เรื่องนี้ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อกลั่น ซึ่งเรื่องนี้ต้องเรียกหลวงปู่กลั่น กล่าวคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติการาม จังหวัดอยุธยา ทั้ง 3 รูปท่านเป็นเพื่อนกัน ไปมาหาสู่กันเสมอๆ
เหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้ มีตัวละครแค่หลวงปู่ศุขกับหลวงปู่สี กล่าวคือ ครั้งหนึ่งหลวงปู่สีไปเยี่ยมหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า และอยู่สนทนาธรรมกัน เมื่อเยี่ยมเยียนกันพอสมควรแล้ว หลวงปู่สีก็ดำริว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขก็ขอร้องให้หลวงปู่สีรออยู่ที่วัดก่อน
เช้าวันนั้นหลวงปู่ศุขออกไปบิณฑบาตตามปกติ ฝ่ายหลวงปู่สี พอเห็นหลวงปู่ศุขไปแล้วท่านก็เก็บของของท่านที่จําเป็น แล้วออกเดินทางไป
เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ทราบจากพระในวัดว่าหลวงปู่สีท่านไปแล้ว หลวงปู่ศุขจึงให้พระเณรฉันข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาฉันด้วย
ต่อจากนั้นท่านก็เข้ากุฏิ นำพระคัมภีร์ 3 เล่ม ตามไปให้หลวงปู่สี ปรากฏว่าพระอาจารย์ทั้งสองรูปมาพบกันที่ตาคลี จากนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็เดินทางกลับวัดที่ชัยนาท ไปฉันอาหารร่วมรับพระเณรจนเสร็จ
ระยะทางจากวัดปากคลองมะขามเฒ่าถึงตาคลีนี่ประมาณ 40-50 กิโลเมตร ถ้าหลวงปู่ทั้ง 2 รูปย่นระยะทางไม่ได้ ท่านก็ไม่สามารถทำเวลาได้ขนาดนั้น และหลวงปู่ศุขก็คงไม่ได้ฉันเพลทั้ง 2 วันเลยก็อาจเป็นได้
โดยสรุป หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ จังหวัดอยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สามารถย่นระยะทางได้ทั้ง 3 รูป
การย่นระยะทางของพระพุทธเจ้า
จากหัวข้อที่ผ่านมา ขนาดพระภิกษุในสมัยต้นๆ กรุงรัตนโกสินทร์ยังสามารถย่นระยะทางได้
ดังนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องย่นระยะทางได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น
มีผู้คนผู้ช่างสังเกตจะเห็นว่า ในการเผยแพร่ศาสนาของพระพุทธเจ้านั้น น่าจะมีการบันทึกผิด เพราะ แต่ละแคว้นที่พระพุทธเจ้าไปเทศนานั้น มันห่างกันมาก
ไม่มีทางที่จะเดินทางได้ภายในวันเดียว
แคว้นที่พระพุทธเจ้าเผยแพร่ศาสนาอยู่ก็มีดังนี้ แคว้นโกลิยะ แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ แคว้นวัชชี แคว้นมคธ แคว้นกาสี แคว้นวังสะ แคว้นโกศล เป็นต้น
เมื่ออ่านบทความชิ้นนี้จบแล้ว ผู้อ่านก็คงจะมีแนวคิดใหม่ขึ้นว่า คนที่ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าย่นระยะทางได้ อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะ การย่นระยะทางมันทำกันได้จริงๆ และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เสียด้วย
การย่นระยะทางทำกันอย่างไร
เท่าที่ศึกษามา กลุ่มบุคคลที่เห็นการย่นระยะทางของเกจิอาจารย์ต่างๆ ต่างก็บอกว่า เกจิอาจารย์เหล่านั้นก็เดินด้วยความเร็วปกติของท่าน แต่คนอื่นๆ ตามท่านไม่ทันเอง
ก็น่าจะเป็นกรณีที่คล้ายกับตอนที่องคุลีมาลย์ไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อจะตัด เอานิ้วมาร้อยมาลัยคล้องคอ
พระพุทธเจ้าก็ทรงเดินธรรมดา แต่องคุลีมาลย์ก็ตามไม่ทัน
ที่ทำได้เช่นนั้น เพราะ พระภิกษุเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงพระพุทธเจ้าด้วยมีฤทธิ์ ซึ่งหนังสือทิพยอำนาจ ของอดีต พระอริยคุณาธาร (เส็งปุสโส)
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงฤทธิ์ว่ามี 10 ฤทธิ์ด้วยกัน คือ
1) อธิษฐานฤทธิ์ ฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน
2) วิกุพพนาฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่แสดงอย่างโลดโผนผาดแผลง
3) มโนมัยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ
4) ญานวิปผาราฤทธิ์ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยติลังญาณ หรือวิปัสสนาญาณ
5) สมาธิผาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจสมาธิ
6) อริยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอริยธรรม
7) กัมมวิปากชาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม
ปุญญฤทธิ์ ฤทธิ์ของผู้มีบุญ
9) วิชชามัยฤทธิ์ สำเร็จด้วยวิทยา
10) สัมปโยคปัจจัยยิชฌนฤทธิ์ หมายถึงการรวบรวมกำลังใจเอาความดีชนะความชั่วได้