ญาท่านตู๋ ธัมมสาโร วัดสุขาวาส
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
ท่านเป็นศิษย์ของผู้วิเศษในตํานานแห่งอําเภอตระการพืชผลทั้ง ๓ ท่าน ได้แก่ สําเร็จลุน แห่งนครจําปาศักดิ์ ญาท่านสี ดา แห่งวัดสิงหาญ และ ญาท่านพันธ์ แห่งวัดบ้านกระเดียน เล่ากันว่าท่านมีฤทธิ์มาก จนสามารถเดินข้ามแม่นํ้าโขงได้อย่างสบายไม้แพ้สําเร็จลุน อาจารย์ของท่านเลยทีเดียว ซึ่งประวัติของท่านยังไม่ค่อยมีึคนรู้จักเป็นที่แพร่หลาย
ท่านเกิดในสกุล “วงศ์คํา” เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๖ (ตรงกับเดือน ๑๒ ปีวอก) ที่บ้านเวียง ตําบลกระเดียน อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนสุดท้องของตระกูล เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๒
ขณะที่ท่านอายุ ๖ ปี ได้เกิดเหตุการณ์อันน่าเ ศ ร้ า ขึ้นแก่ครอบครัวของท่าน กล่าวคือ บิดามารดาของท่านได้ถึงแ ก่ ก ร ร ม พร้อมกัน ทําให้พี่สาวของท่าน ต้องนําท่านไปมอบให้ พระอาจารย์เคน เป็นผู้เลี้ยงดูแทน ซึ่งท่านได้อยู่ศึกษา พระธรรมกรรมฐานกับพระอาจารย์เคน จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี ญาท่านพันธ์ วัดบ้านกระเดียน เป็นพระอุปัชฌาย์ (ท่านเป็นหนึ่งใน ผู้วิเศษของอําเภอตระการพืชผล เก่งในเรื่องปราบภูติผีปีศาจเป็นอันมาก) ได้รับฉายาว่า “ธัมมสาโร”
เมื่อศึกษาพระธรรมกรรมฐานจากญาท่านพันธ์จน หมดสิ้นแล้ว ญาท่านพันธ์ได้แนะนําท่านให้ไปศึกษากับญาท่านสีดา แห่งวัดสิงหาญ อําเภอตระการพืชผล ญาท่านสีดานั้น ท่านเป็นศิษย์ของญาท่านอุตตมะ ปฐมาจารย์ใหญ่แห่งวัดสิงหาญ ซึ่งญาท่านอุตตมะเป็นผู้นําสามเณรสีดา (ญาท่านสีดา) และสามเณรลุน (สําเร็จลุน) มาเลี้ยงคู่กัน จนทําให้ทั้ง ๒ ท่านมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง โดยญาท่านอุตตมะนั้น มีศักดิ์เป็นอา (ท่านเป็น น้องชายของบิดาสําเร็จลุน) และเป็นพระอุปัชฌาย์ของสําเร็จลุน
ครั้นเมื่อพระภิกษุตู๋ ไปศึกษากับญาท่านสีดา ที่วัดสิงหาญ ท่านได้ไปพบกับพระภิกษุแพง (ญาท่านกรรมฐานแพง) และพระภิกษุตัน (ญาท่านตัน) ที่กําลังศึกษาพระธรรมกรรมฐานอยู่กับญาท่านสีดา ซึ่งพระภิกษุแพงนั้น เป็นคนบ้านสะพือ ส่วนพระภิกษุตัน เป็นคนบ้านนาเอือดแต่มาโตที่บ้านสะพือ
ทั้งพระภิกษุแพง และ พระภิกษุต้นนั้นได้บวชเรียนที่วัดสิงหาญโดยมีญาท่านสีดาเป็นพระอุปัชฌาย์ (สําหรับอายุของพระภิกษุตู๋ จะมากกว่าพระภิกษุแพง ประมาณ ๑ ปี ส่วนพระภิกษุตัน จะอายุอ่อนกว่าท่านทั้งสองประมาณ ๕-๖ ปี) ทําให้ท่านทั้งสามเป็นศิษย์ร่วมสํานักเดียวกัน คือ สํานักกรรมฐานวัดสิงหาญ อันสืบทอดวิชามา จากญาท่านอุตตมะ
หลังจากญาท่านสีดาได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่าง ๆ ให้แก่พระภิกษุทั้งสามจนหมดสิ้นแล้ว ญาท่านสีดาจึงแนะนําให้ศิษย์ทั้งสามไปหาสําเร็จลุน แห่งวัดบ้าน เวินไซ นครจำปาสัก สปป.ลาว พอดีช่วงเวลานั้นสําเร็จลุน ได้ธุดงค์มาที่บ้านสะพือ เพื่อมาเยี่ยมญาท่านสีดาสหายรักของท่าน และอยู่จําพรรษาอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
คราวนั้น พระภิกษุทั้งสามจึงได้พบกับหลวงปู่สมเด็จลุน เป็นครั้งแรก ญาท่านสีดาจึงได้ฝากฝัง พระภิกษุทั้งสามแก่สําเร็จลุน เพื่อศึกษาพระกรรมฐานแนวอรัญวาสีที่วัดสิงหาญ (บ้างก็ว่าญาท่านสีดาได้นําพระภิกษุพู และพระภิกษุบัณฑิต มาฝากฝังแก่ หลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) เพื่อศึกษาพระกรรมฐานด้วย)
เมื่อถึงเวลาที่ หลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) ต้องกลับจําปาศักดิ์ สําเร็จลุนจึงเอ่ยถามพระภิกษ ทั้งหลายว่า “ถ้าเจ้าทั้งหมดอยากได้ดีกว่านี้ ต้องตามกลับไปที่นครจําปาศักดิ์” บรรดาพระภิกษุหนุ่มต่างก็ไม่ลังเลใจที่จะติดตามหลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) ไป เนื่องจาก พระอาจารย์ท่านนี้ ได้แสดงอภินิหารหลายอย่างให้เห็น พระภิกษุหนุ่มทั้งหมดจึงได้ติดตาม หลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) ไปที่นครจําปาศักดิ์ ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบจริง ๆ ว่าเป็นสถานที่แห่งใด ในนครจําปาศักดิ์ (มีผู้รู้หลายท่านสันนิษฐานว่าหลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) น่าจะพาไปที่ภูเขาควาย ดินแดนในตํานานก็เป็นได้
เพราะสมัยก่อนพระภิกษุผู้ต้องการเรียนวิชา ต่างก็ดั้นด้นตามหาสถานที่แห่งนี้) พระภิกษุหนุ่มทั้งหมดได้ศึกษาสรรพวิชาต่าง ๆ กับสําเร็จลุน ที่นครจําปาศักดิ์อ ยู่หลายพรรษา หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มี เสียงร่่ำลือจากฝั่งลาวว่า “พระหนุ่มทั้งหลายที่ไปเรียนวิชากับสําเร็จลุน ต่างสําเร็จ วิชามาจากนครจําปาศักดิ์ ทั้งพระภิกษุตู๋ พระภิกษุแพง และพระภิกษุตัน เป็นต้น ซึ่งชาวจําปาศักดิ์ต่างขนานนามท่านว่า ญาท่านตู๋ ญาท่านแพง และญาท่านตัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา”
ท่านได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องการเดินธุดงค์ของท่านว่า.. “ได้ออกเดิน ธุดงค์อยู่หลายปี ในหลายประเทศ เช่น ลาว ญวน พม่า ฯลฯ โดยธุดงค์ไปกับ ญาท่านสีดาบ้าง และ หลวงปู่สมเด็จลุน (สําเร็จลุน) บ้าง ญาท่านพันธ์บ้าง โดยมีคณะผู้ร่วมเดินทางคือ ญาท่านกรรมฐานแพง ญาท่านตัน ญาท่านพู ญาท่านบัณฑิต และ พระสหายที่จําปาศักดิ์อีกหลายรูป”
หลังจากพระอาจารย์ทั้งหลายของญาท่านตู๋สิ้นแล้ว ญาท่านตู๋ จะออกเดินธุดงค์ไปพร้อมกับกับบรรดาพระลูกศิษย์ของท่าน ได้แก่ พระภิกษุดี ภัทธิโย พระภิกษุผุย แห่งบ้านกระเดียน พระภิกษุภูแห่งบ้านคําสมิง พระภิกษุภู แห่งบ้านกองโพน พระภิกษุฤทธิ์ แห่งวัดสระกุศกร พระภิกษุโทน แห่งวัดบูรพา พระภิกษุแสง แห่งบ้านหนองผือเขมราฐ พระภิกษุลี (หรือ “พระครูพนาภินันท์”) พระภิกษุทอง แห่งบ้านหัวเรือ พระภิกษุสี แห่งวัดสิงหาญ พระภิกษุบุตร แห่งวัดสําราษราฐ เป็นต้น
ครั้งเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านจึงได้เดินธุดงค์กลับมายังอําเภอตระการพืชผล ญาท่านตู๋เป็นพระที่เคร่งครัดในวัตร ปฏิบัติไม่สนใจต่อยศฐาบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ และไม่ยอมรับตําแหน่งทางการบริหารคณะสงฆ์ แม้ว่าจะมีผู้มอบให้ก็ไม่ยอมรับตําแหน่ง โดยท่านจะมอบหมายให้ญา ท่านลี ซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านรับตําแหน่งแทน ญาท่านตู๋ ท่านเป็นผู้ที่มากด้วย บุญญาอภินิหาร และ ได้ทําคุณประโยชน์แก่อําเภอตระการพืชผลมากมาย