หลวงพ่อขำ อินทปัญญา ท่านเป็นบุตร นายช้าง นางนิล เกิดประมาณ ปี พ.ศ. 2408 มีพี่น้อง 3 คน เป็นชายทั้งหมด พี่คนโตชื่อนายมั่น คนที่สองคือหลวงปู่ขำ คนที่สามชื่อนายอิน ทั้ง 2 คนคือนายมั่นและนายอิน ไม่มีบุตรแม้แต่คนเดียวชีวิตของท่าน ตอนเป็นเด็กกำพร้าพ่อ แม่มีพ่อใหม่ พ่อใหม่เป็นคนไม่เอางาน แถมติดสุรามักจะพ า ล หาเรื่องท่านอยู่เสมอ
อยู่มาวันหนึ่งได้มีการนวดข้าวที่ลานพ่อเลี้ยงได้ เ ม าสุ ราแล้ว ตี แ ม่ท่าน แม่ท่านจึงได้ร้องให้ลูกช่วยท่านจึงใช้ไม้ขอฉาย (ไม่สำหรับคุ้ยเขี่ยฟาง) ฟ า ด ล ง บนศรีษะพ่อเลี้ยง หั ว แ ต ก นับแต่นั้นมาท่านจึงหันหน้าเข้าวัด เที่ยวเรียนไปหลายวัดแล้วจึงได้เดินทางไปเรือนแถวจังหวัดพิจิตร
เมื่อถึงปีบวชก็ได้บวชที่วัดวังตะขบเป็นพระอุปชฌาย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาหาความรู้ใส่ตัวอย่างไม่ลดละหลายจังหวัดทางภาคกลางวิชาความรู้ที่เรียนในสมัยนั้นก็มีหมอแผนโ บ ร า ณ, ไ ส ย ศ า ส ต ร์ ฯลฯ
แล้วก็ธุดงค์ไปหลายแห่งโดยการนำของหลวงพ่อเงิน เช่นไปนมัสการพระแท่นดงรัง จังหวัดเชียงใหม่ไปจนถึงร่างกุ้งประเทศสหภาพพม่า ทําให้ท่านได้ความรู้และประสบการณ์ ที่จะนำมาพัฒนาวัดโพธิ์เตี้ย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน
เมื่อบวชได้ 2 พรรษาจึงลาสิขาบท เพื่อจะมีครอบครัว แต่ฝ่ายหญิงเห็นว่าท่านเป็นลูกกำพร้าไม่มีทรัพย์สมบัติ จึงไม่ได้แต่งงานต่อจากนั้นมาท่านก็กลับเข้ามาอยู่ในร่มผ้ากาสาวพัตอีกครั้งหนึ่ง
คราวนี้ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่สึกออกมาหาความสุขทางโลกอีก
ต่อไปจึงมุมานะเอาดีทางสมณเพศ จึงได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นการใหญ่เที่ยวเรียนตามวัดต่างๆ มีเกจิอาจารย์รุ่นเดียวกันเช่นหลวงพ่อมาก วัดบางแก้ว อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
จากนั้นท่านก็กลับมาบูรณะวัดมีการสร้างพระอุโบสตั้งแต่พ่อแม่ของผู้ใหญ่ทองดียังไม่ได้แต่งงานตอนนี้ผู้ใหญ่ทองดี อายุ 79 ปี แล้วต่อมาสร้างพระวิหารเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2470
การสร้างพระอุโบสถในสมัยนั้นประชาชนศรัทธามาก ถึงขนาดถอดต่างหู ขันโตกสายสร้อย ผ้าม่วงใส่ลงไปในหลุมนิมิต ต่อจากนั้นท่านก็ได้สร้างพระเจดีย์ถึง 3 องค์ องค์ทางขวามือของพระอุโบสถเป็นประธาน องค์กลางตอนบนเป็นเครื่องลายครามสังคโลก ตอนล่างข้างในมีพระห้ามญาติและรูปปั้นหลวงพ่อขำ
แต่ช่างสมัยนั้นทําได้ไม่ดีเท่าที่ควรพระเจดีย์องค์ซ้ายมือเป็นที่เก็บพระเครื่องงลางของขลัง (วัตถุมงคล) จำนวน 84,000 องค์พระเครื่องของท่านในพระเจดีย์มีพระงบน้ำอ้อย พระเจ้า 5 พระองค์พระเจ้าสิบชาติ เป็นรูป 3 เหลี่ยม คล้ายพระนางพระยา เหรียญหล่อ หลวงพ่อขำพิมพ์หยดน้ำ เหรียญหล่อหลวงพ่อขำพิมพ์จอบเล็กทุ่งขาวพิมพ์ใหญ่ ทุ่งดำพิมพ์ใหญ่ ทุ่งดำพิมพ์เล็ก พิมพ์นาคปรกเหรียญหลวงพ่อขำพิมพ์ข้างอุ เท่าที่จดจำได้
จากนั้นก็ได้สร้างหอระฆัง รอยพระพุทธบาทจำลอง ศาลาการเปรียญ
ด้านการปฎิบัติธรรมท่านเน้นการปฎิบัติมากกว่าทฤษฎีคือจะมีการปลงอาบัติในเวลาเช้าเบิกอรุณ หลังจากเปลื้องครองผ้าไตรออกก็จะแสดง อ า บั ติ 1 ครั้ง หลังจากฉันเช้าเสร็จก็จะแสดงอาบัติอีก 1 ครั้ง แล้วตอนเย็นก่อนสวดมนต์รวมสงฆ์ก็จะมีการแสดงอาบัติอีก 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง
ทุกวันในระหว่างเข้าพรรษาการแสดงอาบัติวันละครั้งคือหลังจากตอนฉันเช้า การสวดมนสวดเวลาเช้า 1 ครั้ง
นอกจากนี้ภายในวัดจะมีไม้ผล ไม้ดอก ไม่ประดับ ร่มรื่นน่าอยู่อาศัยและยังมีสัตว์เลี้ยง เช่น ม้า ไก่ กวาง แพะ นกยูง นกเขา นกขุนทอง
เมื่อผู้คนเข้าวัดจะมีจิตใจแจ่มใส เสมือนหนึ่งเข้าไปในอุทยาน แต่ละปีมักจะมีงานประจำปี มีลิเก เพลงฉ่อย ฯลฯ ส่วนใหญ่ท่านไม่ได้ไปหานักแสดงจะมาเองแสดงฟรีโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดแต่จะขอวัตถุมงคลกลับไปก่อนจะมีงานประชาชนแถวปากพระ ท่าฉวนจังหวัดสุโขทัยจะนำยาสูบ ปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาเค็ม มาช่วยงาน
งานท่านจึงสำเร็จเรียบร้อยด้วยดีทุกครั้ง คุณงามความดีของท่านที่มีคนศรัทธาท่านนั้นมีมากมายหลายอย่าง พอที่จะรวบรวมเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. ด้านการศาสนา ท่านได้สร้างถาวรวัตถุตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นและคนที่จะมาบวชอยู่ในอาณาจักรผ้าเหลืองท่านไม่เรียกร้องเจ้าภาพ แล้วแต่จะทําบุญแม้ลูกกําพร้าก็จะบวชให้แถมให้ผ้าไตรอีกด้วย
2. ด้านสาธารณสุข ท่านมียาทั้งเม็ด ยาหม้อ รวมทั้งอาบน้ำมนต์ อันเป็นการรักษาทางด้านจิตใจอีกด้วย
3. ด้านการเกษตร ท่านได้ทำกล้วยน้ำว้า ละมุด น้อยหน่า สับปะรด ส้มโอ มะปราง ขนุน โดยมีพระลูกวัดและลูกศิษย์ช่วยกันปลูกและดูแลรักษา
4. ด้านการช่าง การทำ กุฎิ ฯลฯ ท่านจะให้พระภายในวัดช่วยกันไสกบ เจาะเดือย พอพระลาสิกขาบทไปได้ นำวิชาความรู้ไปทำบ้านเรือนอาศัยอยู่ได้ และยังมีช่างเหล็ก ทําให้ผู้บวชอยู่กับท่านได้รับความรู้ในเรื่องนี้สามารถทํา ฆ้ อ น ทำ มี ด เสียม จอบ ใช้เองภายในวัด และสามารถนําไปประกอบอาชีพได้ ตลอดจนทำที่อยู่อาศัยของตนเอง
5. ด้านไสยศาสตร์ แต่ละปีจะมีนายตำรวจ นายทหารจากจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร ขี่ม้ามาขอบูชาเครื่องลางของขลังปรากฏว่าได้ผลดี จึงมีทั้งประชาชนและข้าราชการมาขอบูชาเกือบทุกวันก็ว่าได้
6. ด้านการปกครอง หลังจากทําบุญในฤดูกาลเทศกาลแล้วตอนฉันอาหารเสร็จท่านถือโอกาสอบรมญาติโยมให้มีความสามัคคีกันให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ญาติโยมจึงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนี้คนที่มาบวชอยู่กับท่านมักจะมาจากหลายที่ เช่น พรานกระต่าย คีรีมาส สามง่าม ฯลฯ เมื่อลาสิกขาบทแล้วก็ยังไปมาหาท่าน ก็ถือโอกาสให้ช่วยกันดูแลญาติโยมของท่าน
7. การพัฒนาวัด นอกจากท่านได้สร้างสิ่งของถาวรวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้ว ท่านยังทําเขื่อนวัดโดยใช้ไม้ท่อนกั้นแนวเขตระหว่างวัดกับบ้านอีกด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้ว วัดแห่งนี้เป็นเสมือนวิทยาลัยชนบทซึ่งมีทั้งงานช่าง ศิลปกรรม ด้านเกษตรกรรม การแพทย์แผนโบราณ การศาสนา การปกครอง ซึ่งเหมือนมีรัฐศาสตร์แทรกอยู่ด้วย
เรียกว่าท่านสร้างทั้งทางโลกและทางธรรมไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2482 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 1 ปีเถาะ ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่วัดแห่งนี้จะเจริญมากกว่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
บัดนี้ ถึงแม้หลวงพ่อขำ ได้จากพวกเราไปแล้ว ท่านก็จากไปแต่สิรร่างสังขาร ส่วนคุณธรรมความดีและผลงาน อันเป็นดุจดังคำสอนที่มีคุณค่ายิ่ง ยังเป็นตัวแทนจารึกอยู่ในดวงใจของเรา ผู้เป็นศิษยานุศิษย์และลูกหลานอยู่มิรู้ลืมอย่างไม่เลือนราง
ฉะนั้นจึงน่าจะถือเป็นหน้าที่ของลูกหลาน เหลนจักได้สืบทอดเจตนาอันเป็นกุศลที่หลวงพ่อขำ ได้ถ่ายทอดไว้ให้แล้วนั้นให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นสืบไป โดยช่วยกันร่วมกันพัฒนาวัดอันเป็นมรดกที่มีค่านี้ให้เจริญขึ้นอันดับได้ว่าได้ร่วมกันบูชาคุณของบูรพาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นสิริมงคลแก่ตนสืบไปชั่วกาลนาน