เสียงสาธุบุญสะเทือนไปทั่วทั้งโลกธาตุ ธรรมะไม่มีพรมแดน … แม้แต่ “เทวดาเยอรมัน” ยังมาขอฟังเทศน์จาก “หลวงปู่มั่น”

เสียงสาธุบุญสะเทือนไปทั่วทั้งโลกธาตุ ธรรมะไม่มีพรมแดน … แม้แต่ “เทวดาเยอรมัน” ยังมาขอฟังเทศน์จาก “หลวงปู่มั่น”

หากกล่าวถึง หลวงปู่มั่น มีเหตุการณ์อัศจรรย์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับ “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ” บูรพาจารย์แห่งกองทัพธรรมพระป่ากรรมฐานผู้อบรมลูกศิษย์ลูกหาให้เป็นพระอริยเจ้ามากที่สุดในบรรดาคณาจารย์กรรมฐานทั้งหลาย (ตามฉายาภาษามคธว่า “ภูริทัตโต” ซึ่งหมายถึง “ผู้แจกจ่ายวิชาความรู้”)

เหตุการณ์ที่ว่านี้เกี่ยวข้องกับ “เทวดาเยอรมัน” ที่ได้มาพบหลวงปู่มั่นเพื่อขอให้ท่านเทศนาธรรมให้ฟัง โดยเรื่องนี้มีข้อมูลบันทึกไว้ในหนังสือชีวประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เรื่องราวก็มีอยู่ว่า

ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่นพำนักอยู่ที่บ้านอีก้อทางภาคเหนือ ระหว่างพำนักอยู่นั้นได้มี “เทวดาจากประเทศเยอรมนี” มาปรากฏตัวเพื่อขอฟังธรรมเทศนาจากท่าน โดยแสดงความประสงค์ว่าต้องการฟังเทศนาที่ชื่อว่า “ชัยชนะคาถา”

เมื่อหลวงปู่มั่นทราบความประสงค์ก็ได้กำหนดจิตถึงบทธรรมที่ตรงกับความต้องการของเทวดา แล้วบทธรรมก็ผุดขึ้นมาภายในว่า “อักโกเธนะ ชิเนโกธัง” ซึ่งท่านได้แสดงความหมายให้เทวดาเยอรมันฟังว่า

“ธรรมนี้แหละเป็นยอดแห่งธรรมที่ผู้หวังชัยชนะควรเจริญให้มาก โลกมีความร่มเย็นเป็นสุขต่อกันตลอดมาก็เพราะธรรมนี้เป็นเครื่องปราบปรามความชั่วทั้งหลาย เช่น ความโกรธ ให้เสื่อมสิ้นอำนาจในการทำลายสังคมมนุษย์และเทวดา ทำให้โลกมีความเจริญและสงบสุขโดยทั่วกัน เทวดาควรมีธรรมนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวประสานกัน ถ้าโลกขาดชัยชนะนี้แล้ว อย่างน้อยก็เกิดความไม่สงบสุข มากกว่านั้นก็สังหารทำลายกันให้ฉิบหายย่อยยับโดยถ่ายเดียว

พลันที่ธรรมเทศนาบทนี้จบลง เทวดาก็อนุโมทนาสาธุสามครั้ง เสียงการอนุโมทนาบุญสะเทือนไปทั่วทั้งโลกธาตุ หลังเสร็จจากการเทศนา หลวงปู่มั่นถามเทวดาว่า อยู่ไกลถึงประเทศเยอรมัน ทำไมทราบว่าท่านอยู่ที่นี่

เทวดาตอบว่า”สำหรับหลวงปู่มั่นแล้ว จะอยู่ที่ไหนเทวดาก็ทราบกันทั้งนั้น นอกจากนี้ เทวดาในประเทศไทยก็ไปมาหาสู่เทวดาในประเทศเยอรมันเป็นประจำ การไปมาของเทวดานั้นลอยเหาะกันด้วยฤทธิ์ เหมือนกระแสจิตที่ส่งไปถึงที่หมายเพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น”

ภายหลัง หลวงปู่มั่นเล่าถึงเรื่องนี้ให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า เทวดาเยอรมันได้มาขอฟังเทศน์จากท่านอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเทวดาที่สถิตอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยก็มาฟังเทศน์บ่อย ๆ การแสดงความเคารพของเทวดาทุกหมู่เหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ ในขณะที่เข้ามาพบท่านจะไม่เข้ามาจากด้านที่มีพระอยู่ และจะมาในยามดึกสงัด มาถึงแล้วก็พากันทำประทักษิณ (เวียนขวา) สามรอบด้วยความสงบเสงี่ยม เวลาจะกลับก็พร้อมใจกันทำประทักษิณอีกสามรอบแล้วค่อย ๆ ถอยห่างออกไป พอพ้นเขตที่พำนักแล้วก็ค่อย ๆ ลอยเหาะขึ้นไปบนอากาศดุจปุยสำลี

ที่มา : หนังสือ “ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๑ วัดป่าพระอาจารย์มั่น อ.พร้าว จ.เชียงใหม่) ข้อมูลจาก Tnews

เป็นยังไงกันบ้างกับหลากหลายเรื่องราวที่เพจเรื่องเล่าชาวสยามได้นำมาเล่าต่อของตำนานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บทความนี้นำมาเผยแพร่เพื่อศึกษาเผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติบุคคลคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านผู้มีพระคุณ ทั้งนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า