ตำนานพ่อแก่ บรมครูแห่งสรรพวิชา

สวัสดีครับวันนี้ทีมงานมีสาระมานำเสนอเรื่องตำนานพ่อแก่ หากเอ่ยถึง ตำนานพระฤาษี หรือ พ่อแก่ เป็นนามคำเรียกขานของผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญเพียรที่มีมานานแล้วประมาณกว่าสีพันปี ถือเป็นบรมครูแห่งศาสตร์ของการแสดง ในคำว่า ฤาษี มาจากคำว่า ฤาษิ แปลว่า ผู้เห็นด้วยความรู้พิเศษอันเกิดจากฌาน ซึ่งสามารถแลเห็นอดีตปัจจุบัน และอนาคตได้ บางครั้งก็เรียกพ่อแก่หรื อฤาษีว่า

“ตฺริกาลชฺญ” แปลว่า ผู้รู้กาลทั้งสาม นอกจากนี้พระฤาษียังถือว่าเป็นผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ เนื่องด้วยตำราทางโหราศาสตร์ และตำราทางเทววิทยา กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ทั้งมวล

ฤาษีนั้นเป็นผู้ปฏิบัติที่มั่นคงเด็ดเดี่ยว ในการฝึกจิตสมาถะ บางตนสร้างบารมีจนมีตบะแข็งกล้า สามารถมีอายุเป็นร้อยๆ ปี  บางตนเหาะเหินเดินอากาศ สำแดงฤทธิ์ได้มากมาย หากเมื่อนำเอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ชัดว่าแต่ละชั้นมีความสามารถที่แตกต่างกัน แล้วแต่บารมี การเพียรปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่ละตน ผู้ใดปฏิบัติมุ่งมั่นหมั่นเพียรเท่าใด ผลก็จะส่งไปตามบุญตามวาสนาถึงชั้นนั้นๆ หลายท่านเคยได้ยินคำว่า ๑๐๘ ฤาษี ทำให้บางท่านเข้าในว่า ฤาษี มีเพียง ๑๐๘ ตน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะแท้ที่จริงคำว่าร้อยแปดเป็นคำที่เรียกแทนสิ่งที่มีอยู่มากมาย จำไม่อาจนำเป็นจำนวนได้ เลยเรียกรวมกันโดยย่อว่า ๑๐๘ ฤาษี

ตามชั้นและฐานะของพระฤษีนั่น ก็ยังแยกระดับตามสรรพนามออกไปได้อีก ซึ่งสามารถอธิบาย จำแนกแจกแจง ออกไปได้ดังนี้

๑. พระสิทธา แปลว่า พระ ฤาคี ประเภทที่มีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง ที่สถิตสถาน มีวิมานอยู่ตามเทือกเขาและถ้ำ ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสดวกสบายอยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้นแห่งโลกมนุษย์โดยกำหนด

๒. พระโยคี แปลว่า เป็นผู้มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชา โยคกรรม มักจะเที่ยวทรมาณตนอยู่ตามเทือกเขาและป่า ตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่เห็นว่าสมควร

๓. พระมุณี แปลว่า ในกลุ่มพราหมที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญด้วยความพากเพียร มุมานะพยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ จึงกลายเป็นผู้มีปัญญาความรู้ ความสามารถอยู่ในระดับสูง

๔. พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตะบะธรรมที่คิดว่าจะเผาผลาญกองกิเลสให้หมดสิ้นไป ใช้ความพากเพียร พยายามมุ่งแต่ในทางทรมาณร่างกายและจิตใจเพื่อมุ่งหวังในโลกุตรสุขที่เป็นผลแห่งบารมี

๕. ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้ หนวดเครารุงรังราวกับคนบ้า ไม่ชอบรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมรอนแรมอยู่ตามป่าดงพงไพร

๖. นักสิทธิ์ แปลว่า ผู้ทรงศิลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา มีความเที่ยงธรรมเป็นที่ตั้ง ชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์ วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนถึงโลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันมากมายหลายแสนตน เที่ยวตระเวณไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะหาทางสอดส่องลงมาช่วยมนุษย์

๗. นักพรต แปลว่า ผู้ปฏิบัติดี เคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศิลอันประเสริฐมียอมให้ศิลตกบกพร่องแต่ประการใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตะบะ ชอบสถิตตามป่าเขาลำเนาไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดพบเห็น เป็นผู้อยู่อย่างเรียบง่าย แต่มีฤทธิ์มาก

๘. พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤษีเหมือนกัน แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชา บำเพ็ญตะบะสร้างบารมีอย่างมุ่งมั่น เป็นผู้สละความสุขทางโลก มุ่งมั่นว่าจะต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ ตามเทวสถานต่างๆ เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธี ไม่ว่าจะเป็นพิธีใดที่เกี่ยวข้องกับ พระฤษีหรืองค์เทพต่างๆ พราหมณ์ก็จะออกไปทำพิธีให้โดยไม่เรียกร้อง ค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ไม่เห็นแก่ลาภและประโยชน์ส่วนตน เมือเสร็จสิ้นภารกิจ ก็จะกลับไปเข้าจำศิลภาวนาอย่างไม่รู้จักคำว่าพอ

โปรดใช้วิจารณญาณ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า