หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย จังหวัดระยอง (พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ) เป็นพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิชาไสยศาตร์ โหราศาตร์ เเละเเพทย์เเผนโบราณ องค์หนึ่งในภาคตะวันออกเป็นพระคณาจารย์สมัยหลวงพ่ออี๋ เเห่งวัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เเต่เเก่อาวุโสกว่า เเละรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี
เคยลองวิชากันเป็นที่ชื่นชอบของลูกศิษย์ในสมัยนั้น เเต่ชื่อเสียงของหลวงพ่อวงศ์มิได้โด่งดังไปไกล เนื่องจากท่านเป็นพระที่รักสันโดษ มักน้อย เเละถ่อมตัว ทำเครื่องลางของขลังออกมาน้อยนั่นเอง เเต่ว่าในเขตท้องถิ่นหรือเขตใกล้เคียง
ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้กันทั่วไปในวงการ เคยไปร่วมพิธีพุทธาภิเศกกับสมเด็จพระสังฆราชเเพ เเห่งวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพมหานครในสมัยนั้น
หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย ระยอง ที่กล่าวถึงนี้ ท่านเป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย เเละอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง จากหลักฐานที่เชื่อถือได้กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยมาตั้งค่ายอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย ก่อนจะเข้าตีเมืองระยอง
วัดบ้านค่ายตามคำบอกเล่าสืบๆกันมา ว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี สมัยนั้น ขอมยังปกครองเเถบนี้อยู่ ขอมได้สร้างวัดเเละโบสถ์ไว้
หลวงพ่อวงศ์นามเดิมชื่อ วงศ์ นามสกุล วงศ์พิทักษ์ เกิดที่บ้านหนองตาเสี่ยง ตำบล หนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 ปีมะเส็ง พศ 2400 บิดาชื่อ น้อย มารดาชื่อ เอี่ยม มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ทั้งหมด 9 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 4 มีอาชีพในทางทำนา
เมื่อหลวงพ่ออายุยังน้อย บิดาได้ตายจากไปเสียก่อน ท่านจึงได้ช่วยมารดา ทำนาเลี้ยงน้องๆโดยกู้เงินเขามาซื้อควาย เเล้วทำนาปลดหนี้กู้เขาจนหมด ในปีเดียว เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม อายุ 14 มารดาไปนำไปฝากเลี้ยงไว้ทีวัดเพื่อเรียนหนังสือ โดยนำไปฝากกับพระอาจารย์กลั่น วัดบ้านค่าย
ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนเหมือนกับสมัยนี้ ใครจะเรียนหนังสือต้องไปเรียนทีวัด จังหวัดระยองในสมัยนั้นมีสภาพเป็นป่าเกือบทั้งจังหวัด ในตัวเมืองระยองก็มีบ้านอยู่ไม่กี่หลัง ถนนหนทางก็ไม่มี มีเเต่ทางเกวียน
จะไปกรุงเทพฯ ต้องไปลงเรือที่ปากน้ำระยอง นั่งเรือกันหลายวันกว่าจะไปถึงกรุงเทพฯดังนั้นใครจะไปเรียนหนังสือจะต้องมีความมานะพยายามเป็นอย่างดี หนังสือที่เรียนก็เป็นหนังสือ ขอมไทย เเละหนังสือไทย
ความประสงค์ของกุลบุตรที่เข้ามาเรียนในวัด ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการบวชเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับหลวงพ่อเมื่ออายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดบ้านค่าย ตรงกับเดือน 8 เเปดสองหน พ.ศ 2423
ขณะนั้นอายุ 24 ปีโดยมี หลวงปู่สังข์เฒ่า ที่มีอาคมเเก่กล้า เเละเป็นผู้สร้างวัดละหารไร่เป็นพระอุปชฌาย์ พระอาจารย์ดี วัดบ้านค่ายเป็นพระกรรมาจารย์ พระอาจารย์ห่วง วัดหนองกะบอกเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชเเล้วประมาณ 8 เดือนมีเหตุการณ์ สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้หลวงพ่อเศ ร้ า โ ศ กมาก
คือเหตุเกิดขึ้นคืนหนึ่งในเดือน 4 หลวงพ่อก่อนจำวัดได้จุดธูปเทียนตามปกติ เพื่อบูชาพระก่อนจำวัด ปรากฏว่าธูปหักกลางตกลงมาไหม้ผ้าครอง หลวงพ่อวงศ์ ระยอง เขียนรำพันไว้ในประวัติของท่านว่า เมือตอนหลับ ธูปหักลงมาไหม้ผ้าครอง ร้องไห้อยู่หลายเวลา ผ้าครองเหมือนคู่บารมีเหมือนพระทีมีชีวิต เมื่อต า ย ไปเเล้ว ว า ย ปราณ
ฉันจังหันเเลไปทำจิตที่พลุ่งพล่านที่หลงไหล เลยเข้ากอไผ่หมูลำมะลอก ตอนนี้ หากไม่ได้อาจารย์ดี พระกรรมาจารย์ของหลวงพ่อมาทำน้ำมนต์ 7 บาตรรดให้เเละหมอบผ้าครองใหม่ให้เเล้ว น่ากลัวว่าหลวงพ่อคงจะลาสิกขา จังหวัดระยองคงจะขาดอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษไปองค์หนึ่ง
หลวงพ่อวงศ์ ระยอง ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดบ้านค่าย จนถึงพรรษาที่ 10 ประมาณปี พศ 2433 พระอาจารย์ดี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านค่ายได้มรณภาพลง พระยาศรีสมุทรโภคโชคชัยชิตสงคราม ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในสมัยนั้น จึงมอบให้หลวงพ่อเป็นผู้รักษาวัดบ้านค่าย
ต่อมา พระครูสมุทรสมานคุณเจ้าคณะจังหวัดระยองในสมัยนั้น ได้เเต่งตั้งให้ หลวงพ่อวงศ์ ระยอง เป็นเจ้าอธิการวัดบ้านค่าย มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองวัดบ้านค่ายโดยสมบูรณ์ ในปีพศ 2446 หลวงพ่อวงศ์มีพรรษาได้ 24 พรรษา อายุ 46 ปี
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมัยดำรงค์สมณศักดิ์ เป็นที่ พระสุคุณคณาภรณ์ เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ได้นัดพระเถระผู้ใหญ่ รวม 20 วัดที่วัดเก๋ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อเเต่งตั้งให้ หลวงพ่อวงศ์ ระยอง ดำรงตำเเหน่งเจ้าคณะเเขวงอำเภอ บ้านค่าย
ในวันเเรก ท่านไม่ยอมรับ ท่านเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ก็ยังไม่ยอม ให้พระผู้ใหญ่ซึ่งมาประชุมในวันนั้นกลับไปก่อน เเละนัดให้มาประชุมใหม่ในวันรุ่งขึ้น
วันรุ่งขึ้น ฉันเช้าเเล้ว ตีระฆังเข้าประชุมในโบสถ์วัดเก๋งพร้อมกันเเล้ว ท่านเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ได้ประกาศต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ทั้งหมดว่า ท่านวงศ์ ฉันให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างคือ
1 ให้รับ
2 .ให้สึก
3 ให้ไปเสียต่างเมือง
เมื่อหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ถูกยื่นคำขาดเช่นนี้ หลวงพ่อวงศ์ ระยอง จึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมรับเมื่อหลวงพ่อยอมรับพระสงฆ์ทั้งหมด ซึ่งมาประชุมกัน ณ ที่นั้น ก็สวดชะยันโต เเละอนุโมทนาสาธุขึ้นพร้อมกัน
เป็นอันเสร็จพิธีเเต่งตั้งเจ้าคณะเเขวงบ้านค่าย หรือ เจ้าคณะอำเภอบ้านค่ายปัจจุบัน นับว่า หลวงพ่อวงศ์เป็นเจ้าคณะเเขวงองค์เเรกของ อำเภอบ้านค่าย มีวัดในเขตปกครองของอำเภอบ้านค่าย 16 วัด