อภินิหาร หลวงพ่อแดง ติสฺโส วัดแหลมสอ

นามเดิม แดง นามสกุล ทองเรือง
เป็นบุตรของ นายแก้ว-นางอ่อน ทองเรือง
เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๓๔
ที่บ้านเขาปุก ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
มีพี่น้องด้วยกัน ๔ คน

หลวงพ่อแดงท่านเป็นลูกคนที่สองของครอบครัว
ในวัยเด็กและวัยหนุ่ม
หลวงพ่อแดง ตอนวัยเด็ก ก็เป็นที่ทราบกันว่าเป็นเด็กที่สุภาพเรียบร้อย เชื่อฟั่งบิดามารดา เอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่เกียจคร้านต่อหน้าที่การงาน ช่วยเหลือบิดามารดาในกิจการน้อยใหญ่ไม่เหลวไหล

เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี พ.ศ.๒๔๕๕ มารดาผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนา เห็นว่าลูกชายสมควรที่จะได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา

ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสำเร็จ โดยมี พระครูวิบูลธรรมสาร (เพชร ติสฺโส) เป็นพระอุปัฌชาย์ พระครูทีปาจารคุณารักษ์ (รักษ์ อินฺทสุวณฺโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทับ วัดแจ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อบวชแล้วก็เคร่งครัดต่อพระวินัย เอาใจใส่ในกิจวัตร ตามหน้าที่ของพระใหม่จะพึงกระทำ

อยู่เป็นพระได้ ๒ พรรษา ก็มีเหตุบังเอิญให้เป็นโรคผิวหนังคันไปทั้งตัว รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาเพื่อออกไปรักษาในเพศฆราวาส เมื่อรักษาหายแล้ว บิดามารดาเห็นว่าลูกชายได้บวชเรียนแล้วควรมีเหย้ามีเรือนต่อไป จึงได้สู่ขอ น.ส.แปลก บุตรสาวของนายเพชร-นางเหลือ ชาวบ้านสระเกศให้มาเป็นภรรยาท่าน

เมื่อทําการสมรสเรียบร้อยแล้วอยู่กินกันมาเป็นเวลาประมาณ ๙ เดือนเศษ ก็มีเหตุให้ท่านต้องแยกทางกัน ภายหลังหย่าร้างอยู่ระยะเวลาหนึ่ง บิดามารดาก็เกลี้ยกล่อมให้ท่านมีครอบครัวใหม่(เพื่อมีบุตรหลานสืบสกุลตามธรรมดาของวิสัยชาวบ้านโดยทั่วไป

แต่ด้วยจิตใจที่ไฝ่ในธรรม ท่านได้ปฏิเสธความประสงค์ของบิดามารดา
ในที่สุดหลังจากได้ออกมาครองเพศฆราวาสยังไม่ถึง ๑ ปี ท่านก็ได้สละเพศคฤหัสถ์เข้าวัดบรรพชาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง ณ พัทธสีมาวัดสำเร็จโดยมี พระครูวิบูลธรรมสาร (เพชร วชิโร) วัดอัมพวัน เกาะพงัน อดีตเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุยรูปที่ ๒ เป็นพระอุปัฌชาย์ พระครูทีปาจารคุณารักษ์ (รักษ์ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประเดิม และ พระอาจารย์ทับ วัดแจ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า”ติสฺโส”

หลังจากท่านได้อุปสมบทแล้วก็ได้ติดตามพระอุปัฌชาย์ไปอยู่ที่เกาะพงัน เพื่ออบรมสมถวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งอุปัฏฐากอุปัฌชาย์อาจารย์ตามหน้าที่ของบรรพชิตผู้บวชใหม่ เป็นเวลาประมาณ ๗ เดือน จึงได้ลากลับมาพำนักอยู่ที่วัดสำเร็จ

ภายหลังเห็นว่า ที่พัานักสงฆ์เขาเล่เป็นที่สงบสงัดเหมาะแก่การบําเพ็ญสมณธรรม จึงได้ออกจากวัดสําเร็จมาพํานักที่พํานักสงฆ์เขาเล่เป็นเวลาหลายปี
ต่อมาวัดท้องกรูด(วัดสันติวราราม) เกิดขาดเจ้าอาวาส อุบาสกอุบาสิกาจึงพร้อมใจกันมานิมนต์ท่านไปอยู่ ท่านเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมจึงรับนิมนต์

ท่านมาอยู่ที่วัดท้องกรูดเป็นเวลาหลายปี จนพระอุปัฌชาย์มอบหมายใ ห้ทำหน้าที่พระอนุสาวนาจารย์ในการบวชกุลบุตร ท่านได้ทําหน้าที่อยู่หลายปีและสิ่งต่างๆที่ท่านได้สร้างขึ้นก็มีหลายอย่างเช่น โรงอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิที่อยู่ เป็นต้น ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้องกรูด (วัดสันติวราราม) อยู่ประมาณ ๑๐ ปี (๒๔๗๐ – ๒๔๘๐) ก็เกิดเบื่อหน่ายในภารกิจวงจรชีวิตของสมภาร โอกาสที่จะบำเพ็ญสมณธรรมลดน้อยลง

จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส มุ่งหน้าหาความวิเวกสงบสงัดเป็นที่ตั้ง สถานที่ต่างๆที่ท่านได้จาริกธุดงค์ไปอยู่เช่นถ้ำยายละไม แหลมสอ แหลมเสร็จ น้ำรอบ วัดโพธิ์แหลมสอ วัดโพธิ์บ้านทะเล ท้องตะโหนด ตรอกยวน รูเหล็ด วัดพระคอหัก เกาะแตน เกาะมัดสุม เกาะราบ เกาะฟาน เป็นต้น

บั้นปลายแห่งชีวิตและมรณภาพ
หลวงพ่อแดง หลังจากท่านเที่ยวไปอยู่ในที่ต่างๆจนกระทั่งผ่านอายุไปแปดสิบกว่าปี ตอนนี้ท่านรู้สึกว่าจะไปไหนไม่ค่อยสะดวกเพราะความชราและอาพาธเบียดเบียน บรรดาศิษยานุศิษย์และญาติมิตรรู้สึกเป็นห่วงในสุขภาพของท่าน

จึงได้นิมนต์มาอยู่สำนักสงฆ์เขาเล่ใกล้ๆ กับบ้านเกิดของท่าน และเป็นสถานที่เดิมเมื่อเคยอยู่เมื่อบวชใหม่ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

เมื่อมายุที่นี่ก็ได้มีประชาชนไปมาหาสู่ท่านกันมากมาย ที่พักที่อาศัยไม่ค่อยสะดวก ท่านจึงชักชวนญาติโยมสร้างศาลาโรงธรรมขึ้น ๑ หลังโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนก็เสร็จ ต่อมาได้เห็นว่าวิหารพระพุทธบาทชำรุดทรุดโทรม จึงได้ชักชวนประชาชน ทำการบูรณะขึ้นใหม่อย่างสวยงาม ใช้เวลาไม่กี่เดือนก็เสร็จเช่นกัน

ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ หลังจากที่หลวงพ่อแดงได้สร้างสิ่งต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังมีเงินที่ญาติโยมบริจาคเหลืออยู่มากพอสมควร ท่านมีความประสงค์จะแจกจ่ายเป็นขวัญถุง จึงได้ทําบุญสรงนํ้าท่านซึ่งมีประชาชน นำไปเป็นเงินขวัญถุง

จึงได้ทำการแจกเหรียญอันละ ๒๕ สตางค์บ้างอันละ ๕๐ สตางค์บ้าง คนละเหรียญในวันทําบุญสรงนํ้าท่าน ซึ่งมีประชาชนมาสรงน้ำประมาณเกือบหมื่นคน ล้วนแล้วแต่ได้รับเหรียญสตางค์ไปคนละเหรียญทุกคน

ในที่สุดวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มีคนที่นับถือและเคยช่วยเหลือท่านมาเป็นเวลานาน ได้นิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารเพื่อเป็นสิริมงคลที่บ้านดอน รุ่งขึ้นวันที่ ๖ เดินทางกลับเกาะสมุย เขาจัดให้ท่านอาศัยเรือพันธนูทองพักอยู่ในห้องพิเศษองค์เดียว โดยมีลูกศิษย์ติดตามอยู่หน้าห้อง

บังเอิญเกิดอุบัติเหตุเรือวิ่งผิดร่องนํ้าขึ้นไปเกยชานข้างร่องแล้วพลิ ก ค วํ่าลงซึ่งห่างจากฝั่งเพียงไม่กี่ไมล์ แต่อาศัยที่คนกำลังหลับเพราะเป็นเวลา ๑ นาฬิกาเศษ จึงทำให้คนเ สี ย ชี วิ ตประมาณ ๓๐ คน รวมหลวงพ่อแดงด้วย

เมื่อเรือจมแล้วก็ได้อาศัยเรือประมง และเรือตํารวจน้ำมาช่วยเหลือคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และงมหาผู้ที่ สิ้ น ชี วิ ตซึ่งยังติดอยู่ในเรือ ก็ได้พบสรีระของหลวงพ่อแดง นับเป็ น ศ พ ที่ ๖ ซึ่งยังคงติดอยู่ในห้อง

เมื่อพบแล้วก็พยายามช่วยเหลือ หาเอาวิธีเอาน้ำออกด้วยคิดว่าท่านอาจจะยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏว่าน้ำมิได้อยู่ในท้องของท่านเลย ซึ่งผิดกับคนอื่นๆล้วนแล้วแต่มีน้ำเต็มท้องกันแทบทั้งนั้น แสดงว่าท่านมิได้กินน้ำทะเลเข้าไปแต่ประการใด ผิวพรรณยังผ่องใสเหมือนกับท่านยังมีชีวิตนอนหลับอยู่

การม ร ณ ภ าพหลวงพ่อแดง ได้ยังความเศร้าโศกเสียใจอาลัยอาวรณ์อย่างสุดซึ้งแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ญาติมิตรและพี่น้อง แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมไปตามกรรมของตน, ถึงหลวงพ่อแดงก็เช่นนั้น ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น.

เมื่อได้นำศ พ ไ ปถึงเกาะสมุยแล้วก็ได้ตั้ง ศ พไ ว้ ณ ที่พำนักสงฆ์เขาเล่เป็นเวลา ๗ วันแล้วจัดการป ล ง ศ พ การบำเพ็ญกุ ศ ล ศ พได้ทำตามที่ท่านสั่งทุกประการ คือเมื่อประมาณ ๑ ปีก่อนนี้ บรรดาศิษยานุศิษย์ และญาติได้ไปประชุมแล้วเรียนถามท่านว่า จะให้จัดการสรีระของท่านอย่างไรหลังจากม ร ณ ภาพไปแล้ว

ท่านบอกว่า “ท่านบอกว่า” ให้เอาผาขาวคลุมแล้วตั้งบำเพ็ญ ๗ วัน หลังจากนั้นก็จัดกา รเ ผ า ศ พ เก็บอัฐบรรจุในรูปปั้นของท่านเก็บไว้ในพระเจดีย์แหลมสอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า