ลูกประคำของหลวงพ่อเงิน
เป็นของโปรดของท่าน เพราะท่านใช้ประจำในเวลานั่งวิปัสสนา พูดง่ายๆก็คือ นั่งไปนับไปนั่นเอง ระหว่างนั้น นายเป๋ อ่อนละมัย ชาวบ้านบางคลานผู้หนึ่ง ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจนได้รับความไว้วางใจ
นายเป๋ได้บวชอยู่กับหลวงพ่อถึง 8 พรรษา เมื่อสึกแล้วหลวงพ่อก็ได้มอบลูกประคําอันเป็นที่รักแก่ทิดเป๋ ลูกประคำนี้ทำด้วยงาช้าง และกะลามะพร้าว กับพระธาตุฉิมพลี
ลูกประคำนี้นับว่าใหญ่มาก เพราะใหญ่เท่าๆกับเม็ดมะขามป้อม วันที่หลวงพ่อมอบให้ทิดเป๋ หลวงพ่อสั่งกำชับจงเก็บรักษาให้ดี ของนี้ถึงคราวจนก็ไม่จน ถึงคราวยากก็ไม่ยาก ทิดเป๋ดีใจนักได้เก็บรักษาไว้ดีที่สุดจนกระทั่งทิดเป๋ตายลูกประคํานี้ก็ตกทอดมาถึงบุตรชื่อ เชวง โดยนายเชวง
มีเรื่องเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งมีเหล่าโจรปล้นกลุ่มหนึ่ง มีอาวุธครบมือเตรียมจะเข้าปล้นบ้านทิดเป๋ แต่ทว่าไม่อาจเข้าปล้นได้ เพราะพวกปล้นเหล่านั้นรู้สึกหนาวเย็นเป็นที่สุด ความอัศจรรย์ของอากาศ ที่เกิดหนาวจัดขึ้นมาอย่างผิดปกติ โดยกระทันหันนี้ เป็นความผิดปกติที่บันดาลให้เหล่าร้ายไม่กล้าเข้าปล้นคิดตระหนกไปว่าบ้านนี้คงจะมีอะไรดีเป็นแน่ เลยพร้อมใจกันยกขบวนกลับ
อีกคราวหนึ่ง คือ วันหนึ่งในฤดูน้ำท่วม ทิดเป๋เล่าว่า มีแขกมาเยี่ยมบ้าน โดยจะขอชมลูกประคําให้เป็นขวัญตาขวัญใจสักครั้งหนึ่ง แต่ขณะที่ทิดเป๋ยกลูกประคําออกมานั้นเผอิญลูกประคําตกจากพาน เชือกขาด ลูกประคำหลุดกระเด็นไปใต้ถุนบ้าน ซึ่งน้ำกำลังท่วมหายไปบางส่วน นายเชวง จึงรีบจุดธูปเทียนขอขมาลาโทษ ไม่ช้าหลังจากน้ำลด
ปรากฏว่าบรรดาเม็ดลูกประคําได้ไปกองอยู่รวมกันที่กอมะลิทางบันไดจะขึ้นบ้าน นายเชวงจึงเก็บมาแล้วร้อยเข้าเป็นพวงอย่างเดิม นายเชวงรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่จำนวนเม็ดลูกประคําอยู่ครบ 108 เม็ด ไม่ขาดไม่หายเลยอย่างน่าอัศจรรย์