เหตุเกิดในพรรษาที่ ๘ ครั้งนั้น หลวงปู่มั่นเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยพักที่กุฏิวัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ “วัดปทุมวนาราม”) เพื่อศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ระหว่างจำพรรษาที่นี่ ๓ พรรษา ท่านต้องเดินทางไปยังวัดบรมนิวาสเพื่อฟังเทศน์ศึกษาธรรมจากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นประจำ
หลวงปู่มั่นบรรลุธรรมกลางถนนในกรุงเทพฯ ธรรมะเป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลและสถานที่ เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ใครๆ ท่องจำจนขึ้นใจ แม้จะอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยความจอแจคับคั่งของผู้คน แต่ครั้งหนึ่งในอดีต บนถนนสายหนึ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางของแฟชั่นและความทันสมัยจากยุโรป หลวงปู่มั่นได้เข้าถึงธรรมมาแล้ว ณ ที่แห่งนี้
เหตุเกิดในพรรษาที่ ๘ ครั้งนั้น หลวงปู่มั่นเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยพักที่กุฏิวัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ “วัดปทุมวนาราม”) เพื่อศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ระหว่างจำพรรษาที่นี่ ๓ พรรษา ท่านต้องเดินทางไปยังวัดบรมนิวาสเพื่อฟังเทศน์ศึกษาธรรมจากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นประจำ
ราตรีหนึ่งในคืนเดือนเพ็ญ หลวงปู่มั่นพร้อมสหธรรมิกราว ๕ รูป ได้เดินทางไปฟังธรรมจากท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ตามปกติ ระหว่างที่พระคาราวานนี้เดินทางกลับวัดสระปทุม บนถนนพระราม ๑ ยามราตรี แสงเพ็ญกระจ่างส่องสว่าง มองเห็นภาพสองข้างทางโดยไม่ต้องใช้ไฟประทีป สหธรรมิกท่านอื่นๆ เดินก้มหน้าก้มตานำหน้า ในขณะที่หลวงปู่มั่นเดินตามหลัง ผ่านหน้าวังของกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ (ปัจจุบันคือ “โรงเรียนช่างกลปทุมวัน”) ซึ่งเป็นวังแบบยุโรปที่นับว่าสวยงามแปลกตามากในสมัยนั้น
หลวงปู่มั่นมองเห็นก็คิดเข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่า “สวยงาม” แต่ด้วยความต่อเนื่องของสติสัมปชัญญะในทันทีที่คิดว่า “สวยงาม” เท่านั้น จิตก็รวมลง เกิดความรู้ขึ้นมาว่า “ดินหนุนดิน” แล้วจิตก็ไม่หยุดนิ่ง กลับรวมลงไปอีก แล้วญาณก็เกิดขึ้น กำหนดรู้อริยสัจเหมือนในพรรษาที่ ๓ ณ วัดเลียบ (การรู้ธรรมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๒)
จิตรู้อริยมรรคโดยทวนของเก่าว่า “ดินหนุนดิน” คือ สังขารทั้งหลายที่มี วิ ญ ญ า ณ ค ร องและไม่มี วิ ญ ญ า ณ ครอง เพราะธาตุทั้ง ๔ รวมกัน โดยมีธาตุดินเป็นธาตุนำ เพราะเป็นของแข็ง เหมือนเอาดินก่อก่ายกันขึ้นมา ส่วนธาตุนอกนั้นเป็นธาตุอาศัย นอกจากนี้ยังได้ความรู้เพิ่มอีกว่า อริยธรรมนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนหัวหลักหัวตอ ขี้ ดิน ขี้ ห ญ้ า ฟ้าแดดดินลม พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงเดือน ดาวนักขัตฤกษ์ที่ไหน คงตั้งอยู่ที่คนนี่เอง ไม่เลือกกาล สถานที่ อิริยาบถ”
หลวงปู่มั่นชี้ชวนให้ดูว่า “ดูแต่เรานี่สิ… ยืนว่ากันกลางถนนในกรุงเทพฯ นี้เลย”