าทำความสกปรกลงในคลองสายนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหมู เพราะเชื่อว่า ทวดกลายเป็นมุสลิม” วันดีคืนดีที่ผ่านมา ทวดกลายจะปรากฏให้เห็น ในรูปของจระเข้ตัวใหญ่ เพื่อย้ำเตือนสติลูกหลานให้มุ่งคิดดี ทำดี อย่าทำลายทรัพยากรสายน้ำกลาย
จึงมีเรื่องเล่าตำนานทวดกลายอยู่มากโขเชื่อกันว่าทวดกลาย คือ ลูกหลานสามสี่พี่น้องที่คุ้มครองเมืองนคร และในสมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมืองไทรบุรีก็เป็นเมืองขึ้นของอยุธยาด้วย ตามจารีตประเพณีของอยุธยา จะนำเอาลูกเจ้าเมืองทั้งหมดของแต่ละหัวเมืองที่เป็นเมืองขึ้นไปอยู่ที่อยุธยา และการนำลูกเจ้าเมืองเมืองขึ้นต่างๆในอยุธยา ก็ได้มีการประสิทธิ์ ประสาทวิชาทางการทหาร วิชาทางไสยเวทย์ให้ทุกคน ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ
เพราะทางอยุธยาถือว่านครศรีธรรมราชมีอาณาจักรกว้างขวางถึงมลายู ถือว่าเป็นที่ที่มีชาวอิสลามอยู่มากมาย การได้เชื้อสายของชาวอิสลามเองจะทำให้ปกครองกันง่าย และเจ้าเมืองที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรีที่ทางอยุธยาส่งลงมาครองอยู่ที่นครศรีธรรมราชนั้นมีชื่อว่า พระยารามราชเดโช (หวาน) หรือที่เรียกกันว่านายเมือหวาน ซึ่งพระยารามราชเดโช (หวานเมื่อมาครองเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ก็มีลูกทั้งหมดสามคนที่นับว่าเป็นเชื้อสายตรงคือ ๑. ทวดหน้าศพ ๒. ทวดกลาย ๓. เจ้านายนอกหน้า ซึ่งคนนี้เป็นผู้หญิง
จากนั้นมีการสู้รบกับทัพกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากให้ที่พักพิงกบฏ มีการล้อมเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ ๕ วันจนหมดเสบียง พระยารามราชเดโชก็จำเป็นต้องตีออกและสายสกุลบางส่วนหนีไปอยู่ “กรุงชิง” คือลูกสามคน ทวดหน้าศพ ทวดกลาย และเจ้านายนอกหน้า นำคนไปด้วยจำนวนมาก โดยไปตั้งรกรากเป็นชาวบ้านธรรมดา
แต่ทางกรุงศรีอยุธยาเห็นว่ายังมีเชื้อสายอยู่ก็เลยไม่ไว้ใจ ทางกรุงศรีอยุธยาเขาก็ตั้งเจ้าเมืองใหม่มาครองเมืองนครศรีธรรมราชแทน ติดต่อกลับไปที่เชื้อสายที่ “กรุงชิง” เพื่อสัมพันธไมตรีกับทาง “กรุงชิง”และได้ไปขอ “เจ้านายนอกหน้า” ที่เป็นหญิงมาเป็นชายาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ หลังจากนั้น “เจ้านายนอกหน้า” ท่านได้ตั้งท้อง ท่านก็ยังไม่วางเรื่องความแค้น ท่านก็ได้ไปขอคลอดใกล้ๆ พี่ชาย แต่ในใจของท่านนั้นคิดว่าไม่เอาชาติพันธ์ที่มาจากรุงศรีอยุธยาไว้ พอท่านไปถึง “กรุงนาง” ท่านก็ไปกลั้นใจตาย
ส่วนฝ่ายพี่ทั้งสองคนคือ “ทวดหน้าศพ” และ “ทวดกลาย” เข้าใจว่าทางเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ขับไล่ไสส่ง ก็เลยโกรธยกทัพมาตีกันอีกครั้ง รบกันเป็นเวลานาน ๕ วัน ๕ คืน “ทวดหน้าศพ” กับ “ทวดกลาย” ก็เสียชีวิต โดยมามีบาดแผลใดๆ จึงคิดว่าท่านน่าจะเหนื่อยจากการต่อสู่ และเป็นลมเสียชีวิต
มาวันนี้ ลูกหลานรุ่นหลังแทบจะจดจำเรื่องทวดกลายไม่ได้ ลืมไปว่าก่อนหน้านี้ไม่นาน ทวดกลาย คือ สิ่งยึดเหนี่ยวของคนแถบนี้ทั้งพี่น้องพุทธ มุสลิม โดยมีศรัทธาเป็นตัวตั้งมากกว่าการสร้างรูปเคารพที่ผิดหลักศาสนา วันนี้พี่น้องมุสลิมถอยห่างทวดกลาย เพราะผิดหลักศาสนาแต่ศรัทธายังคงมี พี่น้องพุทธใช้ทวดกลายเป็นที่พึ่งหนักไปในเรื่อง มิอันควร เห็นได้จากรูปไก่ชนรายรอบ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า ทวดกลายยังคงเฝ้ามอง และปกป้องคนแถบนี้ เสมือนว่าท่านยังมีชีวิตอยู่
ศาลทวดกลาย ความศรัทธาในการบนบาน บอกกล่าว เห็นได้จากเสียงบีบแตรรถ ไก่ชน เสียงปะทัด แผ่นทองคำเปลวที่ถูกปิดจนเหลืองอร่ามไปทั่วรูปปั้น ผ้าสีขาว รูปปั้นไก่ และการทรงเจ้าเข้าทรงในทุกๆปีแทนคำบ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ หลังคำตั้งจิตอฐิษฐาน สัมฤทธิ์ผล โดยเฉพาะขอให้หายเจ็บป่วย ขอให้สอบเข้าเรียนหรือทำงานได้ตามต้องการ
ขอบคุณข้อมูล บล็อคโอเคเนชั่น