อาจารย์สอนกัมมัฏฐานฆราวาสจอมขมังเวทย์แห่งคลองกระมัง

หากกล่าวถึง ครูจาบ ท่านป็นอาจารย์ฆราวาสเรืองวิทยาคม เป็นอาจารย์คนหนึ่งของพระเดชพระคุณพระวิสุทธาจารเถระ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช เคยเห็นภาพอยู่ที่ที่บูชาของหลวงพ่อพระอาจารย์ของผมที่อยุธยา ท่านเป็นที่นับถือมาก แม้หลวงพ่อปานวัดบางนมโคก็นับถือ ท่านไปทำน้ำมนต์รักษาหลวงพ่อปานด้วย (ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปานโดนของ) และเล่ากันว่าครูจาบมีมีดหมอกายสิทธิ์อยู่เล่มหนึ่ง มีอยู่คราวหนึ่งหลวงพ่อปานทำอะไรให้ท่านไม่พอใจ เพียงแค่ท่านชักมีดเล่มนั้นออกแค่ครึ่งฝักก็ทำให้หลวงพ่อปานวัดบางนมโคถึงกับหมดสติ

หลวงพ่อที่สอนเลขยันต์ผมท่านเป็นหลานของครูจาบ ครูจาบชำนาญทางกรรมฐาน และทางกสิณดิน ว่ากันว่าย่นหนทางและเสกเนรมิตอะไรได้ และก็ลงยันต์ลบผงทำปถมังอิทธเจ ไล่ผีถอนคุณไสยต่าง ๆ รูปท่านคือชายแก่ผมขาวมีไม้ครูประจำตัว

ส่วนสำนักวัดประดู่ทรงธรรมมียันต์จักรพรรดิตราธิราช แต่จริง ๆ แล้วขอเรียนว่าไม่ใช่ยันต์ธรรมดาที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่เป็นของส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ท่าน และมีลงได้หลายแบบ ที่ผมศึกษาอยู่ ณ เวลานี้มีอยู่ 5 แบบ เป็นที่สุดของวิชาสายวัดประดู่แล้ว การเดินมีเคล็ดลับพิสดารมาก โดยจะสัมพันธ์กับพิไชยสงคราม อาจารย์ท่านว่าอย่างนั้น เคยแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์ท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ท่านเรียนมาทางสายวัดมะขามเฒ่า อาจารย์ของท่านไปเรียนกับหลวงปู่ศุขเรื่องยันต์จักรพรรดิ หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า ชัยนาทท่านธุดงค์มาเรียนยันต์นี้กับหลวงพ่อรอดเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม ตั้งแต่ก่อนสมัยพระวิสุทธาจารย (เลื่อง) ที่ว่ากันว่าสร้างพระคลองตะเคียนวัดประดู่นั่นเอง

 

ยันต์นี้ขึ้นต้นได้หลายแบบ และตัวตารางก็มีหลายแบบ ส่วนการเดินนั้นก็เดินตามตาม้าหมากรุก แต่มีค่ายกลนิดหน่อยพรางไว้แบบเส้นผมบังภูเขา ส่วนการเดินแบบตรีวิกรมนั้น ผมไม่ทราบว่าคุณไปเอาคำนี้มาจากไหน เพราะของเดิมมีแค่เดินตาม้าและที่พิสดารก็เป็นกลอักษร คำว่าตรีวิกรมนั้นสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องนารายณ์สิบปาง ซึ่งอวตารลงมาปราบทุกเข็ญบนโลก ก้าวขาลงมาสามก้าวหมายถึงเป็นใหญ่ในสวรรค์ มนุษย์ และนาคพิภพ ส่วนทางไศวนิกายถือว่าเป็นท่ารำของพระศิวะหลักจากทรงเบิกบานที่ปราบอสูรสำเร็จอยู่ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์

ก๋งจาบ ท่านใช้ความรู้ความสามารถสงเคราะห์ไปตามเรื่องในสมัยนั้น คงมีแค่ว่าท่านเป็นอาจารย์กัมมัฏฐานวัดประดู่ฯ เป็นผู้รักษาหลวงพ่อปานตอนถูกบังฟัน เป็นเพื่อนกับหลวงพ่อปาน เป็นอาจารย์ของพระเกจิในยุคต่อมา เช่นหลวงพ่อเทียมวัดกษัตริย์ฯ หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ท่านคงจะไม่ได้สร้างเครื่องรางอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ขอบคุณข้อมูล วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า