อภินิหาร หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา

หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ หรือท่านพระครูพุทธสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ (กบเจา)ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ท่านเป็นพระที่สมควรเคารพกราบไหว้องค์หนึ่ง…หลวงปู่บวชเป็นสามเณรตั้งแต่ อายุ ๑๖ ปี ลาสึกเมื่ออายุ ๒๐ ปีเพื่อสมัครเข้ารับราชการทหาร

แต่ เพราะเป็นคนรูปร่างเล็ก จึงไม่ได้เข้ารับราชการ ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ ปฏิบัติกรรมฐานในป่าดงดิบมาโดยตลอด

จนมีอายุมากขึ้นจึงได้หยุดเดิน ธุดงค์ และด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคม ส่งผลให้ท่านก้าวขึ้นเป็น “ที่พึ่งทางใจ” ให้กับลูกศิษย์และญาติโยมได้ทุกเรื่อง

“ฉันมีความรู้สึกว่า เราเป็นพระใครก็ว่าพระเป็นแต่ผู้รับของจากญาติโยมอย่างเดียว ไม่ได้ให้อะไรตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันที่เป็นรูปธรรมเลย
ให้แต่ศีล ให้แต่ธรรม เป็นนามธรรมทั้งนั้น ฉันจึงต้องแสวงหาวิชาเพื่อตอบแทนญาติโยม อย่างเช่นการรักษาโรค การรักษาพวกข า หั ก….”

หลวงปู่เมี้ยน ถือกำเนิด ณ บ้านหาดทราย (บ้านเจ๊ก) หมู่ ๙ ตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ข้างขึ้น พุทธศักราช ๒๔๖๐ ท่านเป็นบุตรคนที่สามของคุณพ่อแก้ว คุณแม่ทองม้วน นามสกุล เกิดโภคทรัพย์

บิดาของท่านเป็นหมอยากลางบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแผนโบราณ สามารถวินิจฉัยโรคและวางยาให้ตรงกับโรค เรียกได้ว่าหากใครหาหมอที่ไหนรักษาไม่ได้แต่ถ้าหามมาให้หมอแก้วแล้วเป็น หายกลับไปทุกราย
การรักษาโรคด้วยความรู้และมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง และดำเนินชีวิตด้วยความอ้อนน้อมถ่อมตน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวบ้านจะเรียกท่านว่า ..”หมอแก้วเทวดา”
คำพังเพยโบราณกล่าวไว้อย่างชวนคิดว่า …”ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”….และ….”สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ

ด้วยความที่เด็กชายเมี้ยน เห็นบิดาทำการรักษาโรคให้กับชาวบ้าน ทำให้ท่านได้ซึมซับความรู้สึกชอบในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นเด็กชายเมี้ยนจึงอาสาเข้าเป็นผู้ช่วยบิดาในการหยิบจับสมุนไพรต่างๆ มาจัดยาให้

ด้วยความที่ท่านเป็นเด็กช่างจด ช่างจำและมีความกระตือรือร้น ทำให้ท่านสามารถจดจำตัวยาชนิดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เป็นที่เชื่อถือของชาวบ้านว่า ยาของหมอแก้ว ขอเพียงให้หมอแก้วได้สั่งเท่านั้น เด็กชายเมี้ยนสามารถจัดยาเข้าชุดได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง….

“พวกที่เข้าเฝือกปูนมาจากโร งพ ย า บ าล ถ้าให้ฉันรักษา ต้องตัดเฝือกปูนออก..
เพราะการเข้าเฝือกปูนจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ที่ร้ายแรงคือแผลเน่าข้างใน ทำให้บางคนกลายเป็นเนื้อร้าย อาจถึงกับต้องตั ด ข าก็มี..

ฉัน ต้องตัดเฝือกปูนออกแล้วใช้เฝือกไม้ไผ่ยึดกระดูกแทน มันก็แน่นดีไม่แพ้เฝือกปูนแต่รักษาง่ายกว่า เอาน้ำมันหยอดชโลมได้ แผลก็แห้งเร็ว ไม่อบ ไม่ร้อน จะคันตรงไหน ก็เกาพอให้บรรเทาได้…”

หลวงปู่เมี้ยน ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์(กบเจา) ในปีพ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระครูปุ้ย ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหลิว วัดพิกุล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูหริ่ม จันทโชติ วัดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ …ได้รับฉายาว่า “พุทธสิริ” และเข้าจำพรรษา ณ วัดโพธิ์ (กบเจา) …

ถึงตรงนี้ขอแทรก”เกร็ดเรื่องคติความเชื่อ ”ของคนไทยนิดครับ….การบวชเรียนในสมัยก่อน สมัยโบราณท่านว่าการบวชนั้น ผู้ที่บวชจะต้องมีการศึกษาหาความรู้มาก่อน
กล่าวคือผู้ที่จะออกบวช จะต้องไปอยู่กับวัด ฝึกหัดปฏิบัติตามข้อวัตรของพระภิกษุสามเณรเสียก่อน มิใช่ว่าจะมาบวชกันตามประเพณีเหมือนในสมัยนี้…
ดังนั้นผู้ออกบวช จึงมักจะเป็นผู้ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเป็นที่สุด

การฝึกปฏิบัติ เช่นการกวาดลานวัด การออกบิณฑบาต การเช็ดถูศาลา การซ่อมแซมอารามที่ชำรุด สร้างทางเดิน ฯลฯ
จึงเป็นการหล่อหลอม จิตใจของผู้ที่จะบวชให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เกียจคร้าน ทำตัวว่านอนสอนง่าย รู้จักดำรงอยู่กับหมู่คณะ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ฝึกไว้เพื่อให้ไม่ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย

เมื่อเขาเหล่านั้นได้ลาสึกจากการเป็นพระแล้ว จึงทำให้มีความรู้ ความชำนาญ ในวิชาการต่างๆ เช่นช่างไม้ ช่างปูน สามารถปลูกสร้างบ้านเรือนได้
ซึ่ง นั่นก็คือการฝึกหัดในลักษณะของการเป็นวิชาชีพ นอกจากนี้บางคนยังมีความสามารถรอบรู้ไปถึงการศึกษาวิชาอาคม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ

และด้วยเหตุนี้แหละครับ “วัด” จึงเป็นเหมือน “สถาบันชั้นสูง” ของคนไทยมาอย่างยาวนาน
หลวงปู่เมี้ยน เคยเล่าให้พวกผมฟังว่า ท่านชอบออกเดินธุดงค์เพราะว่าชอบความสงบของป่า อีกอย่างที่แปลกก็คือพอกลับมาอยู่วัดทีไร เป็นต้องออกอาการป่วยไข้ทันทีแต่พอออกเดินธุดงค์กลับไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เลย

ผลพลอยได้จากการออกเดินธุดงค์ท่านได้พบครูบาอาจารย์องค์ หนึ่ง คือหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่ออินทร์ เทวดา”

คำว่าเทวดาตามความเชื่อของชาวป่า ชาวเขา พวกเราสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการเป็นผู้ที่มิวิชาอาคมแก่กล้า
ซึ่ง ก็ไม่ผิดนักเพราะหลวงปู่ท่านได้เล่าเหตุการณ์มหัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อ อินทร์

และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้หลวงปู่เกิดความศรัทธา จนต้องขอปวารณาขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอเรียนสรรพวิชาจากหลวงพ่ออินทร์

หลวงปู่เมี้ยน พุทธสิริ วัดโพธิ์ (กบเจา) ตอน น้ำมนต์ น้ำมัน มีดหมอ ชานหมาก ไม้ครู
“หลวงพ่ออินทร์ ท่านเก่งในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

ที่เห็นกับตาคือช้างป่าตัวหนึ่งถูกพรานยิงแต่ได้หลบหนีเข้าไปกลางดง
หลวง พ่ออินทร์ไปพบจึงได้รักษาโดยใช้..”น้ำ มันมนต์”….หยอดลงไปในบ า ดแ ผ ลที่ ก ร ะ สุ นฝังอยู่และเสกเป่าด้วยคาถาอาคม

ไม่นานนักลูกปืนก็ไหลตามน้ำ มนต์ออกมาอย่างน่าอัศจรรย์…”
ซึ่งใน เรื่องนี้หลวงปู่บอกกับพวกเราว่า “พลังเมตตาจิต” ของหลวงพ่ออินทร์ถือว่าเป็นเรื่องเหนือคนจริงๆ

ไม่ต้องคิดถึงการมานั่งหยอดน้ำ มันมนต์ให้ลู ก ปื นใ นตัวช้างไหลออกมาหรอก
เอา แค่ว่าช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บ ก็ต้องมีความดุร้ายมากกว่าเก่าแล้ว

แต่การที่ช้างยอมสงบให้หลวงพ่ออินทร์รักษา นั่นก็พอจะแสดงถึงอำนาจจิตของท่านแล้ว
ผมจำไม่ได้แล้วว่าตัวเอง เริ่มอ้าปากค้างตั้งแต่เมื่อไร แต่ก็คงจะใกล้ๆกับที่ความสนใจในเรื่องของช้างป่าจบลงนั่นแหละ…ดูเหมือนว่า พอพวกเราฟังจบ
ความวุ่นวายสาระวนในการขยับเข้าไปใกล้หลวงปู่จึงเกิดขึ้น อาจเป็นเพราะหลวงปู่เมี้ยนท่านกำ ลังขยับตัวเพื่อจะหยิบตะบันหมาก

จะ ว่าไปแล้วเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนที่เคยได้ยินกิติศัพท์ของหลวงปู่เมี้ยน ย่อมจะจำ ได้ว่าวัตถุมงคลขมังเวทย์เปี่ยมประสบการณ์ที่ขึ้นชื่อของท่านคือ “ชานหมาก..”
เมื่อเอ่ยถึง “ชานหมาก” บางคนอาจไม่เข้าใจว่าทำ ไมพวกเราถึงให้ความสนใจกับมันมากนัก ขอเรียนว่าหากมันเป็นชานหมากธรรมดาของตาสีตาสา พวกเราก็คงจะเมินเฉย

แต่ชานหมากที่คายออกจากปากของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างหลวงปู่เมี้ยนมันคือ”ของวิเศษขนานดี..” สำหรับพวกเราทีเดียว
เอา เป็นว่าเมื่อยามที่ขุนอิน แห่งโหมโรง ขยับตีระนาด เสียงของระนาดช่างไพเราะจับใจ แต่ในบริบทแบบนี้ความไพเราะที่ว่านั้น ยังสู้เสียงของชานหมากที่หล่นลงกระทบกระโถนไม่ได้เลย…ว่ากันขนาดนั้น

ชาน หมากของหลวงปู่ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุด ผมเคยเห็นบางคนที่เขาศรัทธาหลวงปู่จริงๆ พอชานหมากของหลวงปู่คายออกจากปาก..
ผู้รับก็ใส่ปากกลืนลงไปเลยต่อ หน้าต่อตา เรียกว่าให้ซึมซาบลงไปในเนื้อหนังอยู่กับตัวเองตลอดไป

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า