จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่มีวัดและแหล่งประวัติศาสตร์เก่าแก่อยู่มากมาย เช่น วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพุทไธศวรรย์ ,วัดพระศรีสรรเพชญ์ ,วัดมหาธาตุ ในวันนี้ขอแนะนำวัดศาลาปูนวรวิหาร ที่สำคัญคือวัดนี้มีโบราณวัตถุล้ำค่าสมัยก่อนอยุธยา
เดิมทีวัดศาลาปูนเป็นที่สถิตของ พระราชาคณะตำแหน่งพระธรรมราชา สืบต่อกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระราชาคณะเพียงรูปเดียวที่ได้รับพระราชทานตั้งขึ้นในเขตหัวเมืองชั้นนอก คือสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( พุก )
พระอุโบสถวัดศาลาปูนนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระประธานในอุโบสถวัดไร่ขิงมาก่อน เนื่องจากท่านซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน และเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณวัดไร่ขิง
วัดนี้มีพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ เป็นศิลปสมัยก่อนอยุธยา ชาวบ้านเรียกติดปากว่า“หลวงพ่อแขนลาย” รูปทรงงดงาม ตัวองค์ศิลปกรรมเครื่องไม้จำหลักในสมัยอยุธยาตอนต้น พระพุทธรูปลงยันต์อักขระที่แขนเป็นพระพุทธรูปโบราณ ลักษณะคล้ายพระอัครสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร
บางความเห็นก็ว่า พุทธลักษณะของหลวงพ่อแขนลายนั้นจะมีลักษณะทั้งบนเศียรไม่มีพระเกตุมาลา (ยอดแหลมๆ) คล้ายกับพระศรีอาริยเมตไตรย พระหัตถ์ซ้ายที่อยู่ในลักษณะชี้นิ้วไปทางขวาด้วย เหมือนมีการถือตาลปัตรไว้ในมือด้วย
พูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นที่เล่าลือกันมาก ถึงการบนบานศาลกล่าวมีคนประสบความสำเร็จมามิใช่น้อย หากมีโอกาสขอเรียนเชิญมาสักการะกันได้ วัดโบราณตั้งอยู่ริมคลองเมืองพระนครศรีอยุธยา ( แม่น้ำลพบุรีเดิม ) ตั้ง อยู่ เล ข ที่ 38 หมู่ 4 ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา