ปาฏิหาริย์บารมีหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ พระเถราจารย์ผู้มีตบะบารมีอันแก่กล้า
“ตกจากหลังคาโบสถ์ รอดตายเพราะบารมีหลวงพ่อพรหม หลวงพ่อห้ามลมฝน”
ผมเคยรู้จักกับเจ้าของโรงงานไดนาโม ย่านฝั่งธนท่านหนึ่ง เห็นเฮียคล้องเหรียญ
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นสรงน้ำอยู่ เฮียคนนี้เพื่อนแนะนำให้รู้จัก จึงเอ๋ยปากขอเช่า
พระ แต่เฮียเขาบอกปลอมนะ
ผมมั่นใจสายตาบอกว่าปลอมก็เช่า ของปลอมไม่มีค่า แต่
ผมให้ 500 บาท ซื้อพระปลอม แกเงียบไปสักพักหนึ่ง บอกว่าไม่ปล่อย ดูเป็นหรือเรา
หลังจากนั้นมีการพูดคุยกันถูกคอ เฮียเล่าให้ผมฟังว่า สมัยหนุ่ม ๆ ญาตได้ชวนไป
ทำบุญยกช่อฟ้าโบสถ์ ที่วัดช่องแค
ตัวเฮียไม่รู้จักหรอกว่าหลวงพ่อมีชื่อเสียง แต่รู้ว่าไปถึง
วัดคนมาร่วมบุญจำนวนมากอยู่ เวลายกช่อฟ้าจะต้องมีคนอย่างน้อยประมาณ 3-4 คน อยู่
บนหลังคาโบสถ์ช่วงที่จะนำช่อฟ้าไปติดตั้ง
ผลปรากฎว่าวันนั้นมีชายผู้หนึ่งพลัดตกลงมา
คนเอะอะโวยวายกันใหญ่ เฮียก็ไปดูกับเขาด้วยเห็นปฐมพยาบาลสักครู่ ชายผู้นั้นลุกเดิน
เสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น และได้ไปโรงพยาบาล
ภายหลังทราบว่าแค่ฟกช้ำดำเขียว
เฮียแกแปลกใจตั้งแต่ตกลงมาแล้วว่าทำไมถึงไม่เป็นไร และลุกขึ้นเดินได้ แกมารู้ภายหลังว่า
ไปโรงพยาบาลตรวจเช็ค ร่างกายเพียงฟกช้ำ แพทย์ลงความเห็นว่าไม่เป็นไร ปลอดภัย
หลังจากนั้นพอใกล้ฤกษ์ยกช่อฟ้า ฟ้าที่สว่าง แดดเปรี้ยง กลับมืดคลื้มประดุจเวลาพลบค่ำ
กรรมการวัด และชาวบ้านเห็นเข้ารู้ทันทีว่า พายุเข้าฝนตกหนักแน่นอน กรรมการวัดได้ไปกราบ
หลวงพ่อพรหม
ซึ่งท่านนั่งอยู่ในเต้นท์ว่า ต้องเลื่อนการยกช่อฟ้าออกไปอากาศไม่อำนวย
หลวงพ่อพรหม ไม่พูดอะไร ให้ศิษย์ไปหยิบธูปมากำใหญ่กำหนึ่ง และจุดธูปให้ท่าน
ท่านถือธูปไป
กลางแจ้ง ยกมือภาวนา ปักธูปกำใหญ่ลงไปในพื้นดิน และถอดจีวรออก สะบัดไปสี่ทิศ
คนในงานมองเป็นตาเดียว และงงกันเป็นแถว ๆ ว่าหลวงพ่อทำอะไร
เฮียแก่เล่าว่าเหลือเชื่อมาก
มาก ฟ้าที่มืดคลื้ม กับสว่างที่ละเล็กละน้อย และสว่างมากขึ้นเป็นลำดับ แดดเปรี้ยงดังเดิม ทั้งเฮีย
และผู้คนในงาน งง เป็นไก่ตาแตก และเรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันมาก เฮียถึงบูชาพระเครื่องท่าน
มาประมาณ 20 เหรียญ พร้อมพระผงจำนวนหนึ่งครับ
และหลังจากเหตุการณ์นั้น ฝนไม่ตก
ที่อำเภอตาคลีเป็นเวลา 3 ปี ชาวบ้านรุ่นเก่า ๆ ทราบดี เฮียแกเล่าให้ฟัง
วาระสุดท้าย และสังขารอันเป็นที่อัศจรรย์
หลวงพ่อพรหม ถาวโร ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 ที่โรงพยาบาล
บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สิริอายุ 91 ปี 71 พรรษา คุณงามความดีของท่านที่ทำประโยชน์ให้กับ
ศาสนามีมากมาย และศพของท่านปัจจุบันไม่เน่าเปื่อย และเส้นผมที่ศรีษา หนวด เล็บมือ เล็บเท้า
เส้นขนคิ้ว งอกเองเรื่อย ๆ
ทุกปี ทางวัดต้องทำพิธีปลงผม ปลงเล็บให้ วัตถุมงคลของท่าน
สร้างออกมามากมาย และที่สำคัญที่วงการพระเครื่องยอมรับ คือ พระเครื่องท่านไม่เสื่อม
แสดงถึงความมั่นใจในพระเวทย์ และสมาธิจิตขั้นอภิญญาจารย์ของท่าน
เพราะเคยมีศิษย์ถามท่านว่า
คล้องพระรอดราวตากผ้าเสื่อมไหม ท่านถามกลับว่ามึงเกิดจากอะไร ของกูไม่มีคำว่าเสื่อม ถึง
แตกหักก็ไม่เสื่อม ขออย่างเดียว อย่าด่าพ่อแม่ และผิดภรรยาหรือสามีชาวบ้านแล้วกัน
วาทะอันแหลมคมของพระคุณเจ้า
เคยมีคนเรียนถามว่าพระเครื่องของท่าน พุทธคุณด้านไหนบ้าง ท่านตอบว่า
ฉันใส่ไปหมดทุกอย่าง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน โชคลาภ มีอย่างเดียว
ที่กันไม่ได้ คือกันคนอิจฉาริษยา เพราะฉันไม่มีคาถาห้ามปากและใจคน
ชีวประวัติหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน
ในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า “ถาวโร”
โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงพ่อพรหม จะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก
หลวงพ่อพรหม ได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อพรหม เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้
ขณะที่หลวงพ่อพรหมจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง
ต่อมาชาวบ้านในแถวนั้นซึ่งมีความนับถือเลื่อมใสหลวงพ่อได้นิมนต์ให้หลวงพ่อพรหมลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือวัดช่องแคในปัจจุบัน หลวงพ่อพรหม จึงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มขึ้น
หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างไม่มีเสนาสนะใดๆ เมื่อปี 2460 มาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อเอง
ต่อมาเมื่อทางวัดจะสร้างโบสถ์ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัดจึงขอ อนุญาติหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลขึ้น
หลวงพ่อพรหม ชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงมีรูประฆังและกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม
หลวงพ่อพรหม ไม่เคยย้ายไปอยู่วัดใดเลยตลอดระยะเวลา 58 ปี โดยที่หลวงพ่อได้ลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อปี 2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงพ่อพรหม มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา