ไฟ ๓ กอง ปรัชญาธรรมอันลึกซึ้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรํสีหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ขรัวโต แห่งวัดระฆัง ฯ เป็นพระอริยสงฆ์ผู้แตกฉานในธรรมวินัย ทรงคุณธรรมวิเศษ และยังเป็นผู้ที่มีบุคคลิกโดดเด่นที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ แม้ได้รับสมณศักดิ์เป็นถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ แต่ท่านกลับใช้ชีวิตอย่างสมถะ

ไม่มีพิธีรีตองราวกับเป็นพระธรรมดา ความรู้ทางพระธรรมวินัยของท่านจัดว่าแตกฉาน แต่ท่านกลับไม่เคร่งครัดในแบบแผน ขนบธรรมเนียมหลายอย่างที่ผู้คนยึดติดถือมั่น ท่านไม่สนใจเอาเลย ปฏิบัติตนอย่างผ่อนคลาย เป็นกันเอง และเปี่ยมด้วยเมตตา

เป็นที่ร่ำลือกันว่า ใครมานิมนต์ท่าน ไม่ว่ายากดีมีจน ท่านไม่เคยปฏิเสธ แต่จะไปเทศน์เมื่อใด ท่านไม่เคยกำหนดเวลา บางคราวเจ้าของบ้านหลับแล้ว ท่านไปถึงก็นั่งเทศน์ที่ประตูบ้าน เทศน์ตรงหัวบันไดบ้านก็เคย

คราวหนึ่งท่านไปเทศน์ต่างจังหวัด ถึงที่หมายตอนยามสาม (ประมาณตี ๓-๖ โมงเช้า) ผู้คนนอนหลับกันหมดแล้ว ท่านสั่งให้คนแจวเรือตีกลองดังตูม ๆ แล้วก็เทศน์ชูชกอยู่แต่ผู้เดียว

ชาวบ้านต้องลุกมาฟังท่านจนสว่าง
ท่านเคยนั่งเรือไปทอดกฐินที่อ่างทอง ระหว่างทางได้แวะจำวัดบนโบสถ์แห่งหนึ่ง กลางดึกขณะที่คนเรือนอนหลับ ขโมยได้ล้วงเอาเครื่องกฐินไปหมด เมื่อท่านรู้ แทนที่จะโมโห กลับดีใจ

ขณะที่นั่งเรือกลับ ชาวบ้านถามท่านว่าทอดกฐินเสร็จ ท่านตอบว่า “ทอดแล้วจ้า แบ่งบุญให้ด้วย” กลางทางท่านซื้อหม้อบรรทุกเต็มลำ ใครถามท่านว่าซื้อไปทำไมมากมาย ท่านตอบว่า “ไปแจกชาวบางกอกจ้า”

กว่าจะถึงวัดระฆัง ท่านก็แจกหม้อจนหมด ปรากฏว่าวันนั้นหวยออก ม หันหุนเชิด คนที่คอยดูหวยจากท่าน ถูกกันมากมาย
คราวหนึ่งท่านกำลังจำวัดในกุฏิที่วัดระฆัง ขโมยได้เจาะพื้นกุฏิเพื่อล้วงเอาข้าวของที่วางเกลื่อน แต่ล้วงไม่ถึง ท่านเห็นแล้วก็สงสาร ช่วยเอาไม้เขี่ยของเหล่านั้นให้ใกล้มือขโมย ได้ของไปแล้วก็ยังไม่พอใจ ขโมยยังจะเอาเรือใต้ถุนกุฏิไปด้วย

ระหว่างที่เข็นเรืออยู่ ท่านก็เปิดหน้าต่างแล้วบอกขโมยว่า “เข็นเบา ๆ หน่อยจ้า ถ้าดังไปพระท่านได้ยินเข้า ท่านจะตีเอาเจ็บเปล่าจ้า” ท่านยังแนะนำขโมยด้วยว่า “เข็นเรือบนที่แห้ง เขาต้องเอาหมอนรองข้างท้ายให้โด่งก่อนจ้า ถึงจะกลิ้งสะดวกดี เรือก็ไม่ช้ำไม่รั่วจ้า”

ขโมยได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกเกรงใจท่าน ไม่เข็นต่อ แล้วค่อย ๆ ย่องออกไปพร้อมกับของที่ล้วงมาได้
เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีวิธีสอนธรรมแปลก ๆ ท่านเคยไปเทศน์คู่กับพระพิมลธรรม (ถึก) แห่งวัดพระเชตุพน ขณะอยู่บนธรรมาสน์ เจ้าคุณพิมลธรรมได้ตั้งประเด็นขึ้นว่า “โทโสเป็นกิเลสสำคัญ พาเอาเจ้าของต้องเสียทรัพย์ เสียชื่อเสียงเงินทอง เสียน้องเสียพี่ เสียที่เสียทาง เสียเหลี่ยมเสียแต้ม ก็เพราะลุแก่อำนาจโทโส ให้โทษให้ทุกข์แก่เจ้าของมากนัก”

จากนั้นก็ถามหลวงพ่อโต ซึ่งมีสมณศักดิ์สูงกว่าท่านว่า “ โทโส(เมื่อ)จะเกิดขึ้น เกิดตรงที่ไหนก่อนนะขอรับ ขอให้แก้ให้ขาว”
ระหว่างนั้นหลวงพ่อโตแกล้งทำเป็นหลับ ไม่ได้ยินคำถาม ซ้ำยังกรนเสียด้วย

เจ้าคุณพิมลธรรมจึงถามซ้ำ ๒-๓ ครั้ง ท่านก็นั่งเฉย เจ้าคุณพิมลธรรมจึงโมโห ตวาดเสียงดังว่า “ถามแล้วไม่ฟังนั่งหลับใน” ว่าเช่นนี้ถึงสองครั้ง หลวงพ่อโตแกล้งตื่นแล้วด่าออกไปว่า “อ้ายเปรต อ้าย ก า ก อ้าย ห่ า อ้า ยถึ ก กวนคนหลับ”

ท่านเจ้าคุณพิมลธรรมได้ยินเช่นนี้ก็โกรธจัด คว้ากระโถนปามายังหลวงพ่อโต แต่พลาดไปโดนเสาศาลา แตกดังเปรี้ยง ผู้คนแตกตื่นตกใจ แต่หลวงพ่อโตนิ่งสงบ แล้วกล่าวกับญาติโยมว่า โทโสโ อ หั ง เกิดขึ้นเมื่ออนิฏฐารมณ์ คือ รูปที่ไม่น่าดู เสียงที่ไม่น่าฟัง กลิ่นที่ไม่น่าดม รสที่ไม่น่ากิน สัมผัสที่ไม่สบาย และความคิดที่ไม่ถูกใจ มากระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

“เมื่อสํารวมไม่ทันจึงดันออกข้างนอกให้คนอื่นรู้ว่าเขาโกรธ ดังเช่นเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นตัวอย่าง ถ้าเขายอท่านว่าพระเดชพระคุณแล้วท่านยิ้ม พอเขาด่าก็โกรธ”
อย่างไรก็ตามท่านได้ชี้ว่า แม้โ ท โ ส เกิดขึ้น “โ ท โ ส ก็ไม่มีอำนาจกดขี่เจ้าของได้เลย เว้นแต่เจ้าของโง่เผลอสติ เช่น พระพิมลธรรมถึกนี้ โทโสจึงกดขี่ได้” หลวงพ่อโตสรุปด้วยการบอกญาติโยมให้ดูท่านเจ้าคุณพิมลธรรมเป็นตัวอย่าง

“ตัวท่านเป็นเพศพระ ครั้นท่านขาดสังวร ท่านก็กลายเป็นโพระ กระโถนเลยแตกโพละ เพราะโทโสของท่าน….จงจำไว้ทุกคนเทอญ”

นอกจากมีความสามารถในการชี้ให้คนเห็นถึงสาเหตุและโทษของความโกรธแล้ว หลวงพ่อโตยังมีอุบายในการเตือนสติให้คลายความโกรธด้วย ไม่เว้นแม้กระทั่งความโกรธของพระเจ้าแผ่นดิน
ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔

พระองค์ได้นิมนต์พระมาสวดอภิธรรมในงาน บํษเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้า ซึ่งเพิ่งเสด็จสวรรคต เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงพระที่นั่งซึ่งจัดงาน พระทั้ง ๘ รูปก็ตกใจ ด้วยเกรงพระบรมราชานุภาพ พากันวิ่งหนีไปแอบในม่านที่กั้นพระโกศ พระองค์จึงกริ้วมาก ตรัสว่า “ดูซิ ดูซิ ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็ น เสื อ เป็น ยั ก ษ์ เอาไว้ไม่ได้ ต้องให้มันสึกให้หมด”

ว่าแล้วก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังหลวงโต เพื่อให้ทำการสึกพระเหล่านั้น
หลวงพ่อโตอ่านแล้ว ก็จุดธูป ๓ ดอก จี้ที่กระดาษบริเวณที่ว่างจากลายพระหัตถ์ แล้วส่งคืน โดยไม่พูดอะไร และไม่ได้ทำตามรับสั่ง ครั้นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นรู ๓ รูในกระดาษ ก็ทรงทราบความหมาย รับสั่งว่า “อ้อ ท่านให้เราดับราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นไฟ ๓ กอง งดที งดที เอาเถอะ ๆ ถวายท่าน”

จากนั้นทรงมีรับสั่งให้ไปนำตัวพระทั้ง ๘ มานั่งประจำที่ แล้วทรงแนะนัษสั่งสอนให้ท่านรู้ระเบียบจรรยาในการรับเสด็จหน้าพระที่นั่ง
เป็นอันว่าเรื่องนี้จบลงด้วยดีเพราะปรีชาญาณของหลวงพ่อโต

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า