พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์ทรงได้รับถวายพระสมัญญาจากกองทัพเรือว่าเป็น “พระบิดาของกองทัพเรือไทย” จากพระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงวางรากฐานและพัฒนาปรับปรุงทหารเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก
ส่วนกรณีที่นักเรียนนายเรือพากันเรียกพระองค์ว่า “เสด็จเตี่ย” นั้น สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงขัดดาดฟ้าให้นักเรียนนายเรือใหม่ๆ ที่ฝึกภาคทางทะเลบนเรือหลวงพาลีรั้งทวีปดูเป็นแบบอย่าง ในปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ทอดพระเนตรเห็นนักเรียนเหล่านั้นทำงานนี้ด้วยท่าทางเงอะงะเก้งก้าง โดยตรัสกับพวกนักเรียนเหล่านั้นว่า “อ้ายลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้”
และยังมีอีกเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เพราะมิใช่เป็นเพียงแค่ วันประสูติ กับ วันสิ้นพระชนม์ ของพระองค์ท่านเท่านั้น แต่เป็นความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับพระองค์และบุคคลใกล้ตัวของพระองค์ท่านทั้งสิ้น
๑ . พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
( ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ สิ้นพระชนม์ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖)
๒ . พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
(ประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ สิ้นพระชนม์ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙)๓ . เรือเอก หม่อมเจ้าชายสมรบำเทิง อาภากร
(๑๙ พฤษภาคม พ .ศ. ๒๔๔๘ – ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๓)
๔. หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
(๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ – ถึงแก่อนิจกรรม ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑)
หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ถือว่าเป็น กุลสตรีห้าแผ่นดินรวมสิริอายุ ๑๐๑ ปี
นอกจากนั้นยังมีพระยาสุรินทราชา สยามราชภักดี พิริยะพาหะ บิดาของหม่อมกอบแก้ว ที่สิ้นฯ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม
- ๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓ – ประสูติในพระบรมมหาราชวัง
- ๑๙ ธันวาคม ๒๔๕๑ – ทรงทดลองตอร์ปิโดที่สัตหีบเป็นครั้งแรก ของราชนาวีไทย
- ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ – สิ้นพระชนม์ ที่ชุมพร
- ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๒ – ประดิษฐานพระรูป ที่ศาลปากน้ำประแสร์ ระยอง
- ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๕ – ประกอบพิธี เททองพระรูปอนุสาวรีย์ ณ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร
- ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๖ – ประกอบพิธีประดิษฐานพระรูป ณ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร
- ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๙ – พระราชพิธี เปิดอนุสาวรีย์ ณ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร