พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508) ทรงเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพย์สัมพันธุ์
ทรงดดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อ พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นทรงรับราชการในกองทัพอากาศในตําแหน่งรองผู้บังคับการกองบินยุทธการในปี พ.ศ. 2501 จากในโอนไปรับราชการกระทรวงการต่างประเทศในตําแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สิ้ น ชี พ ตั ก ษั ย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508
หลวงปู่ศุขให้ตะกรุดสามกษัตริย์
ในคราวหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีจางวางถึกตามเสด็จไปด้วย พร้อมกับทหารเรืออีกหลายนาย และวันนั้นหลวงปู่ศุขได้ทําพิธีลงตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมซึ่งขณะนั้น เป็นเวลา 12.00 น. พอดี
หลวงปู่ได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า
“วิชาอาคม ต่าง ๆ อาตมภาพได้ประสิทธิ์ประสาทให้พระองค์ไว้มากแล้ว แต่ยังขาดของสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง สิ่งนี้พระองค์จะขาดไม่ได้เพราะจะต้องติดตัวไว้กับพระองค์เสมอ เป็นขอ ง วิ เ ศ ษ ที่มีอภินิหารมาก”
นอกจากนี้หลวงปู่ได้ตระเตรียมสิ่งของ ไว้ให้คือ แผ่นโลหะเป็นเงินหนัก 1 บาท น า ค หนัง 1 บาท ท อง คํ นัก 1 บาท รวมเป็น 3 กษัตริย์ สามารถแก้อาถรรพณ์ต่าง ๆ ได้
เมื่อลงตะกรุดแล้ว เอาด้ายสายสิญจน์มาเสกแล้วควั่นร้อยผูกเอวหรือจะคล้องคอก็ได้
ของสิ่งนี้แหละที่หลวงปู่ศุขตั้งใจทำถวาย และกล่าวกับพระองค์อีกว่า “รอเดี๋ยว เข้าที่บูชาก่อน”
จากนั้นหลวงปู่ก็เข้าห้อง จุดธูปเทียนจนควันตลบออกมาถึงข้างนอก สักครู่หนึ่งจึงเรียกเสด็จในกรมเข้าไปในห้อง ครู่ใหญ่ทั้ง 2 ก็เดินออกมาจากห้อง
ในมือของหลวงปู่ศุขถือเหล็กกับแผ่นโลหะและด้ายควั่นสีขาว อีกมือหนึ่งถือเทียนเล่มโตนำเสด็จในกรมลงจากกุฏิ จางวางถึกและทหารคนสนิทรีบก้าวตามออกไปด้วยจนถึงศาลานํ้าหน้าวัด หลวงปู่จึงพูดว่า
“พระองค์รออยู่ที่นี่เดี๋ยว อาตมาจะ ร ะ เ บิ ด น้ำลงไปทำตะกรุดที่กลางแม่น้ำเดี๋ยวนี้”
กรมหลวงชุมพรฯ มิได้ตรัสตอบแต่ประการใด คงยืนนิ่งอยู่ที่ศาลาพร้อมด้วยเหล่าทหารคนสนิท ส่วนหลวงปู่ศุขก็หันตัวก้าวเดินลงบันไดท่าน้ำ มีเทียนเล่มใหญ่จุดไฟลุกโชติช่วง ตัวท่านค่อย ๆ จ ม ห า ย ไปในน้ำในที่สุด
ทุกคนเฝ้ามองด้วยใจระทึก เพราะเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก น้อยคนจะมีโอกาสเช่นนี้ หลายคนเฝ้าจับจ้องท้องน้ำอย่างใจจดใจจ่อ ท่ามกลางสายน้ำที่ไหลวกวนไปมา นานเกือบหนึ่งชั่วโมง หลวงปู่จึงเดินขึ้นมาที่บันไดศาลาท่าน้ำ เทียนยังสว่างเหลือเพียงคืบกว่า ๆ ผ้าสบง จีวร หาได้เปียกน้ำอะไรมากมาย
หลวงปู่ขึ้นมาแล้ว ก็มุ่งสู่กุฏิทันที แต่ก็ไม่ลืมหันมาสั่งเสด็จในกรมฯ ให้ไปกุฏิพร้อมกัน เมื่อเดินไปถึงและเข้าห้องบูชา หลวงปู่เอาเทียนที่เหลือปักไว้บนโต๊ะหมู่บูชา จึงได้นั่งลง
หลวงปู่ศุขส่งตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมฯ พลางว่า
“เก็บไว้ให้ดี ไปไหนมาไหนก็ให้เอาติดตัวไปด้วย”
พระองค์ทรงกราบแล้วรับเอาตะกรุดจากหลวงปู่ พลางตรัสถามว่า “ท่านอาจารย์ ตะกรุดนี้มีข้อห้ามอะไรหรือไม่” หลวงปู่บอก “ไม่มีห้ามอะไร ทองคำตกอยู่ที่ไหนก็เป็นทองคำอยู่นั่นแหละ”
จากนั้นหลวงปู่เอาพระ เครื่ององค์เล็กดำ ๆ มาแจกให้เหล่าทหารที่ตามเสด็จพร้อมกับประพรมนํ้ามนต์ให้ทั่วหน้า จนเวลา 15.30 น. พระองค์จึงได้มาลงเรือและเสด็จกลับ
ตะกรุดสามกษัตริย์นี้ กรมหลวงชุมพรฯ มิเคยเอาออกห่างพระวรกายเลย เท่าที่ทราบมาตะกรุดดอกนี้ตกอยู่ที่หม่อมเจ้ารังสิยากร เนื่องจากก่อนที่เสด็จในกรมจะ สิ้ น พ ร ะ ช น ม์
พระองค์ทรงหยิบตะกรุดสามกษัตริย์ดอกนี้ออกจากคาดเอว มอบให้กับหม่อมของท่าน
ทรงรับสั่งว่า “เอาเก็บไว้ให้เจ้าตุ่น”
“เจ้าตุ่น” นี้คือหม่อมเจ้ารังสิยากร โอรสพระองค์โปรดของเสด็จในกรม
ในช่วงสมัยมหาสงครามเอเชียบูรพา (เสด็จในกรม สิ้ น พ ร ะ ช น ม์ แล้ว)
หม่อมเจ้ารังสิยากรประทับอยู่ใกล้วัดคอกหมู คลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี วันนั้นเวลา 10.30 น. ฝูงบินฝ่ายสัมพันธมิตรส่งป้อมบินมา ทิ้ ง ร ะ เ บิ ด ฐานทัพญี่ปุ่น เครื่องบินสีน้ำเงินสะท้อนแสงอาทิตย์วับวาวเต็มท้องฟ้า
หม่อมเจ้ารังสิยากรแหงนหน้ามองฝูงบินที่บินผ่านไปพร้อมกับพูดกับนายทหารผู้หนึ่งที่ ยืนมองดูเครื่องบินด้วยกัน “นี่เครื่องบิน บี.27”
ฉับพลันนั้น ก็ได้ยินเสียงลูก ร ะ เ บิ ด ที่ลงถล่มทางปากคลองตลาดเทเวศร์สนั่นหวั่นไหว นายทหารผู้นั้นทําความเคารพก่อนจะถามหม่อมเจ้ารังสิกากรว่า “ฝ่าบาทไม่กลัวลูก ร ะ เ บิ ด หรือ” หม่อมเจ้ารังสิยากรได้ฟังก็ควักเอาตะกรุดขึ้นจากกระเป๋าเสื้อชูให้ดู แล้วพูดว่า “จะต้องกลัวอะไร นี่..เสด็จพ่อให้ของดีไว้”
ใช่แล้ว เป็นตะกรุดสามกษัตริย์ที่หลวงปู่ศุขทําถวายกรมหลวงชุมพรฯ นั่นเอง