หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ไขปริศนาความฝันของในหลวงรัชกาลที่ 9 เหตุใดพระองค์ทรงสุบินถึงพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 อยู่บ่อยครั้ง

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ไขปริศนาความฝันของในหลวงรัชกาลที่ 9 เหตุใดพระองค์ทรงสุบินถึงพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 อยู่บ่อยครั้ง

หากกล่าวถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อปี พ.ศ.2525 “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” ได้เข้าเฝ้า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” และ “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ในการเข้าเฝ้าครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปุจฉาสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธตอนหนึ่งว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :อยากเรียนถามพระคุณเจ้าว่า เคยฝันถึงพระพุทธยอดฟ้า เคยฝันถึงท่านหลายครั้ง ไม่ทราบว่าฝันถึงท่านเองหรือใจนึกถึง?

หลวงพ่อพุธ :พลังใจที่ได้เคารพบูชาและมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรดาพระบรมมหากษัตราธิราชเจ้าทั้งหลายในอดีตนั้นย่อมเป็นพลังอันหนึ่งที่สามารถทำให้จิตใจของพระองค์ปฏิพัทธ์ (ผูกพัน) ถึงพระองค์ท่านทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความแน่นอน ซึ่งปกติแล้ว ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของความดี ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม และเป็นพื้นฐานให้เกิดความดี

ดังนั้น การที่ได้ฟังเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนา (ของพระองค์) ที่คิดว่ายังไม่เป็น ยังไม่ชำนาญนั้น ความกตัญญูกตเวทีอันนี้จะช่วยเกื้อกูลอุดหนุนน้ำใจของท่านให้ดำเนินไปสู่สมาธิที่ถูกต้อง

เท่าที่เคยได้ฟังที่วัดป่าสาลวันเมื่อครั้งนั้นว่า เมื่อระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตจะสงบสว่างลงไปแล้วหายหวาดกลัวในสิ่งต่าง ๆ อันนี้คือจิตของท่านมีสมาธิและเข้าสมาธิได้ง่าย

แต่การทำสมาธิบางครั้งบางคราวนั้น เราอาจจะไม่สมประสงค์ในการกระทำ คือ จิตอาจจะไม่มีความสงบตลอดเวลา แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นการสะสมกำลังไว้ เมื่อเวลาเหมาะสมเมื่อใด จิตจะสงบลงเป็นสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อขณะใดที่เกิดความกลัว กลัวจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้น จิตของผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นผู้อบรมอยู่เป็นประจำนั้นจะวิ่งเข้าสู่ความเป็นสมาธิโดยไม่ตั้งใจ

ที่มา : หนังสือ “มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ” โดย วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เพจเรื่องเล่าชาวสยามได้นำมาเล่าต่อของตำนานหลวงพ่อพุธ ฐานิโย บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติบุคคลคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านผู้มีพระคุณ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า