ภาพถ่ายที่คุ้นตาภาพนี้นี้ได้ถูกถ่าย ณ พระตำหนักเรือนต้น พระที่นั่งวิมานเมฆ และอาหารที่ท่านกำลังตั้งพระทัยทำอยู่นั้นคือ ทอดปลาทู นั่นเอง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นปลาทูจัดได้ว่าเป็นของหรู เวลาเสด็จเมืองเพชรบุรีคราวใดก็มักจะเอ่ยถึงปลาทูเสมอ
ได้มีการบันทึกไว้ว่าท่านไม่โปรดปลาทูทอดที่เหม็นคาว ส่วนผู้ที่ทอดปลาทูได้ถูกพระราชหฤทัยมากที่สุดก็คือ เจ้าจอมเอิบ ซึ่งรับหน้าที่ทอดปลาทูถวายมาตลอด ครั้งหนึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงมีรับสั่งไว้ว่า
เรื่องทอดปลาทูข้า อยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบ ออกไปทอดเตรียมเตาและกระทะให้พร้อม
และสิ่งที่หลายคนกำลังสงสัยว่าผู้ใดเป็นคนถ่ายภาพนี้ สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพนี้คือ เจ้าจอมเอิบ บุนนาค ท่าน หญิงผู้นี้ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์
เจ้าจอมเอิบ เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออที่ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ
เป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น ๖๒ คน โดยในจำนวนนี้ มี ๕ คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เจ้าจอมเอิบเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ เจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม ตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้น มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอิบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน
เจ้าจอมเอิบ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ สิริอายุ ๖๕ ปี