หลวงปู่หิน ปภังกโร พระสงฆ์ที่เปี่ยมด้วยบารมีธรรม ผู้มีอายุถึง 135 ปี

หลวงปู่หิน ปภังกโร พระสงฆ์ที่เปี่ยมด้วยบารมีธรรม ท่านมรณะภาพเมื่อกลางดึก ของคืนวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๓ ขณะอายุได้ ๑๓๕ ปี ซึ่งท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗

“สาธุ ให้ข้าพระพุทธเจ้าจงอยู่ดีมีสุข มีร่างกายแข็งแรง” นั้นเป็นคําอธิษฐานของ หลวงปู่หิน เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนิน ไปยังจังหวัดอุดรธานี ผ่านอําเภอน้ำพอง ที่หลวงปู่หินมีโอกาสคอยรับเสด็จ

ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่หินมีอายุประมาณ ๑๒ ปี ครั้นขบวนรถ ม้าเสด็จผ่านสะพานไม้ลําน้ำพอง หลวงปู่จึงยกมือขึ้นเหนือศีรษะแล้วอธิษฐานดังกล่าวมา

เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หากใครที่ เคยไปกราบไหว้หลวงปู่แล้ว จะทราบซึ่งในธรรมเมตตา ของหลวงปู่อย่างยิ่ง เพราะแม้หลวงปู่หินอายุมากและต้องการพักผ่อนตามวัยที่ชราภาพ แต่หลวงปู่ก็เปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกระดับชั้นเข้าไปกราบไหว้ท่านได้ถึงกุฏิ หลวงปู่

บางครั้งหลวงปู่จะเป็นฝ่ายทักทาย ผู้ศรัทธาที่เข้าไปกราบไหว้ก่อนด้วยใบหน้าที่ ยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งบารมีธรรมดังกล่าวเป็น ที่ประจักษ์แก่เหล่าศิษย์ใกล้ชิดว่าตั้งแต่เคย อุปฎฐากหลวงปู่ ยังไม่เคยพบว่าหลวงปู่ แสดงอาการโกรธสักครั้ง หลวงปู่จะอารมณ์ ที่อยู่ตลอดเวลา ยิ้มแย้มและไมตตากับทุก คนโตยเสมอภาค

หลวงปู่หิน ปภังกโร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู พ.ศ.๒๔๐๗ ในสมัยรัชการที่ ๕ ที่บ้านกุดกว้าง ตําบลกุดน้ำใส อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีนามเดิมว่า หิน คำอ้อ เป็นบุตรคนเดียวของ นายสีลา-นางคํามี คำอ้อ ไม่มีพี่น้อง

บวชเณรเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ที่บ้านโคกแสง ตําบลหนองกุง อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีเจ้าอาวาสวัดท่าน้ำ พอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงปู่ท่านเป็นคนชอบหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา การบวชที่วัดท่าน้ำพอง

ท่านได้ศึกษาและบําเพ็ญตนตามหลักธรรมที่พระ พุทธเจ้าได้วางแนวทางไว้อย่างเคร่งครัด เสมอต้นเสมอปลายมาตลอด การบวชครั้งแรกหลวงปู่หิน ได้ลาสิกขาเข้าสู่วิถีชีวิตของฆราวาสเมื่ออายุได้ ๓๓ ปี มีครอบ ครัวตามสามัญชนทั่วไป

การครองตนอยู่ในเพศฆราวาส หลวงปู่หินไม่ได้หลงกับสรรพกิเลสตามวิถีโลก ยังครองตนตามหลักธรรมที่ได้เรียนมา มีชีวิตที่เรียบง่าย พร้อมกับ อบรมสั่งสอนบุตร-ธิดาให้เป็นคนดีตามแบบอย่างอริยชนพึงปฏิบัติ ซึ่งหลวงปู่มีบุตร-ธิดา รวมกัน ๑๒ คน

หลวงปู่หินกลับเข้ามาบวชอีกเป็นครั้งที่สอง เมื่ออายุได้ ๘๕ ปีแล้ว แม้จะชราภาพมากแล้ว แต่ก็ไม่ทอดทิ้งธุระในการแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ที่บรรพชิตพึงปฏิบัติซึ่งหลวงปู่หิน ได้ตั้งปณิธานเด็ดเดี่ยวที่จะ ออกรุกขมูลตามสถานที่วิเวก เพื่อปฏิบัติธรรมให้บังเกิดผล ถึงปฏิเวธธรรมที่ตั้งใจไว้

ประสบการณ์การออกรุกขมูลของหลวงปู่ ได้ออกเดินธุดงค์ไปในพื้นที่ภาคอีสานในเขตจังหวัดขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครพนม และเลยเข้าไปถึง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งการเดินธุดงค์เข้าไปสปป.ลาวนี้เองที่หลวงปู่ ได้พบพระอาจารย์ที่สอนแนวทางการปฏิบัติ

ให้ คือพระมหาปาน อานันโท ที่วัดป่าบก นครเวียงจันทน์ โดยให้พิจารณาธรรมานุสติเป็น หลักอบรมจิต หลวงปู่เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ ชิตว่าหลังจากพิจารณาธรรมานุสติ จนจิตสงบแล้ว จะสามารถสัมผัสกับโลกอีกมิติได้ แม้ญาติพี่น้องที่ได้เสียชีวิตไปแล้วก็สามารถพบเห็นได้

การออกธุดงค์ตามป่าเขา ท่านไปคนเดียวเพราะมีนิสัยสันโดษ การผจญภัยกับสัตว์ป่านั้น ครั้งหนึ่งท่านเคยพบโขลงช้างประมาณ ๑๐ เชือกที่มาหากินใกล้กับสถานที่ที่หลวงปู่กําลังปฏิบัติธรรม การพบกับสัตว์ใหญ่ขนาดนั้นในครั้งแรกท่านก็ตกใจเหมือนกัน แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

ท่านจึงกําหนดจิตแผ่เมตตาให้กับ ช้างเหล่านั้นและเป็นที่อัศจรรย์แม้ช้างเหล่านั้น จะเดินเข้ามาหาท่าน แต่หาได้ทําร้ายท่านไม่ รวมระยะเวลาที่ปฏิบัติธรรมในสปป.ลาว ประมาณ ๓ ปี ๒ เดือน จึงเดินทางกลับประเทศไทย ทางฝั่งอําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และได้นมัสการพระธาตุพนม

ท่านเคยเดินธุดงค์กับพระป่ากรรมฐานที่มีชื่อเสียงหลายรูป ที่หลวงปู่ได้เมตตาเล่าไว้ คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น และในระยะที่หลวงปู่ธุดงค์ในจังหวัดสกลนครนี่เอง หลวงปู่หินมีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ขอฝึกวิปัสสนากรรมฐานเป็น ระยะเวลา ๑๐ วัน โดยหลวงปู่มั่น ได้ขอให้หลวงปู่แปรญัตติ เป็นพระฝ่ายธรรมยุตินิกาย เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติตามแนวทางพระป่ากรรมฐาน แต่ หลวงปู่พึงพอใจในวัตรปฏิบัติของพระฝ่ายมหานิกาย จึงไม่ได้แปรญัตติและกราบลาพระอาจารย์มั่น ออกเดินธุดงค์ต่อไป

หลังจากทําความเพียร ออกรุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ เพียงพอต่อการขัดเกลากิเลส หลวงปู่ จึงได้เดินทางกลับมายังถิ่นเกิด ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อ สงเคราะห์ญาติพี่น้อง ตลอดจนพัฒนาศาสนสถานให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนส่วนรวม เมื่อท่านอายุได้ ๑๐๐ ปี รวมระยะเวลาที่ หลวงปู่ออก เดินธุดงค์ทั้งภาคอีสานและ สปป.ลาวเป็นระยะเวลา ๑๔ ปี

ที่ท่านหลวงปู่หินมีอายุยืนยาวถึง ๑๓๕ ปี หลวงปู่ เคยเล่าว่า เป็นผลมาจากกรรมที่ท่านสร้างไว้ ท่านได้ทํากรรมดี สร้างสมคุณงามความดี ไว้มาก นอกจากนี้ในการปฏิบัติของท่าน

ท่านจะมีอารมณ์ดีตลอดเวลา การขบฉัน ท่านจะไม่นอาหารดิบ ไม่ฉันเนื้อหมู เนื้อวัว แต่ฉันเนื้อปลา อาหารหลักส่วนใหญ่จะ เป็นผักและผลไม้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง กล้วย เป็นต้น แม้ท่านจะมีอายุยืนเกิน ๑๐๐ ปี แต่ท่านไม่เคยหวั่นเกรงต่อความ ต า ย ที่อาจเกิดกับท่านเมื่อใดก็ได้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ท่านเคยนิมิตว่าจะละสังขาร จึงดําริให้มีการสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่านไว้ล่วงหน้า

เหตุการณ์ที่น่าเหลือเชื่อ เกิดขึ้นในช่วงงานฉลองโบสถ์ ผูกพัทธสีมา และงานฌาปณกิจถวายเพลิงศพ
ในคืน วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ ช่วงเวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น.

เกิดอุบัติเหตุ ไฟลุกไหม้ หน้าหีบแก้ว ใกล้กระถางธูปเทียน แล้วลุกลามไหม้แผ่นไม้โดยรอบ จนมีผู้มาพบเห็น สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือ ผ้าลูกไม้ลายดอกและไม้ที่กั้นวัตถุมงคลของหลวงปู่ ไม่โดนไฟไหม้เลยแม้แต่น้อย สร้างความศรัทธาอย่างแรงกล้าในวาระสุดท้ายของหลวงปู่ แต่การฉลองโบสถ์ ผูกพัทธสีมาและการฌาปณกิจถวายเพลิงศพก็เสร็จสมบูรณ์

แม้วันนี้หลวงปู่หิน ปภงฺกโร ได้ละสังขารไปนานแล้ว กาลเวลาอาจทำให้ความทรงจำลบเลือนไปบ้าง แต่คุณงามความดีที่หลวงปู่ได้สร้างไว้ ธรรมมะที่ท่านให้ไว้ แบบแผนการปฏิบัติ ธุดงค์วัตร ธรรมวินัย

ที่ท่านทำเป็นแบบอย่าง จะยังคงอยู่ในใจลูกศิษย์ สาธุชน ที่ได้มาพบเห็นทีหลัง ที่มารู้จักทีหลัง ให้ได้ซาบซึ้งในพระคุณแห่งพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรสของจริง คณะศิษย์ขอน้อมบูชาพระคุณด้วยความดีงามและกราบอนุโมทนาบุญของหลวงปู่หิน ปภงฺกโร ตั้งแต่อดีตชาติ จนบัดนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า