สวัสดีครับวันนี้ทีมงานขอนำทุกท่านมาศึกษาเรื่องเล่าตำนานวิชาหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า เกจิผู้เรืองอาคม เรามาติดตามกันได้เลย
เรื่องนี้พระใบฏีกาบุญยัง วัดหนองน้อย เเละ พระสมุห์กลับ เเสงเขียว ได้กล่าวตรงกันว่า ท่านเรียนวิชชาอาคมจากเบื้องบน ฟังเเล้วน่าอัศจรรย์เเละเป็นตำนานเกี่ยวกับตำราพุทธคุณ อิ ติ ปิ โส ทั้งสี่เล่ม ที่หลวงพ่อศุขท่านสำเร็จ เเละท่านมีศิษย์เอกเเท้จริงเพียงสามรูปกล่าวคือ
- 1.กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
2.พระใบฏีกาบุญยัง วัดหนองน้อย
3.พระสมุห์กลับ เเสงเขียว
โดยพระคัมภีร์พุทธคุณ อิเเละติ นั้น กรุมหลวงชุมพรฯท่านสำเร็จทั้งสองเล่มส่วนพระใบฏีกาบุญยัง วัดหนองน้อย เเละพระสมุห์กลับ เเสงเขียว ท่านสำเร็จ อิ ทั้งเล่ม ส่วนติ ยังไม่ทันจะได้ครบท่านทั้งสองได้มรณะภาพเสียก่อน ส่วนพระสมุห์กลับ เเสงเขียว ท่านได้ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส เเต่กระนั้นท่านยังได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์กลับ ที่มีศิษย์มากมายสังเกตได้จากงานไหว้ครูสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่
ภายในคัมภีร์พุทธคุณ อิ จากการจดบันทึกของพระใบฏีกาบุญยัง มียันต์สำคัญในพระคัมภีร์ ที่ขาดไม่ได้คือ ยันต์พุทธอุดม้วนโลก ซึ่งยันต์นี้พระรุ่นหลานศิษย์หลวงพ่อศุข ได้เเก่หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ มักใช้ประจำ ท่านยังกล่าวว่า ยันต์นี้ตัวเดียวสามารถสร้างวัดได้เลย เเละยันต์นี้มีสองเเบบเท่านั้นคือเเคล้วคลาดเเละมหาอุต เเต่สามารถทำให้เป็นเมตตามหานิยมได้ด้วย
ในพระคัมภีร์พุทธคุณอิ มีการจดบันทึกการลบผงพระพุทธคุณต่างๆ อาทิ การลบผงนะโมพุทธายุใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์ปถมัง เเละ การลบผงพระพุทธคุณ จนเป็นยันต์องค์พระ ทั้งสี่องค์เเล้วลบเข้าสูน นิพพาน ทั้งหมด
ทุกคัมภีร์เป็นอย่างนี้ เคยมีคนที่ชอบเรียนสายไสยเวทย์กล่าวว่า หลวงพ่อมหาโพธิ์ทั้งตั้งตัวการลบผงไม่สมบูรณ์ หากเเต่โดยเเท้จริงเเล้วหลวงพ่อท่านเน้นใจเป็นสำคัญ เเละลบเข้าสูงองค์พระเเละสูน ทั้งหมด นี่ต่างหากเคล็ดไม่ลับคงการเรียนอาคม คือความว่าง สูนนั่นเอง ปล่อยวาง สูงสุดคืนสู่สามัญ
สุดยอดพระยันต์ครูของหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จริงๆคือยันต์พุทธอุดม้วนโลกลายมือหลวงพ่อศุข ซึ่งมีลักษณะทั่วไปเป็นอักขระ พุทธขอม สามชั้นวนๆเเล้ววนเข้าหาหัว หรือ วันเข้าหาวงกลม มีสองเเบบ เรียกได้ว่าดีทางเเคล้วคลาดเเละมหาอุตม์ ซึ่งพุทธอุดม้วนโลกของท่าน มีเอกลักษณืคือเวลาเขียน เคล็ดลับคือ ก่อนเขียนต้องพินธุ ก่อน ต้องทำวัตถุที่เราจะลงอักขระให้สะอาดก่อนซึ่งวัสดุเเต่ละชนิดจะพินธุไม่เหมือนกัน หลังจากนั้นเขียนอักขระพุทธพร้อมกับบริกรรมว่า
นามะนังสะมะโส ยุตตะโถ เเห่งนามะ
ไปเรื่อยๆจนจบคาถา เมื่อเสร็จเเล้วต้องกรึงยันต์ ว่าด้วยอักขระยันตังสันตังอยังเอหิ ไปเรื่อยๆจนจบเเละหลังจากนั้นเสกตัวพุทธนี้ด้วย บารมีสามสิบทัศน์ อิติปาระมิตตาติงสา เเล้วตัวพุทธอุดม้วนโลกนี้มักล้อมรอบด้วยตัว อิ อันเป็นอิของรัตนมาลา ซึ่งท่องว่า
- อิฏโฐสัพพัญญุตะญานัง
อิจฉันโตอาสะวักขะยัง
อิฏฐังธัมมังอะนุปปัตโต
อิทธิมันตังนะมามิหัง
ล้อมรอบทั้งสี่ทิศ
จะเห็นได้ว่าพุทธอุดม้วนโลก เเต่ละตัวล้วนสำเร็จได้ด้วยคุณพระรัตนตรัย เเละ เน้นที่รัตนมาลาเป็นหลักสำคัญ พร้อมกันนั้น พุทธอุดม้วนโลก สามารถทำเป็นมหานิยมก็ได้ ซึ่งมีเคล็ดต่างๆที่ ตำราระบุเอาไว้เเละมีหลายท่านบอกว่าพุทธอุดม้วนโลกมีสี่ห้าเเบบนั้น จริงๆเเล้วพุทธที่ว่านั้นเขาไม่ได้เรียกพุทธอุดม้วนโลก อาทิ พุทธ มหานิยมใหญ่ พุทธเมตตา ซึ่งการเรียกเเละคาถาเสกจะไม่เหมือนกัน ตัวอิ ที่ล้อมรอบ ตัวพุทธสามารถใช้ตัว ติ ปิ โส เเล้วเสกด้วยรัตนมาลาก็ได้ อีกอย่างพุทธอุดม้วนโลก นั้นปกติจะวนสามรอบ บางครั้งพิเศษจะเป็น ห้ารอบ เก้ารอบ
ยันต์องค์พระที่เผยเเพร่กันอยู่ที่เห็นๆมีด้วยกันสี่องค์ที่เรียกว่าพระเจ้าเข้านิโรธ บ้าง ยันต์ครูองค์พระบ้าง ทีนี้ยันต์องค์พระจริงๆของหลวงพ่อศุขในตำราการลบผงของท่านกลับมีมากกว่าสี่องค์ ทั้งของพระใบฏีกาบุญยัง เเละ พระสมุห์กลับ ก็ไม่เหมือนกันอีก เเละยังไม่นับ ยันต์องค์พระที่มีในการลบผงนะโมพุทธายะใหญ่อีก
ในตำราของหลวงพ่อศุขมีคัมภีร์ อิ ติ ปิ โส ซึ่งเป็นวิชชารัตนมาลา เป็นหลัก มีข้อปลีกย่อยมากมาย ที่หลวงพ่อศุข ท่านใช้มากสุดคือ คัมภีร์อิ ในตำรา ให้ตั้งต้นการลบผงด้วย อิ สี่ตัว ลบไปเป็น นะมะพะทะ ลบเป็น อิ สวา สุ ลบเป็นอิกะวิติ ลบเป็นนะ ลบไปเรื่อย มียันต์ ตะรางเพชร(ยันต์เกราะเพชรนั่นเอง กลับอยู่ในส่วนหนึ่งของการลบผงในวิชชาพระพุทธคุณ อิ ) ยันต์ข่ายเพชร ยันต์ดาวดาดฟ้า ยันต์มหาโปรยมหาปราบ สุดท้ายเป็นยันต์องค์พระทั้งสี่องค์โดย องค์สุดท้าย เป็นองค์พระนิพพาน เเต่การลบองค์สุดท้ายไม่ต้องลบเป็นสูนเป็นเคล็ด เเต่ลบยันต์องค์พระในวิชชานะโมพุทธายุใหญ่ต้องลบถึงสูนนิพพาน อักขระที่ยันต์องค์พระจะมีซ้ำๆคล้ายๆกันอันได้เเก่
- จะภะกะสะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายุ
- พระเจ้าสิบหกพระองค์
- มงกุฏพระพุทธเจ้า
- อิติปิโส พระอรหัง
วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้สุดท้าย ยันต์ครูองค์พระ ลบ สูน เป็น นิพพานังปรมัง สูนยัง เข้าสู่ความว่างเปล่า ดับจิต ไม่มีทุกข์สุข เวรกรรม ทำอะไร มิได้
หลวงปู่ศุขได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2466