นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจคือจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นจังหวัดเก่าแก่ที่มีประวัตฺศาตร์มายาวนาน โดยในวันนี้จะขอกล่าวถึงท่าน ผู้ทำคุณงามความดี
เจ้าพ่อขุนตาน มีพระนามเดิมว่า พญาเบิก เป็นเจ้าเมืองเขลางค์นครและเจ้าเมืองเวียงต้าน เป็นราชบุตรของพญายีบาเจ้าเมืองหริภุญชัยในราชวงค์จามเทวี ในปีพุทธศักราช 1814 กองทัพพญามังราย เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองฝาง ได้ยกไพร่พลมาตียึดเมืองหริภุญชัย พญายีบาจึงได้เสด็จพึ่งอาศัยบารมีพญาเบิกซึ่งเป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นคร
พญาเบิกได้สะสมไพร่พลสร้างเมืองเวียงต้าน เพื่อป้องกันบ้านเมืองใกล้ทิวเขาสูงใหญ่ซึ่งปัจจุบันคือหมู่ 5 บ้านหัววัง ตำบลเวียงตาล ร่องรองการเดินทัพของพญายีบา พญาเบิก และพญามังราย ในการสู้รบกาลครั้งนั้น ยังคงเหลือร่องรอยอยู่บนทิวเขาดอยขุนตานตราบจนถึงบัดนี้
เช่น แนวขุนห้วยส้าน ทิวเขาเขตอำเภอแม่ทา ซึ่งมีห้อนหินวางเรียงรายสองฟากฝั่งตลอดแนว ดุจถนนบนภูเขา จนถึงดอยกู่พญายีบา (พญายีบาร้องไห้ด้วยความเสียใจ ที่เห็นเมืองหริภุญชัยถูกไฟไหม้)
พญาเบิกเป็นยอดนักรบที่มีความ คงกระพันชาตรี และมีกุศโลบายในการวางแผนการรบ ซุ่มลี้พลตามแนวเขารบแบบกองโจร ก่อกวนกองทัพพญามังราย ที่จะตีให้เข้าถึงเมืองเขลางค์นครได้ยากยิ่ง นับว่าทรงอัจฉริยะและมีความล้ำเลิศในการวางแผนในการรบ
พญาเบิกเสียทัพอย่างหมดทาง จนถูกศัตรูจับได้ แต่ศาสตราวุธใดๆก็มิอาจทำอันตรายได้เนื่องจากท่านมีวิชา ความคงกระพันชาตรี โดยความเชื่อของคนโบราณแล้วใครที่หนังเนียวฟันแทงไม่เข้า จึงมีอีกวิธีหนึ่งโดยทหารพญามังรายจึงนำตัวพญาเบิกไปขุดหลุมฝังกลบทั้งเป็นจนสิ้นพระชนม์ ณ ยอดดอยบนทิวเขา ปัจจุบันเรียกว่า ดอยพญาลำปาง อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน บ้านแม่ยามเหนือ ตำบลเมืองยาว และบ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ชาวอำเภอห้างฉัตรพร้อมใจกันก่อสร้างอนุสาวรีย์ เจ้าพ่อขุนตานเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2528 ในวันนี้ทุกปีจะมีการจัดประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อขุนตาน ตามพิธีกรรมล้านนา ณ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน เพื่อเป็นเกียรติประวัติและระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน