สวัสดีครับวันนี้ทีมงาน ขอนำทุกท่านมาศึกษาเรื่องเล่าตำนาน ลูกแก้วหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ทรงอภิญญาที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มาติดตามกันได้เลย
สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงปู่ทวด ท่านเป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หลวงปู่ทวดมีนามเดิมว่า ปู เป็นบุตรของนายหู นางจัน ชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ส่วนวันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู ตรงกับวันเดือนปีใด ไม่มีผู้ใดทราบได้ จึงขอยกข้อสันนิฐานที่ 1 ดังนี้
อนันต์ คณานุรักษ์ ได้ระบุไว้ว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2125”
เมื่อท่านเกิดมา มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านคือ ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหนอิ นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว
เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม
ที่มาของสมญานาม “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ในอดีตการเดินทางจากสงขลามาอยุธยานั้น จะต้องเดินทางทางเรือและใช้เวลาเป็นปี ครั้งนั้นลูกเรือชาวมุสลิมของเรือลำที่หลวงปู่ทวดเดินทางมาด้วย มัวแต่ตั้งวงเล่นไพ่จนลืมเตรียมน้ำจืดไว้กินไว้ใช้บนเรือ เมื่อออกเดินทางจึงไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้กัน แล้วพาลมากล่าวหาว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะมีภิกษุร่วมเดินทางมาด้วย ทำให้พวกเขาจะพากันอดน้ำตาย
คิดได้ดังนั้นจึงคิดไล่หลวงปู่ทวดลงจากเรือ หลวงปู่ท่านจึงได้อธิษฐานว่า
“หากแม้ข้านี้สามารถที่จะสืบต่ออายุพุทธศาสนา ทำงานให้ศาสนารุ่งเรือง ขอให้น้ำทะเลบริเวณที่เท้าเหยียบลงไปนี้จงกลายเป็นน้ำจืดเถิด”
แล้วท่านก็เอาเท้าจุ่มลงทะเล น้ำบริเวณที่ท่านจุ่มเท้าลงไปนั้นกลายเป็นน้ำจืด พวกชาวเรือสำเภานั้นจึงได้ตักขึ้นไว้ใช้ในเรือ ๑๓ โอ่ง มีน้ำใช้ตลอดทางจนถึงอโยธยา และด้วยเหตุการณ์ครั้งนี้เองท่านจึงได้รับสมญานามว่า “หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด”
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จะคุ้มครองให้เราแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ แล้วอาราธนาพระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด ติดตัวท่านจะคอยปกป้องภัยอันตรายคาถา-อาคม
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (3 จบ) แล้วระลึกถึงท่าน