ปาฎิหารย์ หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก (บุรีรัมย์)

“พระอุปัชฌาย์เพียร” หรือ (หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก) ประวัติของท่านเลือนลางลงมาก ในปัจจุบันนี้ ที่พอได้เห็นก็มีเพียงรูปถ่ายบูชา ส่วนเนื้อหาของประวัติท่านต่างๆ ไม่ค่อยหาอ่านได้เท่าใดนัก

“พระอุปัชฌาย์เพียร” หรือ (หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก) ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือนพฤษภาคม ปีมะแม พ.ศ.๒๔๑๓ (ไม่ทราบนามบิดามารดา) เมื่อท่านมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ท่านก็ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ (ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์) มีฉายาในพุทธศาสนาว่า “สีลวิสุตโต”

หลวงพ่อเพียร ท่านเป็นศิษย์ของ (พระอาจารย์อินทร์) พระธุดงค์ชาวเขมร เดิมอยู่เมืองศรีโสภณ อพยพเข้ามาอยู่ประเทศไทยเมื่อครั้งไทยเราเสียแผ่นดินในการปกครองให้แก่ ฝรั่งเศส พระสงฆ์ที่เดินทางเข้ามาในครั้งนั้น หลายท่านเป็นผู้ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นที่ศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไปเป็นอย่างสูง เช่น (หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม) แปดริ้ว, (หลวงพ่อบุคโล วัดบ้านแซร์ออ) จ.สระแก้ว ส่วน (พระอาจารย์อินทร์) ได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว

พระสหมิกธรรมของหลวงพ่อเพียร ในระหว่างที่ได้ศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับพระอาจารย์อินทร์อยู่นั้นมี (หลวงพ่อเอ้ ประโคนชัย), (หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง), (หลวงพ่อมั่น วัดตาจง) อ.ประคำ, (อาจารย์ทอง วัดแข้หมาก) อ.ประโคนชัย, (หลวงพ่อเป็น วัดยายคำ) โดยนอกจากสำเร็จอภิญญาแล้ว ท่านยังมีพุทธคมทางด้านคงกระพัน วิชาการย่นระยะทาง และวิชาต่างๆเช่นเดียวกับ (หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง)

หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก ท่านนี้ก็ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มาร่วมปลุกเสก (เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร) และแหวนยันต์มงคล เป็นหนึ่งในเก้าองค์สำคัญที่นั่งปรกปลุกเสกในพระอุโบสถ ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรกกฎในพิธีดังกล่าว กล่าวคือ

ในพิธีพุทธาภิเษก พระภิกษุ ที่มีพุทธาคม และพลังจิตสูง ๙ รูปจะนั่งปรกอยู่ในพระอุโบสถ ปิดลั่นประตู หน้าต่างเป็นมหาอุตม์ ข้างนอกจะมีพระภิกษุที่มีพุทธาคมและพลังจิตสูงนั่งล้อมรอบพระอุโบสถอีกชั้น หนึ่งจำนวนหลายรูป เป็นที่น่าอัศจรรย์เมื่อ (หลวงพ่อเพียร) ท่านนั่งปรกปลุกเสกเสร็จท่านก็ออกจากอุโบสถ์ได้ ทั้งที่ประตูโบสถ์ได้ลั่นกุญแจปิดอยู่ พระภิกษุด้านนอกได้ถามหลวงพ่อท่านออกมาได้อย่างไร หลวงพ่อท่านได้แต่ หัวเราะ ฮึ ฮึ แล้วตอบว่า “ก็ฉันเสกให้เสร็จแล้วจ๊ะ”

หลวงพ่อเพียร ท่านก็ได้รับอาราธนานิมนต์จาก (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) ให้ท่านมาร่วมปลุกเสก เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคล โดยอาราธนานิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศในด้านวิชาอาคมขลัง

หลวงพ่อเพียรท่านได้รับนิมนต์มาร่วมปลุกเสกในครั้งนี้ร่วมกับพระคณาจารย์ รุ่นเก่าองค์อื่น ๆ อาทิเช่น (หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา), (หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก), (หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม), (หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้), (หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ), (หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่), (หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู), (หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง) เป็นต้น ในเขตภาคอีสานนี้ได้รับอาราธนานิมนต์มาเพียง ๒ องค์เท่านั้น คือ ๑. (หลวงพ่อเสี่ยง วัดเสมาใหญ่) จ.นครราชสีมา และ ๒. (หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก) จ.บุรีรัมย์

หลวงพ่อเพียรท่านมี สหธรรมิก อยู่ ๒ องค์ คือ (หลวงพ่อเทิ่ง วัดตาเป๊ก) อ.เฉลิมพระเกียรติ (อ.นางรองเก่า) และ (หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง) อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ทั้งสององค์นี้ท่านรักใคร่สนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ”

“หลวงพ่อเพียรเมื่อตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องวิทยาคม คาถาอาคมขลัง ท่านจะทำให้เฉพาะผู้ที่ไปขอจากท่านเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ หรือปลุกเสกสิ่งของที่เป็นวัตถุมงคลอื่น

ชาวบ้าน ญาติโยมในสมัยนั้น มักนำนกยูง บ้างก็นำลิง ชะมด หมูป่า มาถวายท่าน ท่านก็เลี้ยงเอาไว้ท่านปล่อยเลย แต่สัตว์เหล่านี้ก็ไม่หนีไปไหน สำหรับหมูป่านั้น ท่านเอาเหล็กจารลงเล็บให้มัน ชะมดท่านเอาผ้าเหลืองขวั้นเป็นเชือกผูกคอให้มัน ทั้งหมูป่าและชะมดชอบออกไปลักของชาวบ้านกินเรื่อย ๆ บ้างครั้งก็กินไก่บ้าง กินเป็ดบ้าง ชาวบ้านเขาก็ ยิ งเอาแต่ ยิง ไม่ออก

ในตอนสงครามอินโดจีนที่ไทยรบกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เรื่อยมาจนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้คนก็ต่างหลั่งไหลมารขอของดีจากท่านเอาไว้ป้องกันตัว รวมทั้งทหารที่จะไปรบด้วย ต่างก็แห่กันมาให้ท่านรดน้ำมนต์ บ้างก็มาให้ท่านลงเหล็กจารตามตัวแล้วทาตัวด้วย น้ำมันงา เพื่อให้คงกระพันชาตรี

มีเรื่องเล่าว่า สมัยนั้น (หลวงพ่อเพียร) ท่านได้ทำตะกรุดหนัง จำนวน ๙ ดอก เป็นตะกรุดหนังลงจารมือม้วนทบรอบ เป็นเอกลักษณ์ของท่าน ตะกรุดหนัง หลวงพ่อเพียร เป็นตะกรุดที่คนต่างแสวงหา และ คือที่สุดของตะกรุดหนัง เพราะสร้างในจำนวนน้อยมาก พุทธคุณเด่นด้าน คงกระพันชาตรีเป็นเลิศ

หลวงพ่อเพียร วัดถนนหัก ท่านถึงแก่มรณะภาพลงเมื่อ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ สิริอายุรวม ๗๕ ปี ๕๕ พรรษา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า