หากกล่าวถึง วัดปรมัยยิกาวาส เป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”
ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”
ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอด ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาส ตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้น พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ
ปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษา พระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริงด้านหลัง พระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า
ที่เกาะเกร็ดได้มีเรื่องราวที่เล่าขนานกันมา ว่ามีเทวดาตนหนึ่ง ชอบออกมาเที่ยวเล่น และคนในเกาะเกร็ดก็ได้เห็นกันบ่อยๆว่ามีชายแต่งกายประหลาด และไม่คุ้นหน้า เดินเที่ยวเล่นอยู่ที่เกาะ (สมัยนั้นเกาะเกร็ด เป็นชุมชนเล็กๆบนเกาะ ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว) เมื่อเห็นบ่อยเข้า ก็พากันไถ่ถามถึงชายแปลกหน้า ที่สุดก็ไปเล่าให้เจ้าอาวาสวัดฟัง เมื่อเจ้าอาวาสฟังแล้วก็เลยพาชาวบ้านไปดูเทวดาที่อยู่ในอุโบสถ
ถามว่าว่า “ใช่ไหม… ที่พูดถึงใช่ไหม”
พอเข้าอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส ชาวบ้านก็เลยบอกว่าใช่
องค์เต็มของเทวดาที่ถือพัดด้านหลังพระประธานในอุโบสถ์ และภิกษุ องค์ที่ตอกตะปูใส่ขาเทวดา ผู้เป็นเลิศในวิทยาคม ที่วัดปรมัยยิกาวาส รูปนั้น คือเกจิอาจารย์ยุคเก่า “หลวงพ่อละโว้”
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล