หากเอ่ยถึงการสักยันต์อยู่คู่กับคนไทยมาแต่โบราณ ซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน มีสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น บางสายวิชาก็หายสาปสูญไปโดยไม่มีผู้สืบทอด เป็นที่น่าเสียดายมาก แต่ก็ยังมีอีกหลายสายวิชา หลายสำนักที่ยังคงอนุรักษ์การสักยันต์แบบเดิมไว้อยู่ดังเช่นสำนัก “นะอุตตะรัง” ตำนานที่ยังมีลมหายใจ เขี้ยวเล็บมังกรแห่งตรอกบางลำพู
ลายยันต์ของสำนักนี้ถือว่าเป็ยลายแบบต้นฉบับมิได้เปลี่ยนแปลงใดๆ คงไว้ซึ่งแบบโบราณ เอกลักษณ์ประจำสำนักจะลักษณะคล้ายรูปตัว D ที่บริเวณคอ ยันต์พระนารายณ์ ยันต์หนุมานกระทืบเท้าเป่ามนต์ และอีกหลายยันต์แต่ที่ดังอีกลายคือ มังกรพันแขน ตามประวัติลายนี้ กรมหลวงชุมพรฯพระองค์เคยสักลายนี้ในสายนะอุตตะรัง
ลำดับเจ้าสำนักสายนะอุตตะรัง
อาจารย์แสง ชัยสร (ต้นสายนะอุตตะรัง) รุ่นที่ 1
อาจารย์ปลั่ง ศรีศักดา รุ่นที่ 2
อาจารย์สมใจ ศรีศักดา (บุตรอ.ปลั่ง) รุ่นที่ 3
อาจารย์กฤษณพล กันศิริ รุ่นที่ 4
อ.ปลั่ง ศรีศักดา เจ้าสำนักสักยันต์โบราณรุ่นที่ 2 เป็นศิษย์สายตรง อ.แสง ชัยสร อีกทั้งยังเป็นศิษย์ที่ถือว่าใกล้ชิดท่านมากที่สุด เพราะได้ดูแลท่านจนวาระสุดท้ายชีวิต อ.แสงเองท่านยังมีศักดิ์เป็นศิษย์ผู้พี่ของ อ.เที่ยง น่วมมานา เจ้าตำหรับสายเหนียวแห่งฝั่งธน
อาจารย์ปลั่ง ศรีศักดา เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพชาวนาและทำเครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์มอญ เดิมชื่อ นายนนท์ ศรีศักดา เป็นอาจารย์สักอยู่ที่สุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า อาจารย์ นนท์ เรืองาม เหตุเพราะเรือที่ท่านใช้นั้นสวยงามมาก เนื่องจากท่านอาจารย์ปลั่งได้เขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆไว้ตลอดทั้งลำเรืออย่างวิจิตรงดงาม
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเดินทางเข้าสู่พระนครเพื่อรับราชการทหาร ได้มีโอกาสร่วมก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และในช่วงนี้เองที่ได้มาพบกับอ.แสง ชัยสร (สามเสน) บรมครูผู้เป็นต้นกำเนิดสายนะอุตตะรัง ด้วยแรงศรัทธาจึงขอรับการสักยันต์จากอาจารย์แสง และกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์เพื่อเล่าเรียนวิชาการสักยันต์เพิ่มเติมต่อยอดจากวิชาความรู้ที่มีอยู่เดิม
ท่านได้เรียนกับ อ.แสง ชัยสร โดยถือเป็นอาจารย์คนสุดท้ายที่ได้เรียนอยู่จนจบกระบวนการของการสักยันต์ไทยแบบโบราณ อาจารย์ปลั่งได้ปรนนิบัติดูแลอาจารย์แสง ชัยสร จวบจนท่านอาจารย์แสงสิ้นลม และอ.ปลั่งได้สักนะอุตตะรังที่คอมาตลอด นำมาเป็นสัญลักษณ์ในการสักจนเป็นลักษณะเด่นประจำสำนักเรื่อยมา
จวบจนถึงในช่วงสมัยสงครามโลกมหาเอเชียบูรพาปี พ.ศ. 2485 ในช่วงเวลานั้นได้มีการทิ้งระเบิดลงจากเครื่องบิน ทางป้อมพระสุเมรุถนนพระอาทิตย์บริเวณใกล้เคียงกับบ้านของอ.ปลั่ง ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนต่างหลบหนีจากภัยสงครามอยู่ก่อนแล้ว แต่านไม่ได้หลบหนีไปไหน แต่สวดมนต์ภาวนาอยู่ในบ้าน เมื่อท่านได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยว่าเครื่องบินกำลังจะทิ้งระเบิดจากหอสัญญาณที่ภูเขาทอง ในขณะที่เครื่องบินรบกำลังทิ้งระเบิดอยู่นั้นเอง ท่านได้ออกมาโบกธงแดง ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจของผู้คนเป็นอย่างมากเป็นอย่างมากที่ระเบิดทุกลูกที่ตกลงมานั้นไม่เกิดการระเบิดขึ้นทั้งหมด
ทำให้ผู้คนต่างเชื่อมั่นว่าเป็นเพราะอานุภาพแห่งพุทธคุณของยันต์ธงที่ท่านได้ออกไปโบกสะบัดพัด ด้วยเหตุนี้หลังสิ้นสุดสงคราม อ.ปลั่ง ศรีศักดา จึงเป็นอาจารย์สักยันต์ที่มีชื่อเสียงและโด่งดังเป็นอย่างมาก
จากคำบอกเล่าของบุตรชายของท่านคือ อ.สมใจ ศรีศักดา ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 ท่านได้เล่าให้ฟังว่าในยันต์ธงนั้นมีการลงเลขยันต์อักขระ อันได้แก่ ยันต์พุทธนิมิต และยันต์อิติปิโสแปดทิศที่ท่านอาจารย์ปลั่งเป็นผู้เขียนไว้นั่นเอง
แม้แต่พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชชื่อดังที่ปราบโจรผู้ร้ายจอมขมังเวทย์ในภูมิภาคต่างๆ ยังมาฝากตัวเป็นศิษย์สักยันต์สายนะอุตตะรัง เมื่อครั้งตอนขุนพันธรักษ์อยู่กรุงเทพ ถ้าท่านไม่เก่งไหนเลยจะยอมให้อ.ปลั่งมาสักที่ตัวได้ หรือแม้กระทั่งคนมีชื่อเสียง ตลอดทั้งเหล่าทหาร ตำรวจ คนดังๆในสมัยนั้นอีกมากมาย
คาถาประจำสำนัก
สิโลมาจะติ นะโมพุทธายะ เหยียดเบ็ง คงเบ็ง
ขอขอบคุณข้อมูล ศิษย์สายวัดสะพานสูง
ติดตามเราช่องทางอื่นได้ที่
Website www.Kidnan.com
Website www.Gejithai.com
Facbook เรื่องเล่าชาวสยาม