นํ้ามนต์ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามอาบ หลวงปู่ทอง วัดเขากบ

ท่านเป็นพระมหาเถราจารย์ที่ทรงคุณวิเศษ มีวิชาเข้มขลัง เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ทุกหมู่เหล่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ศักดิ์สิทธ์มาก แต่จะเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ให้อธิษฐานแล้วให้ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามใช้อาบโดยเด็ดขาด

กล่าวถึง 10 สุดยอดพระเกจิแห่งสยาม ซึ่งมีท่าน เป็น 1 ใน 10 รูปนั้นด้วย
“พลังจิตแก่กล้า-อาคมขลัง”
เรื่องราวที่เล่าขานนี้เป็นความจริงที่ปรากฏและเป็นตํานานแห่งความเข้มขลัง ของอดีตพระเกจิของแผ่นดินสยาม และปัจจุบันเชื่อว่าคงหาเกจิรูปใดเทียบเคียงบุญญาบารมีและอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ได้ยากยิ่ง

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2452 สมเด็จพระสังฆราช (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงมีพระดำริในการทดสอบพลังจิตและความเข้มขลังของพระเกจิทั่วสยามประเทศขึ้น ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม นัยว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ “พระดี-เกจิดัง”

ในสายวิปัสสนากัมมัฏฐานและเฟ้นหา “สุดยอดพระเกจิ” (ตามประวัติน่าจะมีเพียงครั้งเดียว) โดยนิมนต์พระเถรจารย์และเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศมา ชุมนุมมากกว่า 100 รูป
งานนี้เรียกได้ว่า “พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม” ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ก็คงไม่ผิดนัก
ในพิธีมีการทดสอบวิทยาคมและพลังจิตอย่างเข้มขลัง

โดยคัดเลือกเกจิอาจารย์ครั้งละ 10 รูป ด้วยวิธีจับสลาก จากนั้นนำท่อนไม้ 1 ท่อน มาวางบนม้า 2 ตัว จากนั้นนำกบไสไม้วางบนท่อนไม้ โดย สมเด็จพระสังฆราช (เข) ทรงบอกกติกาว่า เกจิทุกรูปจะต้องใช้พลังจิตบังคับให้กบไสไม้วิ่งไสไม้ไป-กลับโดยกบห้ามหล่น ลงมาเด็ดขาด

หากใครพลังจิตแก่กล้าจริงก็จะสามารถทำได้ หากใครพลังจิตยังไม่สุดยอดก็ต้องยอมล่าถอยไป ปรากฎว่าหลังการทดสอบผ่านไป 3 วัน 3 คืน เกจิส่วนใหญ่ใช้พลังจิตบังคับกบวิ่งไสไม้ได้ทั้งนั้น แต่บังคับวิ่งไปข้างหน้าได้ทางเดียว บังคับกลับไม่สำเร็จ

พระเถระผู้เฒ่าจากนครสวรรค์ หลวงพ่อทองวัดเขากบ ประวัติท่านไม่ค่อยมีใครรู้มากนักเนื่องจากท่านเป็นพระค่อนข้างเก็บตัวไม่ ได้ออกเครื่องรางของขลัง ทำให้ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก

ท่านเป็นพระยุคเก่ารุ่นเดียวกับหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า แม้หลวงพ่อเดิมยังนับถือ ยังมาปลุกเสกเหรียญรุ่น1ให้ท่าน ท่านสร้างวัตถุมงคลอยู่ไม่กี่อย่างแต่ละอย่างล้วนหายากเล่นยาก รูปท่านี้เป็นรูปเดียวที่ท่านให้ถ่ายรูปยังไม่เคยเห็นรูปท่านในท่าอื่นเลย

วัตถุมงคลรุ่นหลังๆแม้ไม่ทันท่าน ประสบการณ์ดีเหลือเกินโดนกันมาเยอะ เศรษฐีนครสวรรค์ท่านหนึ่งเคยโดนยิงไม่เข้าคล้องเหรียญรุ่น 2 องค์เดียวไม่ทันท่านปลุกเสกด้วย รูปกระจกรุ่นนี้เคยได้ยินคนเก่าๆบอกว่าทันท่าน กระจกบางมาก
วัดวรนาถบรรพต (วัดกบ) ตั้งอยู่บนถนนธรรมวิถี ตำบลปากน้ำโพ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือวัดวรนาถบรรพตบนพื้นที่ราบ และ บนเขากบ ซึ่งเป็นเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่หน้าเทศบาลนครนครสวรรค์ไม่ห่างไกลจากพื้นที่ราบเท่าใดนัก
แต่ทั้ง 2 แห่งเป็นวัดเดียวกันมีโบราณสถานน่าสนใจอยู่หลายสิ่ง คือภายในบริเวณวัดบนพื้นที่ราบมีเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาหรือทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ลักษณะแบบศิลปะสุโขทัย,พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ยาวประมาณ 10 วาเศษ ในพระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ส่วนบนยอดเบฃขากบนั้นมีรอยพระพุทธบาทจําลอง (รอยเท้าซ้าย) ประดิษฐานอยู่

ซึ่งวัดวรนาถบรรพตมีหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 20 ค้นพบโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อปลายปี พ.ศ. 2464 ที่ยอดเขากบ ปัจจุบันกรมศิลปากรนําไปเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวิชิรญาณ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ

จากข้อความในศิลาจารึกนั้นกล่าวถึงพญาบาลเมืองสร้างวัดที่เมืองปากพระบาง มีเจดีย์วิหารขุดตระพัง ปลูกบัวนานาพรรณเพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในรามอาวาส สร้างพุทธปฏิมาดูงามนักหนาในวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ พญารามผู้น้องซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลง ณ เมืองพระบาง

ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองนั้น ตามหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 พบที่เมืองนครชุม กำแพงเพชร กล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) นํารอยพระพุทธบาทจลองที่ทางลังกาทวีปนํามาบรรณาการแก่ สุโขทัย 2 รอยด้วยกันโดยรอยซ้ายให้ประดิษฐานไว้มี่ยอดเขาปากพระบาง ส่วนอีกรอยหนึ่งนั้นนําขึ้นไปยังเมืองสุโขทัยประดิษฐานไว้ที่วัดกระพังทอง

ซึ่งยังคงมีหลักฐานอยู่จนทุกวันนี้
รอยพระพุทธบาทจำลองปัจจุบันยังคงให้ประชาชนสักการบูชาในวิหารบนยอดเขากบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ,พระพุทธรูปหิน ปางนาคปรก สมัยเชียงแสน เป็นต้น

ในส่วนของการสร้างวัดวรนาถบรรพตหรือวัดกบนั้นมีตํานานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งประมาณปี พ.ศ. 2415 มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ทอง เดินทุดงค์มาปักกรดอยู่ข้างหมู่บ้านเชิงเขา ทุกเช้าหลวงพ่อทอง จะเดินออกบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ทั่วไป

จนวันหนึ่งหลวงพ่อทองไปพบเจดีย์ใหญ่เก่าแก่มาก หลวงพ่อสนใจมากตรงไปที่บ้านเล็กๆพบสองตายายจึงถามว่า “โยมชื่ออะไร ที่ดินแปลงนี้เป็นของใคร” ตาตอบหลวงพ่อว่า “พระคุณเจ้า ตัวชื่อ ตากบอยู่ด้วยกันกับยายเขียด ที่แห่งนี้เป็นของฉันเองมีอยู่ร้อยไร่เศษกว้างคลุมยอดเขานั่นเทียว ส่วนเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์เก่าแก่ชาวบ้านแถบนี้นับถือกันมากหากหลวงพ่อจะใช้ที่ดินแห่งนี้เป็นที่พํานักฉันก็ยินดีถวายให้เป็นที่สร้างวัดเพราะฉันกับยายก็แก่มากแล้ว”

หลวงพ่อทองได้รับถวายที่ดินจากตากบ-ยายเขียด ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้นอีกเพื่อชาวบ้านใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ต่อมาตากบ-ยายเขียดถึงแก่ ก ร ร มแล้วหลวงพ่อทองจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดทั้งที่ราบและบนยอดเขาเป็นที่ดินของวัด

และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดเขากบ” ตามชื่อของเจ้าของที่ดิน หลังจากการฌาปนกิ จ ศ พ ตากบ-ยายเขียดแล้วหลวงพ่อยังให้ช่างปั้นรูปจําลองตากบยายเขียดไว้ที่หน้าบุโบสถจนกระทั่งทุกวันนี้

เนื่องจากในสมัยนั้นเชิงเขากบเป็นป่าสักมากมายหลวงพ่อจึงตั้งชื่อว่า “เขากบทราวสีจอมคีรี ณ ป่าสัก” ซึ่งต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อดีตอธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพฯ สมัยนั้นท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลเห็นว่าวัดกบ ตั้งอยู่เชิงเขาจึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น วัดวรนาถบรรพต ซึ่งอธิบายได้ว่า คำว่า วร แปลว่า ยอดเยี่ยม,ประเสริฐ นาถ แปลว่า ที่พึ่ง ส่วน บรรพต แปลว่า ภูเขา

รวมความแปลได้ว่า ภูเขาซึ่งเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า วัดกบ และวัดเขากบ จนติดปากมาทุกวันนี้
นอกจากนี้ที่วัดเขากบนักท่องเที่ยวจำนวนมากยังคงเดินทางมานมัสการหลวงพ่อทอง เกจิอาจารย์มีชื่อทางอาคมที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วย

หลวงพ่อทองหรือหลวงปู่ทองป็นอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดวรนาถบรรพต ท่านมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน แม้จะมรณภาพไปนานแต่ก็เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป อีกทั้งชื่อเสียงของหลวงปู่ทองที่มีอาคมขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยังเลื่องลือจนปัจจุบัน

โดยมีเรื่องเล่าขานถึงหลวงปู่ทองมากมาย อาทิ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านขึ้นไปพอกปูนยอดเจดีย์อยู่บนนั่งร้านที่สูงกว่า 20 ศอก แล้วเกิดพลัดตกลงมาจากนั่งร้านลงมาถึงพื้นดินแทนที่จะได้รับบาดเจ็บท่านกลับลุกขึ้นปัดฝุ่นที่จีวรแล้วกลับขึ้นไปพอกปูนต่อ เป็นที่อัศจรรย์ กับผู้พบเห็นจนเลื่องลือว่าท่าน มีวิชาตัวเบา

อีกเรื่องที่เล่าขานกันมาจนปัจจุบันว่าหลวงปู่ทองสามารถย่นระยะทางได้ โดยมีผู้พบเห็นท่านบิณฑบาตไกลถึงบ้านแดนเขตบรรพตพิสัย บ้านบางแก้วบ้าง บ้านหาดทรายงามบ้าง

ครั้งหนึ่งท่านรับกิจนิมนต์ไปถึงกรุงเทพฯ ขากลับท่านให้ลูกศิษย์กลับมาก่อนโดยท่านแวะเสวนาธรรมกับพระนักธรรมใน กทม.ก่อน แต่เมื่อลูกศิษย์กลับมาถึงวัดก็พบว่าหลวงปู่ทองจําวัดอยู่ก่อนแล้วจึงเป็นที่ลํ่าลืออีกว่าท่านสามารถย่นระยะทางได้

จนวันนี้ทางวัดได้จัดหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงท่านไว้ในวิหาร ซึ่งมีประชาชนทั้งทางใกล้ไกลเดินทางมานมัสการท่านเป็นประจํามิได้ขาด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า