วันพระยาพิชัยทหารเอกพระเจ้าตากสิ้นชีพ “พระยาพิชัยดาบหัก” ถูกประหารชีวิต
พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย เมื่อปี 2284 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ด้วยฝีไม้ลายมือดี โดยเฉพาะด้านศิลปะการต่อสู้ ทั้งเชิงมวย เชิงดาบ ศึกษาเพลงหมัด – มวย อยู่กับท่านพระครูวัด ม ห า ธ า ตุ หรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ “ทองดีฟันขาว” และได้เข้ามารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งที่เป็น เจ้าเมืองตาก จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิชัยอาสา
ครั้งได้เดินทางติดตามพระยาตาก จนพระยาตากกอบกู้เอกราชและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ครองกรุงธนบุรี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ราชองครักษ์ในพระองค์ และเป็น พ ร ะ ย า สี ห ร าช เ ด โ ช ตามลำดับ ในที่สุดสมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสีหราชเดโช ไปเป็นเจ้าเมืองพิชัย ที่เป็นบ้านเกิด
พระยาพิชัยดาบหัก เป็น 1 ใน 4 ยอดขุนพลคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ออกรบทำศึกสงครามเคียงคู่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลายครั้งและได้เอาชนะข้าศึกมาหลายศึกสงคราม
พระยาพิชัยดาบหักทั้งนี้ ในศึกครั้งหนึ่งกับฝ่ายพม่า พระยาพิชัยสู้รบอย่างสุดกำลังความสามารถจนเสียการทรงตัว ได้ใช้ ด า บ ข้ า ง ขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน แต่ท่านก็นำทหารสู้ต่อจนได้รับชัยชนะ
เมื่อสิ้นแผ่นดินพระเจ้าตากสิน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ตั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชักชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่
แต่พระยาพิชัยดาบหักทูลขอถวายความจงรักภักดี และถวายชีวิตเป็นราชพลีตามสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถือคติที่ว่า “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ไม่ขอรับ” จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตน เป็นการถวายชีวิตตายตามนาย พระยาพิชัย ยอมหัก ไม่ยอมงอ ลั่นวาจา..
“กูขอเป็นข้ารองบาท..สมเด็จพระเจ้าตากสินแต่เพียงพระองค์เดียว”
เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริอายุรวมได้ 41 ปี