คงกระพันไม่เป็นรองใคร แม้แต่ตี๋ใหญ่ ขุนโจรชื่อดังในตำนานยังต้องมีพกติดตัวไว้

หลวงพ่อเต๋ คงทอง ท่านเกิดเมื่อวัน ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีกระต่าย ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่บ้านสามง่าม หมู่4 หลวงพ่อเต๋มีโยมพ่อชื่อ นายจันทร์ นามสกุล สามง่ามน้อย และโยมมารดาชื่อนางบู่ มีพี่น้องรวม ๗ คน หลวงพ่อเต๋เป็นลูกคนที่ ๕ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บวชเป็นสามเณร ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศึกษาวิชาอาคมอยู่กับลุงของท่าน ชื่อ หลวงลุงแดง เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔

ท่านมีอายุครบ ๒๑ ปีได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี หลวงพ่อทาหรือท่านพระครูอุตตรการบดี วัดพระเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สุดท้ายนี้ ได้พระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อเต๋ท่านได้รับฉายาว่า คงทอง ท่าได้ศึกษาร่ำเรียนทั้งทางธรรมและวิชาอาคมกับหลวงพ่อทา วัดพระเนียงแตก ก่อนที่หลวงลุงแดงท่านจะมรณภาพลงได้ฝากฝังวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ ดูแลต่อไป

ท่านเริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๗๗ รวมเป็น ๑๗ ปี ต่อมาหลวงพ่อเต๋ได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงปู่แช่ม วัดตาก้อง จากนั้น ท่านก็ธุดงค์ไปเรื่อยๆ เดินทางไปในสถานที่ต่างๆและได้ไปเรียนเพิ่มกับพระอาจารย์รูปอื่นๆ อีกด้วย รวมทั้งอาจารย์ฆราวาสที่เป็นชาวเขมร ซึ่งเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร และเป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ให้ความนับถือมาก ( ในสมัยที่หลวงพ่อเต๋ยังมีชีวิตจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด) ภายหลังที่กลับมาพำนักได้ ๓ ปี หลวงพ่อเต๋ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดสามง่ามด้วยมานะอันแรงกล้าอย่างหาที่เปรียบมิได้ ท่านยังได้พัฒนา หมู่บ้าน ชุมชน สถานีอนามัย โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ

หลวงพ่อเต๋ ท่านเปี่ยมไปด้วยความเมตตาปราณี ให้ความรักแก่ศิษย์ทุกคนแบบเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาแก่สัตว์ทั้งหลาย ก่อนที่ท่านจะฉันภัตตาหาร ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิจ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ คณะกรรมการสงฆ์ของจังหวัดได้พิจารณาแต่งตั้งให้หลวงพ่อเต๋เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม และปี พ.ศ.๒๔๗๖ และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะตำบล ปกครอง ๕ วัดอีกด้วย

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงพ่อเต๋จะสร้างไว้หลายแบบหลายชนิด แต่ละชนิดล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้ วัตถุมงคลของท่านเน้นเรื่องพุทธคุณไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงาม ท่านมีความตั้งใจที่จะสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้บูชาพกติดตัวป้องกันภัยต่างๆ ส่วนมากเป็นเนื้อดินผสมผงป่นว่าน เนื้อดินอาถรรพณ์ที่นำมาเป็นมวลสารนั้นได้แก่ ดิน ๗ โป่ง ,ดิน ๗ ป่าช้า และดินขุยปู เป็นต้น ด้านหลังพระทุกพิมพ์จะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงเนื้อพระ ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงจนทุกวันนี้คือ กุมารทอง หรือ ตุ๊กตาทอง ตำราการสร้างกุมารทองท่านได้จากหลวงลุงแดง นำดิน๗ โป่ง ,ดิน ๗ ป่าช้า และดินขุยปู

หลวงพ่อเต๋ท่านมาปั้นแจกชาวบ้าน นำไปเพื่อคุ้มครอง การปลุกเสกนั้นท่านจะปั้นแล้วเอาวางนอนไว้แล้วทำการปลุกเสกให้กุมารทองลุกขึ้นมาเองตามตำรา ผู้ที่ได้รับไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นมีอภินิหารต่างๆ ของกุมารทองของท่าน หลวงพ่อเต๋ คงทอง ท่านได้มรณะภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๔ อายุได้ ๘๐ ปี ๖ เดือน ๑๐ วัน ๕๙ พรรษา ปัจจุบันทางวัดยังคงเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวท่านไปกราบไหว้บูชา

นอกจากนี้ ยังมีตะกรุดสามห่วง ตะกรุดหน้าผากเสือ ตะกรุดมหารูด ที่ขึ้นชื่อว่าเด่นมาในเรื่องคงกระพัน แม้แต่ตี๋ใหญ่ มหาโจรชื่อดัง ยังต้องมาฝากตัวเป็นศิษย์ท่านและให้ท่านสักยันต์ให้ นอกจากตะกรุดหลวงพ่อสุด วัดกาหลงแล้ว ตะกรุดสามห่วง หลวงพ่อเต๋ก็เป็นสิ่งที่ตี๋ใหญ่ติดตัวไว้ตลอดไม่ยอมให้ห่างกายเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก รักษ์พระ

 เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า