หยุดโกลาหล ด้วยญาณหยั่งรู้ หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร

หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร วัดท่ากระบือ ต.บางยาง
อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
หลวงพ่อรุ่ง นามนี้เป็นนามเดิมของท่าน และเป็นนามที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก

ประวัติกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อรุ่งท่านบวชมาตั้งแต่เด็กๆ คือ สมัยสมัยเป็นเด็กก็บวชเป็นสามเณรลืมสึก และเลยมาพออายุครบ ๒๐ ปี ก็มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งม ร ณ ภ า พ

หลวงพ่อรุ่ง ท่านเป็นบุตรชายคนเดียวของคุณแม่กิม
หลวงพ่อรุ่ง เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา พ.ศ.๒๔๑๖ ณ ตำบล หนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายพ่วง และนางกิม พ่วงประพันธ์ เป็นชาวกรุงเทพฯ

ท่านมีน้องร่วมต่างมารดาหลายคน
เมื่อเด็กได้ศึกษาหนังสือไทย หนังสือขอม และภาษาบาลีมูลกัจจายน์ กับพระอุปัชฌาทับ วัดน้อยนพคุณ อำเภอดุสิต กรุงเทพฯ จนอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดน้อยนพคุณ เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๓๗

โดยมีอุปัชฌาทับ เป็นพระอุปัชฌา…เจ้าอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน อำเภอดุสิต เป็นพระกรรมวาจาจารย์
อุปสมบทได้ ๒ วัน ก็ย้ายไปอยู่ที่วัดท่ากระบือ ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ โดยมี พระภิกษุร่วม พันธ์ชาตรี เป็นหัวหน้าสำนัก และท่านได้รับหน้าที่แทนในปีนั้น เนื่องจากพระภิกษุร่วมลาสิขา

หลังจากนั้นอีก ๕ ปี ต่อมาสภาพสำนักสงฆ์ก็กลายเป็นวัดท่ากระบือขึ้นมา ท่านได้ทุ่มเทสติปัญญา กำกาย กำลังใจ สร้างวัดท่ากระบือให้เจริญรุ่งเรืองเป็นวัดใหญ่โตวัดหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
ตามปกติหลวงพ่อรุ่งเป็นผู้สนใจในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ท่านได้เจริญสมถวิปัสสนาในสำนักพระอาจารย์เกิด วัดกำแพง ( วัดสุนทรประสิทธิ์ ) ตำบลกำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จนมีความรู้แตกฉานในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

จนได้รับมอบหมายเป็นอาจารย์บอกพระกรรมฐาน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้ท่านมีอำนาจจิตเป็นอย่างสูง สามารถสร้างเครื่องรางของขลังเป็นที่เลื่องลือ
ทางด้านศีลาจารวัตของหลวงพ่อรุ่งนั้นเล่า ปรากฏว่าท่านเป็นพระที่มีคุณธรรมอันประเสริฐ เคร่งครัดพระธรรมวินัย เปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความมักน้อย และถ่อมตน ถือเอกาฉันจังหันวันละมื้อตลอดชีวิต

หลวงพ่อรุ่งท่านได้รับมอบหมายหน้าที่การงานจากทางคณะสงฆ์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้
พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นพระอุปัชฌา
พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นพระครูชั้นประทวน
พ.ศ.๒๔๘๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน
พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นพระครูไพโรจน์มันตาคม ( ชั้นโท )
พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นพระคร๔ไพโรจน์มันตาคม ( ชั้นเอก )
พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะสงฆ์ มีราชทินนามว่า พระไพโรจน์วุฒาจารย์

ครั้นถึงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๐๑.๐๕ น. หลวงพ่อรุ่ง หรือท่านเจ้าคุณไพโรจน์วุฒาจารย์ ก็ถึงแก่มรณภาพ อายุได้ ๘๕ ปี

… หยุดโกลาหล ด้วยญาณหยั่งรู้
ขอย้อนสักครั้ง เมื่อครั้งที่หลวงพ่อรุ่งยังมีชีวิตอยู่…ขณะนั้น รัชกาลที่ ๗ เสวยราชไม่นานนัก ก็เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกใรราชวงศ์จักรี และได้เกิด ป ะ ท ะ ต่ อ สู้ กันขึ้นอย่าง รุ น แ ร ง ระหว่างฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายกบฏวึ่งมี พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้าฝ่ายก บ ฏ

ฝ่ายรัฐบาลก็มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า
เสียงร ะเ บิ ดของ ปื น เ ล็ ก – ใหญ่ดังกึกก้องไปทั่วบริเวณแน ว ร บ คือ ตั้งแต่ปากช่อง แก่งคอย มาจนถึงดอนเมือง หลักสี่ บางเขน และบางซื่อ

ผลสุดท้ายฝ่าย กบ ฏ ต้องพ่ยแพ้ และล่าถอย ระหว่างนั้นหลวงพ่อรุ่งท่านได้เข้าชาณไปดูถึงสนา มร บ แล้วกลับมาบอกเล่าให้บรรดาสานุศิษย์ฟัง ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แลพท่านพูดว่า ” ช่างน่าส ล ดใจเสียจริงๆ ที่คนไทยด้วยกันต้องมาสู้รบฆ่าฟันกันเอง ข้าวกล้าในนาถูกเหยี ย บ ย่ำเ สี ย ห า ยมาก

“….ควันของดินดำกำมะถัน และเสียง ร ะเ บิ ด ขอ งปื นใ หญ่ เพิ่งจะได้สงบเงียบลงได้ไม่กี่วัน ก็เกิดการโกลาหลอลหม่านกันขึ้นอย่างยกใหญ่ ในเขตจังหวัดที่ติดต่อกันรวม ๔ จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดนครปฐมคือ เกิดข่าวลือที่น่าหวั่นหวาดในรอบศตวรรษว่า ” ฝ่ายก บ ฏ แพ้ ส ง ค รา มต่อรัฐบาล ได้ไปตั้งตัวเป็นกองโจร แล้วออกเที่ยวไล่สกัดจับเอาพวกผู้ชาย เพื่อนำไปฝึกและให้สู้รบกับรัฐบาล

” …..ซึ่งข่าวลืออันนี้ได้ยังความตื่นเต้นตกใจแก่ประชาชนพลเมืองมิใช่น้อย เพราะเหตุว่าประเทศไทยว่างศึ ก ส ง คร า มมานาน แล้วเกิดมี ส งค รา มภายในเกิดขึ้นจึงทำให้ขวัญของประชาชนไม่สู้จะดีนัก
นอกจากนี้ยังลือกันอีกว่า มีทหารใส่เสื้อแดง กางเกงแดงเที่ยวไล่จับคนไปเป็นกลุ่มๆ

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนแตกตื่นต่างหลบซ่อนหนี กันเป็นโกลาหล …บางพวกหนีพากันไปซุกซ่อนตัวอยู่ในป่าจาก ซึ่งมียุงชุกชุมมากที่สุดในโลก บางพวกก็หลบลงไปแช่ในน้ำ นอนอยู่ในนาตัวแข็งใช้ต้นข้าวเป็นกำบังอำพรางตัวไว้ บางคนแช่อยู่ในน้ำโดนตะคริวรับประทาน

บางคนกำลังทอดข้าวเม่า กล้วยแขกขายอยู่ เมื่อเห็นเขาหนีกัน ตัวเองไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็หนีไปกับเขาบ้าง

… เหตุการณ์ในครั้งกระนั้นสมกับคำโบราณที่ว่า ” ตื่นวัวตื่นควาย ยังหยุดได้ แต่…ตื่นผู้ตื่นคนนี้ เอาไว้ไม่หยุด ” …

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คลิกอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า