ตำนาน 2 เทพศักดิ์สิทธิ์ผู้ปกป้องคุ้มครอง

คนไทยอยู่กับความเชื่อมาช้านานแต่โบราณ หากเอ่ยถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลายคนคงนึกถึง สิ่งที่เหนือธรรมชาติ มีพลังอำนาจให้ได้ทั้งคุณและโทษได้ หรือสามารถดลบันดาลให้เป็นไป ให้สำเร็จได้ดั่งใจปรารถนา ในบทความนี้ขอนำเสนอเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของเทพผู้คุ้มครอง

ท้าวหิรันยพนาสูร

เชื่อกันว่าเป็นอสูรเทพผู้คุ้มครองประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ พระองค์เสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมี่อจะออกเดินทางไปในป่า ผู้ที่ติดตามเสด็จพากันกลัวว่าจะเกิดภยันตรายต่างๆ พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาดำรัสเพื่อให้เหล่าเจ้าใหญู่นายโตคลายกังวลว่าเมื่อจะเสด็จที่ใดคงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจ หรืออสูรอันเป็นสัมมาทิษฐิคอยติดตามป้องกันภยันตราย มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริพารผู้โดยเสด็จฯ

ขอบคุณภาพ kornbykorn.blogspot.com

จากนั้นมีผู้ที่ติดตามเสด็จได้กล่าวถึงความฝันอันแปลกว่า เห็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โตแจ้งว่าชี่อหิรันย์ เป็นอสูรชาวป่า จะมาตามเสด็จอารักขาดูแลระวังมิให้ภยัน-ตรายทั้งปวงมากล้ำกรายพระองค์และข้าราชบริพาร

พอทรงทราบความจึงมีพระราชดำรัสให้เหล่าข้าราชบริพารจัดอาหารเครื่องสักการะบูชาไปเซ่นที่ในป่าริมพลับพลา เมื่อถึงเวลาเสวยค่ำทุกวัน ได้โปรดเกล้าฯ ให้เเบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยไปตั้งเช่นเสมอ หลังจากที่เสด็จประพาสมณฑลพายัพแล้วข้าราชบริพารก็พร้อมกันเชิญท้าวหิรันยอสูร ให้ตามเสด็จเมื่อเสด็จออกจากกรุงเทพฯด้วยตลอดมา

พระสยามเทวาธิราช

ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีความเชื่อกันว่าทรงเป็นประมุขของเทพารักษ์ที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง มีเทพบริวารสำคัญ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน

และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4) ทรงเล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ

คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่า ‘พระสยามเทวาธิราช’ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้สร้างเทวรูปที่เหมือนกับองค์พระสยามเทวาธิราชขึ้นอีกองค์หนึ่ง โดยข้อมูลจากมติชนกล่าวว่า

“…เป็นพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต มีลักษณะเป็นเทวรูปหล่อทรงเครื่องกษัตริยาธิราช พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายจีบเสมอพระอุระ เหมือนกับองค์พระสยามเทวาธิราช แต่พระพักตร์ลักษณะเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีน ทำด้วยไม้จันทน์จำหลักลงรักปิดทอง มีฉัตรทอง 5 ชั้น ตั้งอยู่ 2 ข้าง จารึกพระปรมาภิไธย ด้านหลังซุ้มเรือนแก้วเป็นภาษาจีน”

แต่ในอีกความเชื่อหนึ่งของจีน พระสยามเทวาธิราชมีป้ายชื่อแปะที่หลังพระพุทธรูปตามความเชื่อของทางจีนที่บูชาผีบรรพบุรุษ

ขอบคุณ mgronline โบราณนานมา phyathaipalace

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า